การรักษาและเทคโนโลยี (โรคลมชัก)

การรักษา

  1. การตรวจเพื่อวินิจฉัย ได้แก่การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง มีทั้งการตรวจแบบปกติทั่วไปใช้เวลาบันทึกการตรวจประมาณ 20- 30 นาที และการตรวจแบบบันทึกเป็นเวลานาน 2 ชั่วโมงจนถึง 24 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มโอกาสตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง
  2. การตรวจ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง เพื่อหาสาเหตุชักจากความผิดปกติในสมอง
  3. การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อหาจุดความผิดปกติของสมองที่ทำให้เกิดอาการชัก เช่น PET scan และ SPECT
  4. ปัจจุบันมีการตรวจเลือดหาสาเหตุทางพันธุกรรมในโรคลมชักบางชนิดที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
  5. Epilepsy01

โรคลมชักบางชนิดรักษาหายขาดได้ เช่นชนิดที่พบสาเหตุที่ชัดเจนและแก้ไขได้ แต่ส่วนใหญ่มักควบคุมอาการได้ด้วยยารักษาโรคลมชักและผู้ป่วยจำนวนหนึ่งดื้อต่อการใช้ยารักษา จำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่นการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

แบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ใช้ยากันชักอย่างเดียว และ ใช้ยากันชักร่วมกับวิธีอื่นๆ เช่น การผ่าตัด การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า การใช้อาหารสูตรพิเศษ ketogenic diet คืออาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ และโปรตีนที่เพียงพอเหมาะสม

การรับประทานยานานเท่าใดขึ้นกับชนิดของโรคลมชัก และบางชนิดไม่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต

ผลข้างเคียงในระยะสั้น และผลข้างเคียงในระยาว ผลข้างเคียงในระยะสั้นมักป็นผลที่เกิดขึ้นได้ทันทีหลังรับประทานยา เช่น ภาวะมึนงง เวียนศีรษะ ง่วงซึมเนื่องจากยาออกฤทธิ์ที่เซลสมอง ผลข้างเคียงระยะยาว ได้แก่ ผลกระทบต่อการทำงานของตับและไตเสื่อมลง ผลกระทบด้านความคิด ความจำ สมาธิ ผลด้านน้ำหนักตัวพบทั้งน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าปกติ ซึ่งยากันชักแต่ละชนิดจะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ยากันชักปัจจุบันที่ใช้มีทั้งยาที่ผลิตรุ่นแรกๆและรุ่นใหม่ๆ ใช้รักษาโรคลมชักได้ดีไม่ด้อยกว่ากันขึ้นกับชนิดของโรคลมชักและขนาดการใช้ยาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นการใช้ยาจึงจำเป็นที่จะต้องใช้โดยคำแนะนำแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นสำคัญ

โดยทั่วไปแล้วการรักษาโรคลมชักจะใช้ยารักษาไปนานๆในที่นี้หมายถึง มากกว่า 2 ปีขึ้นไป ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคลมชักชนิดที่รักษายาก เช่น มีความผิดปกติของเนื้อสมอง ผิวสมอง ทำให้การหยุดรับประทานยามักไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตัวโรคลมชักเองอาจจะคงที่หรือมีโอกาสที่จะรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคลมชัก

ควรใช้หลักการทั้งดูแลตนเองทั่วไป เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายและดูแลตนเองเฉพาะโรคลมชัก ซึ่งมีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและต้องหลีกเลี่ยง คือไม่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่อดนอน ไม่เครียด การออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือทำงานหนักจนเหนื่อยล้า หากไม่สบายมีไช้สูง ควรรีบรักษาให้หายให้เร็วที่สุด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีโอกาสทำให้อาการชักกำเริบได้ กรณีที่โรคลมชักยังไม่สงบยังอยู่ในช่วงของการปรับยากันชัก ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองเมื่อมีอาการชักกำเริบเช่น ขับรถ ว่ายน้ำ การปีนขึ้นที่สูง การใช้ของมีคม เป็นต้น

  1. ผู้ที่เห็นอาการชัก ควรพยายามสังเกตและจดจำลักษณะอาการชัก เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยการรักษา
  2. ควรหลีกเลี่ยงสถานที่และการทำงานที่เสี่ยงอันตราย ในขณะที่ยังคุมอาการชักไม่ได้ เช่น ใกล้แหล่งน้ำ ผิวจราจร เตาไฟ ของร้อน การทำงานกับเครื่องจักรกล
  3. ห้ามขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จนกว่าจะไม่มีอาการชักอย่างน้อย 1 ปี
  4. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชัก ได้แก่ การอดนอน ความเครียด ออกกำลังกายที่หักโหมหรือทำงานอย่างหนักจนเหนื่อยล้า, การดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งของหมักดอง เช่นผักหรือผลไม้ดอง
  5. ปฏิบัติตัวและรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
  • ไม่ควรหยุดยา ลดยา หรือ รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ
  • ถ้าไม่เข้าใจวิธีรับประทานยา ควรสอบถามทันที
  • ถ้าลืมรับประทานยาไปเพียงมื้อเดียว หรือวันเดียว ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้มื้อยาต่อไปให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปตามปกติ
  • ไม่ควรรับประทานยาอื่นๆ ร่วมกับยากันชักโดยมิได้ปรึกษาแพทย์
  • ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนสถานที่รักษา ควรนำยาที่รับประทานในปัจจุบันไปให้แพทย์พิจารณาด้วย
  1. แม้ว่าคุมอาการชักได้ดีแล้ว ห้ามหยุดยาเองก่อนเวลาที่แพทย์แนะนำ เพราะโรคอาจยังไม่หายหรือกำเริบซ้ำใหม่ได้
  2. เมื่อตั้งครรภ์ หรือเจ็บป่วยอย่างอื่น ควรแจ้งแก่แพทย์ผู้รักษาถึงโรคที่เป็น และยาที่รับประทานทั้งหมดในปัจจุบัน
  3. ถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ ที่สงสัยว่าอาจจะแพ้ยา เช่น เป็นผื่น มีไข้ ควรโทรศัพท์ปรึกษาทางสายด่วนทันที และกลับมาพบแพทย์ผู้รักษา พร้อมนำยาที่รับประทานมาด้วย

โรคลมชักเป็นโรคที่พบได้บ่อยพบได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่แรกคลอดจนถึงวัยชราโดยเฉพาะในประเทศที่ยากจนพบได้มากถึง 1% ของประชาการ ส่วนใหญ่โรคลมชักเป็นโรคที่รักษาหายได้ คือควบคุมอาการไม่ให้กำเริบได้โดยการรักษาด้วยการรับประทานยากันชัก หรือหากพบสาเหตุที่แก้ไขได้ก็อาจหายขาดได้

โรคลมชักมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วย ครอบครัวและบุคคลรอบข้าง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่เป็นตราบาป รู้สึกสูญเสียความมั่นใจในตนเอง และคุณค่าในตนเองเนื่องจากลักษณะอากการชักที่ปรากฏต่อหน้าบุคคลทั่วไป อาจส่งผลกระทบต่อการเรียน หน้าที่การงานโอกาสและสิทธิทางสังคมได้

เพราะฉะนั้นทั้งบุคคลภายในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมงานควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคลมชัก และช่วยกันเฝ้าระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการชัก จะได้ช่วยกันดูแลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษากับแพทย์ต่อไป

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ชาญ ศุภภิญโญพงศ์
ประสาทวิทยา
นพ. ณษฐพจน์ นำผล
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐกานต์ บูรณะกุล
ประสาทวิทยา
นพ. ณัฐพล อุฬารศิลป์
ประสาทวิทยา
นพ. นิยม พิสิฐพิพัฒนา
ประสาทวิทยา
นพ. ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ประสาทวิทยา
นพ. พิมาน สีทอง
ประสาทวิทยา
นพ. ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
ประสาทศัลยศาสตร์

การรักษาและเทคโนโลยี (โรคพาร์กินสัน)

โรคพาร์กินสัน

การรักษา

  • ควรเริ่มรับการรักษาโรคพาร์กินสันเมื่อไหร่ เริ่มรับประทานยาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากมีการศึกษาว่าเริ่มรับประทานยาเร็วทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ยาที่ใช้ในการรักษา มีอะไรบ้าง ยาเลโวโดปา ,ยากลุ่มออกฤทธิ์เสริมโดปามีน มยาที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ,ยากลุ่มต้านโคลิเวอร์จิก ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่พิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพในการชะลอการดำเนินของโรคอย่างชัดเจน แต่สามารถทำให้อากรของผู้ป่วยดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีกว่าคนที่ไม่รักษาอย่างชัดเจน
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด
  • การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นการซักประวัติและตรวจร่างกายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพพัทยา
ปรึกษาด่วนที่ LINE: BPH Brain

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ชาญ ศุภภิญโญพงศ์
ประสาทวิทยา
นพ. ณษฐพจน์ นำผล
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐกานต์ บูรณะกุล
ประสาทวิทยา
นพ. ณัฐพล อุฬารศิลป์
ประสาทวิทยา
นพ. นิยม พิสิฐพิพัฒนา
ประสาทวิทยา
นพ. ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ประสาทวิทยา
นพ. พิมาน สีทอง
ประสาทวิทยา
นพ. ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
ประสาทศัลยศาสตร์

การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์อายุรกรรม)

การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์อายุรกรรม)

การรักษา

การส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือการส่องกล้องตรวจหลอดลม เป็นการตรวจดูกล่องเสียง หลอดลมคอ และหลอดลม โดยส่องกล้อง Flexible fiber optic bronchoscope ผ่านทางจมูก หรือปาก ผ่านไปยังกล่องเสียง และหลอดลม เพื่อตรวจดูลักษณะผิวภายในหลอดลม และยังสามารถตัดเนื้อเยื่อออกมาเพื่อตรวจดูลักษณะของเซลล์

Bone Marrow : การเจาะไขกระดูก( Bone marrow aspiration and biopsy ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาความผิดปกติของไขกระดูก ซึ่งนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยา

Knee arthrocentesis : การเจาะน้ำจากเข่าเพื่อวินิจฉัยโรคข้ออักเสบติดเชื้อ (septic arthritis)

เทคโนโลยี

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. ชานน อยู่เย็น
อายุรศาสตร์
นพ. ธนากร อรุณงามวงศ์
อายุรศาสตร์
นพ. ธัญฤทธิ์ วัฒนะ
อายุรศาสตร์
นพ. นราวิชญ์ สมพรไพลิน
อายุรศาสตร์
นพ. ประสิทธิ์ วงษ์จารุพงษ์
อายุรศาสตร์
นพ. ปานุวัฒน์ สุธีรยงประเสริฐ
อายุรศาสตร์
นพ. พงศ์อินทร์ สาริกะภูติ
อายุรศาสตร์โรคเลือด
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
นพ. พัสกร สรัคคานนท์
อายุรศาสตร์
นพ. ภาสกร วันชัยจิระบุญ
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
อายุรศาสตร์
นพ. ภูธเรศ จตุรนต์รัศมี
อายุรศาสตร์

แพ็กเกจและโปรโมชั่น