มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนังนั้น ๆ ความร้ายแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งด้วย แต่ถึงแม้ว่ามะเร็งผิวหนังอาจจะไม่ร้ายแรงเหมือนมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณอื่น ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานก็มีโอกาสกระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งผิวหนังในระยะเริ่มต้นช่วยรักษาให้หายขาด และมีประสิทธิภาพก็ยิ่งทำได้ดีมากขึ้น
ลักษณะของไฝที่เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง
- ขนาดเปลี่ยนแปลง เช่น ไฝโตขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น
- มีสีเข้ม ดำสนิท
- ขอบเขตไม่กลม ไม่เรียบ
- ไฝนูนหนาขึ้นตรงกลาง และด้านข้างบุ๋มเป้นวงโดยรอบ
- มีไฝเม็ดเล็ก ๆ กระจายอยู่โดยรอบ
การตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนังในระยะเริ่มต้นด้วยตัวเองง่าย ๆ
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เป็นก้อนนูนที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือขยายขนาดอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการปวดหรือไม่ปวดก็ได้
- มีก้อนที่ผิวหนังมีแผลเกิดขึ้น หรือมีเลือดออกง่าย
- มีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมีแผลใหม่ที่เกิดขึ้นบริเวณที่เป็นแผลเป็น หรือบริเวณแผลไฟไหม้มาก่อน
- รอยโรคมีสีดำหรือสีน้ำตาลที่ขอบเขต รอยอาจไม่ชัดเจนและมีแผลเกิดขึ้น
- ไฝมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง สีมีการเปลี่ยนแปลงเช่น มีสีขาวเกิดขึ้น หรือมีสีน้ำตาลดำไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น ไฝมีแผลเกิดขึ้น หรือมีเลือดออกง่าย โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้าในคนเอเชีย
- ผื่นเรื้อรังมีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเนื้อนูนขึ้นมา หากค้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวหนังดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อวางแผนหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การป้องกันโรคมะเร็งผิวหนังด้วยตัวเอง
หลีกเลี่ยงจากแสงแดดซึ่งเป็นการป้องกันมะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุด
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เช่น ไม่รับประทานยาที่มีส่วนผสมของสารหนู
หมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากมีความผิดปกติ เช่น ไฝมีผื่นหรือก้อนโตเร็วกว่าปกติ สีเปลี่ยน มีแผลเรื้อรังที่ไม่หายและขยายออก หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน
สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง หรือกางร่ม
ควรเริ่มป้องกันแสงแดดตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนังในระยะยาว
การรักษาและเทคโนโลยี
แชร์ :