ไอ น้ำมูก ภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  > การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์อายุรกรรม)

ไอ น้ำมูก ภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ (Allergy)

โรคภูมิแพ้เกิดจากระบบภูมิต้านทานของร่างกายตอบสนองต่อสารต่าง ๆ มากผิดปกติ ซึ่งสารเหล่านั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การสัมผัสและการรับประทาน ทำให้ร่างกายเข้าใจผิดว่าสารเหล่านั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงเกิดอาการแพ้สารต่าง ๆ เช่น จาม คันตา คันจมูก น้ำมูกไหล มีอาการทางผิวหนัง อาการหอบหืด ไปจนถึงอาการแพ้รุนแรง

การวินิจฉัยหาสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ หรือสารก่อภูมิแพ้ ทำได้โดยการซักประวัติโดยละเอียด ควบคู่กับการตรวจร่างกาย หากยังไม่สามารถบอกสารก่อภูมิแพ้ได้ชัดเจน หรือต้องการยืนยันสารก่อภูมิแพ้ จำเป็นต้องทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น

  1. การทดสอบทางผิวหนัง เป็นวิธีที่แพร่หลายที่สุด เจ็บน้อยกว่าวิธีอื่น ปลอดภัย และทราบผลเร็ว ซึ่งมีหลายวิธีเช่น การสะกิดผิวหนัง การฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง หรือการแปะบนผิวหนัง
  2. การตรวจเลือด เป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทดสอบทางผิวหนังได้ หรือรับประทานยาที่มีผลต่อการทดสอบทางผิวหนัง ข้อเสียคือต้องรอผลตรวจ ไม่ทราบผลโดยทันที
  3. การทดลองใช้สารที่สงสัย เป็นวิธีในการยืนยันการแพ้ได้ดีที่สุด แต่ต้องทำอย่างระมัดระวัง ภายใต้การดูแลพิเศษ

ตรวจภูมิแพ้

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin prick test) เป็นวิธีการทดสอบภูมิแพ้โดยการจำลองปฏิกิริยาการแพ้แบบฉับพลัน ที่สะดวก มีความแม่นยำ ทราบผลเร็ว ค่อนข้างปลอดภัย และประหยัด โดยทำการทดสอบ ที่บริเวณแขนหรือหลัง ด้วยการหยดน้ำยาทดสอบปริมาณเล็กน้อย และใช้ปลายเข็มสะกิด หากแพ้สารที่ทดสอบจะมีรอยนูน บวมแดง คล้ายยุงกัด

  1. ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้และสารที่แพ้ โดยวินิจฉัยร่วมกับการซักประวัติและตรวจร่างกาย
  2. สามารถหลีกเลี่ยง หรือกำจัดสารที่แพ้ ช่วยป้องกันอาการแพ้ในอนาคตได้
  3. ช่วยวางแผนการรักษาและเลือกให้วัคซีนภูมิแพ้
  4. ทีมแพทย์สามารถนำไปศึกษาระบาดวิทยาของสารก่อภูมิแพ้ในกลุ่มคนที่จำเพาะ ซึ่งนำไปสู่การดูแนวโน้มการแพ้ของประชากรในกลุ่มต่าง ๆ
  1. สารก่อภูมิแพ้ทางอากาศ เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ลอยปนอยู่ในอากาศ หรือปนในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ ละอองเกสรหญ้า ละอองเกสรจากต้นไม้ สุนัข แมว ไรฝุ่น เชื้อรา และแมลงสาบ
  2. สารก่อภูมิแพ้ทางอาหาร เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหารที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ไข่ นม แป้งสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด เห็ด ไก่ หมู วัว ปลา หอย กุ้ง ปู โกโก้ และส้ม
  1. กลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้
  2. ผู้ที่เป็นโรคหืด หรือหอบหืด
  3. ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
  4. ผู้ที่มีอาการแพ้อาหารฉับพลัน หรือโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากกลไกลการแพ้แบบฉับพลัน
  5. โดยปกติการทดสอบสามารถทดสอบได้กับผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ที่ไม่มีข้อห้ามในการทดสอบ แต่ผลตรวจจะมีความไวลดลงในผู้สูงอายุ หรือการรับประทานยาบางชนิด
  1. มีผื่นผิวหนังอักเสบทั่วตัว มีภาวะผิวหนังเป็นรอยง่ายจากการขูดขีด
  2. ผู้ป่วยไม่สามารถให้ความร่วมมือ
  3. มีภาวะที่ไม่สามารถหยุดยาแก้แพ้ หรือยาที่รบกวนผลการทดสอบได้
  4. ผู้ป่วยที่มีภาวะหอบรุนแรง หรือไม่สามารถควบคุมอาการหืดได้
  5. สตรีมีครรภ์
  6. ผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดการแพ้รุนแรงระหว่างทดสอบ
  7. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือกำลังรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้ควบคุมการแพ้รุนแรงไม่ได้

ซึ่งในกลุ่มเหล่านี้ แพทย์อาจจะพิจารณาการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือดแทน

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิดทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนปฏิบัติตัว ได้แก่

  1. หยุดยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัน ยาแก้ไอ ยาคลายกังวลและยานอนหลับอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  2. ณ วันทดสอบ ให้งดทายา หรือโลชั่นที่แขนและหลัง
  3. แจ้งแพทย์หากมีการทายากดภูมิ หรือยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอาจรบกวนผลการทดสอบได้
  4. แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ และแจ้งชื่อยาที่รับประทานโดยเฉพาะ ยารักษาโรคหัวใจและยารักษาความดันโลหิต
  5. สามารถรับประทานอาหารและยาอื่น ๆ ได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร

ขั้นตอนการทดสอบปฏิบัติโดยผู้ให้บริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยามีขั้นตอนดังนี้

  1. ทำความสะอาดผิวหนังที่จะทดสอบ มักเป็นบริเวณด้านในของแขนหรือหลัง
  2. ทำเครื่องหมายบนผิวหนังด้วยปากกา
  3. หยดน้ำยาทดสอบประมาณ 0.1 ซีซี
  4. ใช้ปลายเข็มสะกิดเบา ๆ ผ่านชั้นผิวหนังกำพร้า เพื่อให้น้ำยาซึมเข้าไป
  5. รอผลประมาณ 15-20 นาที หากมีความไวต่อสารที่ทดสอบ จะมีรอยนูน บวม แดง คล้ายยุงกัด บริเวณที่หยดน้ำยา
  6. เช็ดทำความสะอาดผิวหนัง และให้คำแนะนำผลการทดสอบ
  1. ทีมแพทย์มีการตรวจสอบวันหมดอายุของน้ำยาทดสอบภูมิแพ้ และวางน้ำยาให้ตรงกับตารางทดสอบภูมิแพ้
  2. เตรียมอุปกรณ์และรถ Emergency ให้พร้อมก่อนทดสอบภูมิแพ้
  3. ซักประวัติโรคประจำตัว และยาที่รับประทานประจำ
  4. สอบถามการหยุดยาแก้แพ้ก่อนทำการทดสอบ หากไม่มั่นใจให้ทำการทดสอบน้ำยา Histamine เพียงตัวเดียว
  5. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบวิธีการและการปฏิบัติตนเมื่อทดสอบภูมิแพ้
  6. ให้ผู้ป่วยลงนามในใบยินยอมทำ skin test
  7. เริ่มทดสอบภูมิแพ้ ที่บริเวณท้องแขนด้านล่าง โดยการหยดน้ำยา และใช้ปลายเข็มสะกิด หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยนั่งรอที่ห้อง treatment 15 นาที โดยมีนาฬิกาจับเวลา เมื่อครบเวลาดังกล่าวให้แพทย์อ่านผลทันที ในระหว่างนั่งรอหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีผื่นคันเห่อตามตัว คันตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หากมีอาการดังกล่าว ผู้รับบริการสามารถแจ้งผู้ให้บริการทางการแพทย์ และแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือได้โดยทันที
  8. เช็ดรอยปากกา ทายาลดการอักเสบ แพทย์อ่านผล และให้คำแนะนำจากผลการตรวจ

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ : 

บทความสุขภาพจากศูนย์อายุรกรรม

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. ชานน อยู่เย็น
อายุรศาสตร์
นพ. ธนากร อรุณงามวงศ์
อายุรศาสตร์
นพ. ธัญฤทธิ์ วัฒนะ
อายุรศาสตร์
นพ. นราวิชญ์ สมพรไพลิน
อายุรศาสตร์
นพ. ประสิทธิ์ วงษ์จารุพงษ์
อายุรศาสตร์
นพ. ปานุวัฒน์ สุธีรยงประเสริฐ
อายุรศาสตร์
นพ. พงศ์อินทร์ สาริกะภูติ
อายุรศาสตร์โรคเลือด
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
นพ. พัสกร สรัคคานนท์
อายุรศาสตร์
นพ. ภาสกร วันชัยจิระบุญ
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
อายุรศาสตร์
นพ. ภูธเรศ จตุรนต์รัศมี
อายุรศาสตร์

แพ็กเกจและโปรโมชั่น