Skip to content

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีปัจจัยที่ทำให้เกิดหลายประการ อาทิ กรรมพันธุ์ อายุ เพศ พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การขาดการออกกำลังกาย การบริโภค ฯลฯ

หัวใจล้มเหลว หัวใจวายเป็นภัยเงียบที่ทำให้เสียชีวิต ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดหัวใจตีบ จนนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งในภาวะฉุกเฉิน มาตรฐานการรักษาจำเป็นต้องเปิดหลอดเลือดหัวใจที่ตีบตันด้วยยาละลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด หรือในบางรายอาจจำเป็นตัองผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด

Heart Assessment

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้น้อยลง จึงมีโอกาสเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง ซึ่งส่งผลทำให้เสียชีวิตกะทันหัน

ดังนั้นมาตรฐานในการรักษาโรคหัวใจ แพทย์ผู้ทำการรักษาจะเริ่มต้นใช้ยาในการรักษา หากการตอบสนองไม่ดีหลังจากการรักษาด้วยยา และผู้ป่วยยังมีความทุกข์ทรมานจากโรคหัวใจ การรักษาในขั้นต่อมา อายุรแพทย์ไฟฟ้าหัวใจจะเป็นผู้พิจารณาทางเลือกในการใช้เครื่องกระตุ้นหรือเครื่องกระตุกหัวใจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจแต่ละประเภท เพื่อผลการรักษาที่ดี

การเลือกใช้เครื่องกระตุ้น หรือกระตุกหัวใจไม่ใช่ทำเพียงเพื่อให้การรักษาครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปเท่านั้น แต่อายุรแพทย์ไฟฟ้าโรคหัวใจ ยังพิจารณาถึงความเหมาะสมหากในอนาคตผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาตัวด้วยโรคอื่น หรือการรักษาด้วยเครื่องมือพิเศษอื่นๆ อีกด้วย

ประสบการณ์กว่า 12 ปีที่อายุรแพทย์ช่างไฟฟ้าหัวใจ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาได้ให้การดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมามีชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ มีจำนวนมากถึง 534 ราย และผู้ป่วยโรคหัวใจทุกท่านที่ได้รับการรักษากลับไปใช้ชีวิตที่มีคุณภาพอย่างปลอดภัย และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้ตามปกติ

pacemaker

Pacemaker Clinic

นอกจากนี้ยังมีบริการติดตามผู้ป่วยหลังจากใส่เครื่องกระตุ้น หรือเครื่องกระตุกหัวใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าการทำงานของเครื่องยังมีประสิทธิภาพ คลินิกดังกล่าวให้บริการดูแล และตรวจสอบเครื่องกระตุ้น หรือเครื่องกระตุกหัวใจให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยลูกค้าที่มาใช้บริการมีตั้งแต่ลูกของศูนย์หัวใจ ลูกค้าที่ได้รับการรักษาจาก รพ.อื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง