โรคหลอดเลือดหัวใจ

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  >  โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการเกาะของคราบไขมัน พังผืด หินปูน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย หากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ โดยอาการของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้ร่างกายไม่สามารถส่งกระแสเลือดและออกซิเจนไปยังหัวใจได้ โดยเฉพาะในขณะที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างออกกำลังกาย เป็นต้น

  • คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจแข็ง อาจจะตีบ ตัน หรือโป่ง นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สูบบุหรี่ ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจมากถึง 24% ซึ่งสารนิโคตินและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในควันบุหรี่นั้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มหรือก้อน
  • เบาหวานเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากถึง 2 เท่า

การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การตรวจฉีดสารทึบรังสีสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) เป็นวิธีการที่พบได้บ่อยเพื่อใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ โดยแพทย์จะทำการใส่สายสวน (Catheter) ซึ่งมีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนที่ได้เข้าไปในหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำบริเวณขาหนีบ ข้อมือ แขน หรือลำคอ สายสวนจะค่อย ๆ ถูกใส่และเคลื่อนไปตามหลอดเลือดเพื่อไปยังหัวใจ

โดยตำแหน่งของหลอดเลือดแดงที่ทำกันแพร่หลายคือ ตำแหน่งของหลอดเลือดแดงที่ขา (Femoral Artery) เนื่องจากหลอดเลือดแดงที่ขาเป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่สามารถใส่สายสวนเข้าไปได้ง่าย ผู้ป่วยจะมีแผลขนาดเท่าเข็มบริเวณขาหนีบ ทำให้หลังทำหัตถการผู้ป่วยจะต้องนอนราบ ห้ามงอขาข้างที่มีแผลเป็นเวลาค่อนข้างนานอยู่ที่ประมาณ 2 – 6 ชั่วโมง แพทย์โรคหัวใจจึงได้พยายามหาตำแหน่งของหลอดเลือดแดงตำแหน่งอื่น ซึ่งก็คือ หลอดเลือดแดงที่ข้อมือ (Radial Artery) เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและสามารถพัฒนาการรักษา

การหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล ถือเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วย กระบวนการสำคัญ คือ การให้คะแนนหลอดเลือดหัวใจ (Syntax) ได้แก่ 

  • อันดับที่ 1 ทีมแพทย์ให้การตรวจวินิจฉัยวิเคราะห์ที่ถูกต้องชัดเจน (Precision Medicine) โดยไม่ใช้สายตาคาดคะเน ที่เรียกว่า QCA (Quantitative Coronary Analysis) ดูเปอร์เซ็นต์การตีบของเส้นเลือด ค่าสถิติต่าง ๆ มาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและเลือกรูปแบบการรักษา
  • อันดับที่ 2 การใช้เครื่องมือช่วยวัดอัตราการไหลเวียนสำรองของเส้นเลือด (FFR: Fractional Flow Reserve) โดยการใส่สายไปที่เส้นเลือดหัวใจเพื่อบอกว่าส่วนที่ตีบส่วนนี้ควรจะต้องทำการรักษาหรือไม่ ทำให้รู้ค่าสัดส่วนความดันเลือดที่ตีบส่วนต้น (จุด a) กับส่วนปลาย (จุด b) เพื่อบอกอัตราการไหลเวียนสำรองของหลอดเลือดหัวใจว่าเพียงพอหรือไม่  ตัวอย่างคือ ถ้าค่า EFR < 0.8  บ่งชี้ให้เราขยายตำแหน่งที่ตีบ เราจะทำให้เลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มอีก 20 % ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้รักษาได้ถูกตำแหน่ง และในอนาคตอันใกล้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพจะนำวิธีการตรวจวินิจฉัยอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 มาผสมผสานกัน เรียกว่า (QFR: Quantitative Flow Ratio)
  • อันดับที่ 3 แพทย์จะต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ป่วยมีอาการหลอดเลือดตีบมากน้อยแค่ไหน ถ้าผู้ป่วยมีอาการตีบ 1 – 2 เส้น คะแนน Syntax ต่ำ ๆ การทำบอลลูนก็จะเข้ามามีบทบาท แต่หากผู้ป่วยมีอาการหลอดเลือดตีบมากกว่า 2 – 3 เส้นขึ้นไป หรือคะแนน Syntax สูง ๆ หรือจำเป็นต้องทำบอลลูนใส่สเต็นท์ (Stent) หลาย ๆ ตัวซึ่งอาจไม่เหมาะสม แพทย์อาจพิจารณาส่งผู้ป่วยให้ Heart Team เข้ามาดูแล ซึ่งเป็นทีมแพทย์แบบสหสาขา (Multidisciplinary) เพื่อหาวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมให้กับผู้ป่วย อาทิ การผ่าตัดทำบายพาสเส้นเลือดหัวใจ ฯลฯ 

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แผลเล็ก

คนไข้ที่ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยใดๆมาก่อน แต่ต้องมาพบกับภาวะลิ้นหัวใจรั่วฉับพลัน ทั้ง 2 ห้อง (ซ้ายและขวา) คนไข้ทุกข์ทรมานกับอาการจนไม่สามารถที่จะรอคิวห้องผ่าตัดของรพ.ที่ไปรักษาได้ จึงจำเป็นต้องเดินทางมา

Testimonial : การจี้ไฟฟ้าหัวใจ..เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คนไข้ประสบกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาเป็นเวลาหลายปี และได้รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจมาแล้วถึง 2 ครั้งที่รพ.อื่น แต่อาการก็กลับเป็นขึ้นมาอีก จนต้องมาจี้ไฟฟ้าหัวใจเป็นครั้งที่ 3

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติ ฏิระวณิชย์กุล
เวชศาสตร์ครอบครัว
อายุรศาสตร์
นพ. กิตติ นาคจันทึก
อายุรศาสตร์
นพ. จิรพันธ์ ชวาลตันพิพัทธ์
อายุรศาสตร์
นพ. ชยุต ทัตตากร
อายุรศาสตร์
นพ. ชาติทนง ยอดวุฒิ
อายุรศาสตร์
นพ. ณัฐฑ์ โรจนกิจ
ศัลยศาสตร์ทรวงอก
นพ. ดลลักษณ์ พูลเกษม
อายุรศาสตร์
นพ. ทินกฤต ศศิประภา
อายุรศาสตร์
นพ. ธนัตถ์ อัศวิษณุ
อายุรศาสตร์
นพ. ธิปกร ผังเมืองดี
อายุรศาสตร์

แพ็กเกจและโปรโมชั่น