โรคไทรอยด์

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  >  โรคไทรอยด์

เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งที่อยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม ลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ

ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่อย่างไร

ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นส่งไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง(Pituitary gland)และต่อมไฮโปธาลามัส(Hypothalamus) โดยร่างกายจะมีระบบการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์อย่างดี เพื่อรักษาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา

ไทรอยด์ฮอร์โมนมีความสำคัญในการกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายทำงาน  โดยเฉพาะหัวใจและสมอง นอกจากนี้ยังควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่างๆ  ระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่มีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ ด้วย ดังนั้นหากมีความผิดปกติของไทรอยด์ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติตามมา

แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ชนิดโตทั่วไป(Graves’disease), ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ(Toxic multinodular), ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนเดี่ยว (Toxic nodule)

ปัจจุบันเชื่อว่า ร่างกายมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารแอนติบอดีต่อตนเอง ซึ่งสารนี้ก็ไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ก็จะสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้น  ผู้ป่วยจึงมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานมากขึ้นและเร็วขึ้น กระบวนการเมตาบอลิสมสูงขึ้น

อาการ

ซึ่งผู้ป่วยทั้ง 3ชนิดนี้จะมีอาการเหมือนกันคือ  เหนื่อย ใจสั่น ขี้ร้อน น้ำหนักลด เหงื่อออกเยอะ ประจำเดือนน้อยลง ผิวหนังเป็นปื้นหน้าขรุขระ บางรายตาโปน บางรายมีอาการแขนขาอ่อนแรง

คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดมีค่าต่ำกว่าปกติ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากได้รับการรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนหรือการผ่าตัดที่ต่อมไทรอยด์มาก่อน (Primary hypothyroidism)ส่วนสาเหตุส่วนน้อยเกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง(Secondary hypothyroidism)

อาการ

เป็นอาการของการมีภาวะเมตาบอลิสมในร่างกายที่น้อยเกิน ได้แก่ ความคิดช้า เฉื่อยชา ง่วงนอน น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้งหยาบ ตัวบวม หน้าบวม เป็นตะคริวบ่อย ท้องผูก อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลเสียต่อระบบหัวใจและระบบไขมันในเลือดได้

การรักษาโดยการรับประทานยาที่เป็นไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมักต้องรับประทานตลอดชีวิต

ที่พบบ่อยมี 2 ชนิดคือ อักเสบกึ่งเฉียบพลันและอักเสบเรื้อรัง

ต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลัน ( Subacute thyroiditis) มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ต่อมไทรอยด์โต คลำที่ต่อมไทรอยด์จะรู้สึกเจ็บ โรคนี้สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาสเตียรอยด์ ต่อมไทรอยด์จะยุบลงภายในเวลา 1-2 สัปดาห์  สามารถหายขาดได้ภายใน3-6 เดือน โดยต้องติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง ( Hashimoto thyroiditis) มีสาเหตุจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการคอโต กดไม่เจ็บ หรือมีประวัติคอโตแล้วยุบไปแล้วโดยไม่เคยรับการรักษามาก่อน  การวินิจฉัยทำโดยการตรวจแอนติบอดีในเลือด  การรักษาด้วยการรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมนและติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

คือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ มีทั้งชนิด ต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว(Single thyroid nodule) และ ต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน(Multinodular goiter) โดยทั้งสองชนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องตรวจด้วยวิธีการดูดเซลล์จากก้อนเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจึงพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

มีทั้งชนิดที่มีความรุนแรงน้อยซึ่งรักษาหายขาดได้และชนิดรุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิตได้ภายในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังมีชนิดที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งชนิดหลังนี้มักมีประวัติคนในครอบครัว และเกิดในคนอายุน้อย

ให้สงสัยก้อนที่คอนั้นอาจเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ เมื่อ

อายุน้อยกว่า 20ปี หรือมากกว่า 60 ปี

ก้อนมีลักษณะแข็ง โตเร็ว มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตร่วมด้วย

  • มีอาการกลืนลำบาก หรือหายใจลำบาก หรือเสียงแหบ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไต

การวินิจฉัย โดยการดูดเซลล์ที่ก้อนนั้นมาตรวจ ส่วนการรักษานั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งโดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม

มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ทำงานน้อยเกินไป(Subclinical hypothyroidism) และชนิดที่ทำงานมากเกินไป(Subclinical hyperthyroidism) โดยที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น การวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเลือดเท่านั้น ซึ่งมักพบเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. บวรคุณ ตันติวุฒิกุล
อายุรศาสตร์
พญ. กานต์สิรี ปาริยกร
อายุรศาสตร์
พญ. ปรีญาภรณ์ วิถีสำราญธรรม
อายุรศาสตร์