Skip to content

หลอดเลือดแข็งตัว

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด Arteriosclerosis กับการตรวจเช็คสมรรถภาพของหลอดเลือดแดง โดยเครื่อง Vascular Screening

ในปัจจุบันนี้ ปัญหาเรื่องสภาวะแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (Arteriosclerosis) และหลอดเลือดตีบแคบหรือการอุดตันของหลอดเลือด (Stenosis or Occlusion) เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ “โรคหลอดเลือดหัวใจ” (Coronary Heart Disease) และโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral Arterial Disease)

ดังนั้นการดุแลรักษาหลอดเลือดแดงให้อยู่ในสภาพแข็งแรงสมบุรณ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นไว้แต่เนิ่นๆ

 ปัจจัยเสี่ยงของ Arteriosclerosis คือ

1. ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด (Dyslipidemia) ที่พบบ่อยมี 4 ชนิด คือ

1.1 มีระดับไขมันคอเลสเทอรอลในเลือดสูง (Total Cholesterol) ค่าปกติไม่ควรสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

1.2 มีระดับแอลดีแอลคอเลสเทอรอลสูง (LDL-Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันที่ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด ค่าปกติควรน้อยกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

1.3 มีระดับเอชดีแอลคอเลสเทอรอลต่ำ (HDL-Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันชนิดดีที่ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือดในระดับต่ำ ค่าปกติของผู้ชายอยู่ที่ระดับ 40-50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงควรอยู่ที่ระดับ 50-60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

1.4 มีระดับไขมันไตรกรีเซอร์ไรด์ในหลอดเลือดสูง (Triglyceride) ค่าปกติไม่ควรสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

2. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติจะมีอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้มากกว่าผู้ที่มีความดันโลหิตปกติรวมทั้งอัตราการตายจากโรคหัวใจก็จะสูงขึ้นด้วย

3. โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)

สภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดผิดไปจากปกติ (Endothelial Dysfunction) และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสภาวะหลอดเลือดแดงแข็งอีกด้วย โดยที่ผู้ป่วยเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 3-5 เท่า

4. อาหาร (Dietary)

พบว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) และ/หรือ คอเลสเทอรอลในปริมาณสูงหรือรับประทานอาหารที่มีกากใย (Fiber) น้อยเกินไปจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น

5. การขาดการออกกำลังกาย (Physical Inactivity)

ทำให้น้ำหนักเกินหรือเกิดโรคอ้วน รวมทั้งระดับของเอชดีแอลคอเลสเทอรอลในเลือดต่ำลงด้วย

6. โรคอ้วน (Obesity) หรือภาวะน้ำหนักเกิน (Over-weight) 

  • คนอ้วนมักจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมากกว่าคนปกติ
  • คนอ้วนมักจะมีความผิดปกติของระดับไขมันต่างๆ ในเลือดได้มากกว่าคนปกติ
  • คนอ้วนจะมีระดับของฮอร์โมนอินซูลินในเลือดสูง (Hyperinsulinemia) ซึ่งมีผลในการกระตุ้นการเจริญที่มากผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงได้

7. การสูบบุหรี่

  • เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับเอชดีแอลคอเรสเทอรอลในเลือดต่ำ
  • ทำให้เกิดกระบวนการออกซิเดชั่น (Oxidation) ของแอลดีแอลคอเรสเทอรอลเป็นสาเหตุให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่ายขึ้น
  • การทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดผิดไปจากปกติ

แนวทางการป้องกัน

  • เลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมระดับไขมันต่างๆในเลือดให้อยู่ในระดับที่พึงประสงค์
  • ออกกำลังกายชนิดที่ร่างกายต้องการออกซิเจนในปริมาณสูง (Aerobic Exercise) เช่น ว่ายน้ำ จ๊อกกิ้ง เดินเร็ว เป็นต้น โดยจะต้องทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 30 นาที
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเรสเทอรอลในปริมาณต่ำ หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารประเภท เครื่องในสัตว์ เครื่องสัตว์ติดมัน น้ำมันหมู หนังสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และหอยนางรม รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผักและผลไม้ให้มากขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
  • หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ/หรือ โรคเบาหวานจะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  • ควรตรวจสุขภาพเป็นระยะตามเวลาที่เหมาะสม

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ โทร.1719

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง