Skip to content

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

heartโรคหัวใจเป็นสาเหตุเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว และนับวันประเทศไทยมีแนวโน้มของผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทั้งนี้โรคหัวใจชนิดหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ คือ “โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ตีบตัน หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่ แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่ออก เป็นลม ใจสั่น จนถึงขั้นเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน แต่ถ้าท่านเจ็บหน้าอก และมีอาการร่วมอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นหรือเจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคให้ละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเราอยู่ในสภาวะโรคหัวใจหรือไม่ หากคุณพบอาการเบื้องต้นของโรคหัวใจให้รีบมาพบแพทย์โดยด่วน

แพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียด พร้อมทั้งตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หากต้องการทราบรายละเอียดการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้น สามารถตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) หรือตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) กรณีที่พบความผิดปกติแต่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64-Slice CT Scan ซึ่งให้ภาพคมชัด มีประสิทธิภาพในการตรวจโรคหัวใจได้แม่นยำ 90 % เป็นการตรวจภายนอกร่างกาย ไม่เจ็บไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับการตรวจสวนหัวใจเพื่อหาตำแหน่งที่ตีบตันของหลอดเลือด ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้ทีมแพทย์สามารถวางแผนการักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อตรวจพบผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในเบื้องต้นเพทย์อาจจะทำการรักษาด้วยยาขยายหลอดเลือด ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด เพื่อให้เลือดเดินทางอ้อมผ่านจุดที่อุดตันโดยใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขนหรือขามาต่อเป็นเส้นเลือดใหม่

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้มีชีวิตเช่นคนปกติได้ ถ้าคุรและคนที่คุณรักไม่ต้องการเป็นโรคหัวใจ ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่ปราศจากไขมัน ควรเน้นผัก และผลไม้ให้มากๆยิ่งดี และมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายปีละ 2 ครั้ง เพียงเท่านี้คุณก็สามารถป้องกันสุขภาพร่างกายห่างไกลจากโรคหัวใจและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

‘เจ็บกลางหน้าอก เหนือลิ้นปี่ เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้ เป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน สัญญาณ อันตรายจากโรคหัวใจ’

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ โทร.1719

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง