โรคการนอนหลับ

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  >  โรคการนอนหลับ

นอนไม่หลับ, กรน, ฝันร้าย, ละเมอ, คันหรือเจ็บตามแขนขาเวลานอน, ปัสสาวะบ่อยกลางคืน, ตื่นไม่สดชื่น หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า, เพลีย ง่วงกลางวัน, สมาธิและความจำลดลง, ปวดศีรษะเรื้อรัง, อ้วน, ความดันโลหิตสูง, สมรรถภาพทางเพศลดลง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, หัวใจวาย, โรคหัวใจ

ถ้ามีอาการตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป คุณควรได้รับการตรวจเพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและโอกาสของการนอนหลับผิดปกติ

อาการดังกล่าวสามารถเป็นผลสืบเนื่องจาก การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ รบกวนต่อการทำงานของสมอง หัวใจ หลอดเลือด การหายใจ ทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ การสืบพันธ์ ภูมิคุ้มกัน และการฟื้นฟูร่างกาย เป็นต้น

1.นอนไม่หลับ: แบ่งเป็นระยะที่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่นานกว่า 3 สัปดาห์และ อาการนอนไม่หลับที่นานกว่า3 สัปดาห์ ซึ่งมักมีสาเหตุที่ต่างกันออกไปทั้งทางกายและทางอารมณ์จิตใจ

2.นอนหลับเยอะกว่าปกติ

2.1 นาร์โคเลปซี หรือ ภาวะลมหลับมีอาการร่วมที่สำคัญ 4 อาการได้แก่

  • ง่วงมากเกินปกติ
  • รู้สึกเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ในขณะที่เริ่มรู้สึกตัวตื่น
  • รู้สึกหลอนช่วงเคลิ้มหลับ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันหากมีอารมณ์ขัน หัวเราะ หรือดีใจ โดยไม่หมดสติ

2.2 ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) ผู้ป่วยจะหยุดหายใจ หรือ หายใจแผ่วลงขณะนอนหลับ เกิดซํ้าบ่อยๆ เนื่องจากทางเดินหายใจยุบตัวขณะหลับ

ผู้ป่วยอาจมีอาการและความผิดปกติอื่นร่วม ที่พบบ่อยได้แก่ กรนเสียงดังสะดุ้งตื่นกลางคืนหอบเหนื่อย กระสับกระส่าย ปากคอแห้งหลังตื่น เพลียกลางวัน ไม่มีสมาธิอารมณ์แปรปรวน เกิด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความจำเสื่อม ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมถึงเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลัน(SUDEP)ขณะหลับหากมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบรุนแรง

2.3 การแสดงพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ เช่น ฝัน, ละเมอ กรีดร้อง ละเมอเดิน, หรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงชกต่อยทุบตีแม้ขณะกำลังหลับ

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ชาญ ศุภภิญโญพงศ์
ประสาทวิทยา
นพ. ณษฐพจน์ นำผล
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐกานต์ บูรณะกุล
ประสาทวิทยา
นพ. ณัฐพล อุฬารศิลป์
ประสาทวิทยา
นพ. นิยม พิสิฐพิพัฒนา
ประสาทวิทยา
นพ. ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ประสาทวิทยา
นพ. พิมาน สีทอง
ประสาทวิทยา
นพ. ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
ประสาทศัลยศาสตร์