การรักษาและเทคโนโลยี
(ศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัวเสียงในหู)

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา   >   การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัวเสียงในหู)

การรักษา

แนะนำ และติดตั้งเครื่องช่วยฟังเพื่อช่วยการได้ยิน ให้บริการบริการตรวจสภาพทำความสะอาด และบำรุงรักษาเครื่องช่วยฟัง ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น บริการทำ Noise Reduction Plug Noiseและ Swimming Plug วัสดุจากเยอรมันสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาหูอักเสบ ต้องใช้วัสดุป้องกันน้ำเข้าหู หรือผู้ป่วยที่ต้องการอุปกรณ์ป้องกันเสียง เมื่อต้องอยู่ในสภาวะที่มีเสียงดัง

ในกรณีหูตึงมาก

เทคโนโลยี

เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถใช้ในการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการเวียนศีรษะ เสียการทรงตัว และช่วยในการวินิจฉัยโรคของระบบทรงตัวทั้งระบบ และนอกจากนี้เครื่องมือยังสามารถที่จะช่วย ฟื้นฟูผุ้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัวอีกด้วย

เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยโดยการวัดการทรงตัวของหูชั้นใน และสมอง โดยดูการตอบสนองของลูกตา

เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถใช้ในการวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะศุญเสียการได้ยิน เป็นการตรวจการได้ยินโดยวัดการได้ยินระดับก้านสมองถ้าผิดปรกติ ตรวจหาระดับการได้ยินที่ถูกต้อง ณ ความถี่ต่างๆ เพื่อจัดเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสม (Auditory Steady State Response)

เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถใช้ในการวินิจฉัยหาสาเหตุเพื่อทราบความสามารถในการรับเสียง ณ ความถี่ต่างๆและยังสามารถตรวจความสามารถการเข้าใจคำพูด (Speech Discrimination Score) อีกทั้งยังสามารถตรวจวัดการได้ยินโดยวิธีพิเศษ เพื่อแยกตำแหน่งรอยโรค (Bekesy Audiomety) และยังสามารถตรวจแยกการเสียงการได้ยินของปลายประสาทรับเสียงในหูชั้นใน โดยวัด SISI Score (Recruitment Test) และสามารถตรวจแยกการเสียงการได้ยินส่วนประสาทรับเสียง และความล้าของสมองโดย (Tone Decay Test)

เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถใช้ในการวินิจฉัยหาสาเหตุเพื่อดูการทำงานของหูชั้นกลาง หูชั้นกลาง อยู่หลังแก้วหู เป็นโพลงอากาศ และเป็นที่ตั้งของกระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลนม้า ทำหน้าที่เป็นสะพานรับทอดส่งต่อแรงสั่นสะเทือนของเสียงที่กระทบแก้วหูส่งต่อไปยังหูชั้นใน อวัยวะในหูชั้นกลางจะทำหน้าที่ได้ดี แรงดันอากาศในหูชั้นกลางต้องเท่ากับแรงดันอากาศภายนอก หูชั้นกลางจึงมีท่อปรับแรงดันอากาศให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก ต่อกับด้านหลังของโพลงจมูก เรียกท่อ Auditory Tube ซึ่งในภาวะปรกติจะปิดอยู่และจะเปิดเพื่อปรับแรงดันเมื่อเรากลืนหรือหาวนอ อากาศในหูชั้นกลางจะมีการดูดซับไปช้า ๆ ทำให้เราต้องกลืนเพื่อปรับแรงดันนาน ๆ ครั้ง

  • เพื่อให้กระดูกทั้งสามสามารถส่งการสั่นสะเทือนได้ดีที่สุด การสั่นสะเทือนของแก้วหูและกระดูกเล็ก ๆ ทั้ง 3 จะไปทำให้เกิดการกระเพื่อมของน้ำในหูชั้นใน และเกิดการกระตุ้นปลายประสาทการได้ยินที่ลอยอยู่ในน้ำในหูชั้นในนั้นเอง และแรงกระเพื่อมต้องมีความพอดีด้วย

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. สมุทร จงวิศาล
โสต ศอ นาสิกวิทยา
พญ. ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล
โสต ศอ นาสิกวิทยา
ศ. สุจิตรา ประสานสุข
โสต ศอ นาสิกวิทยา