โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง

โรคนี้เกิดจากการสะสมของคราบไขมัน พังผืด หรือหินปูน (Plaque) บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรือในกรณีรุนแรงอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (หัวใจวาย)

 
  • คอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง: ทำให้หลอดเลือดแข็งและเสี่ยงต่อการอุดตัน
  • การสูบบุหรี่: เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดยสารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้หัวใจทำงานหนักและเลือดจับตัวเป็นลิ่มง่ายขึ้น
  • เบาหวาน: เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่า 2 เท่า
  • เจ็บหน้าอก (Angina): อาการแน่นหน้าอกโดยเฉพาะเวลาออกแรงหรือเครียด
  • หายใจลำบาก: เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มที่
  • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack): เมื่อหลอดเลือดอุดตันอย่างรุนแรง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้

หนึ่งในวิธีวินิจฉัยที่สำคัญคือ การฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization) โดยการใส่สายสวนผ่านทางหลอดเลือดที่ขาหนีบหรือข้อมือเข้าไปยังหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันหรือไม่

  • ตำแหน่งที่นิยมคือ หลอดเลือดแดงที่ขา (Femoral Artery) แต่มีข้อจำกัดเรื่องการพักฟื้น
  • ปัจจุบันนิยมใช้ หลอดเลือดแดงที่ข้อมือ (Radial Artery) มากขึ้นเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน

การรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและลักษณะของโรค โดยมีแนวทางดังนี้

  1. การวิเคราะห์หลอดเลือดแบบละเอียด (QCA: Quantitative Coronary Analysis)
    ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายรังสีวัดความตีบของหลอดเลือดแบบเชิงปริมาณ แทนการประเมินด้วยสายตา
  2. การวัดอัตราการไหลเวียนเลือด (FFR: Fractional Flow Reserve)
    ใช้สายวัดความดันเพื่อประเมินว่าจุดที่ตีบควรได้รับการรักษาหรือไม่ หากค่า FFR < 0.80 แสดงว่าการไหลเวียนเลือดไม่เพียงพอและควรขยายหลอดเลือด
    • แนวโน้มในอนาคตจะใช้เทคโนโลยี QFR (Quantitative Flow Ratio) ซึ่งผสมผสาน QCA และ FFR เพื่อประเมินแบบไม่ต้องใส่สายวัด
  3. การเลือกวิธีรักษาโดยอิงจากคะแนน Syntax
    • คะแนนต่ำ (ตีบ 1–2 เส้นเลือด): ใช้การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหรือใส่ขดลวด (Stent)
    • คะแนนสูง (ตีบหลายเส้นเลือดหรือซับซ้อน): พิจารณาผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) โดยทีมแพทย์สหสาขา (Heart Team)
นพ. ปริญญา ชมแสง บทความโดย: นพ. ปริญญา ชมแสง
 
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
 
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Critical Care : มหันตภัยเงียบ หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาดเฉียบพลัน (Aortic Dissection)

เรื่องราวของคนไข้ที่มีอาการเหมือนถูกสายฟ้าฟาดลงมากลางทรวงอก เจ็บปวดจนทนไม่ไหว ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะนิ่งนอนใจได้ เพราะมันคือมหันตภัยเงียบ..ที่รอเวลาระเบิดของหลอดเลือดแดงใหญ่หัวใจ ให้รีบมารพ.ในทันที

Testimonial : การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แผลเล็ก

คนไข้ที่ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยใดๆมาก่อน แต่ต้องมาพบกับภาวะลิ้นหัวใจรั่วฉับพลัน ทั้ง 2 ห้อง (ซ้ายและขวา) คนไข้ทุกข์ทรมานกับอาการจนไม่สามารถที่จะรอคิวห้องผ่าตัดของรพ.ที่ไปรักษาได้ จึงจำเป็นต้องเดินทางมา

Testimonial : การจี้ไฟฟ้าหัวใจ..เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คนไข้ประสบกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาเป็นเวลาหลายปี และได้รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจมาแล้วถึง 2 ครั้งที่รพ.อื่น แต่อาการก็กลับเป็นขึ้นมาอีก จนต้องมาจี้ไฟฟ้าหัวใจเป็นครั้งที่ 3

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กฤษฎา มีมุข
อายุรศาสตร์
นพ. กษิศักย์ เหลืองปฐมอร่าม
ศัลยศาสตร์ทรวงอก
นพ. กิตติ ฏิระวณิชย์กุล
เวชศาสตร์ครอบครัว
อายุรศาสตร์
นพ. กิตติ นาคจันทึก
อายุรศาสตร์
นพ. จิรพันธ์ ชวาลตันพิพัทธ์
อายุรศาสตร์
นพ. ชยุต ทัตตากร
อายุรศาสตร์
นพ. ทินกฤต ศศิประภา
อายุรศาสตร์
นพ. ธนัตถ์ อัศวิษณุ
อายุรศาสตร์
นพ. ธีร์ทัศน์ ชมบัณฑิตย์
อายุรศาสตร์
นพ. ปริญญา ชมแสง
อายุรศาสตร์