อาการปวดเข่า (knee pain) 2

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  >  อาการปวดเข่า (knee pain) 2

ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สังเกต ได้ว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นทุกวันความรุนแรงแตกต่างกัน ไป มากบ้างน้อยบ้าง สาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้แก่ น้ำหนักตัวมาก อายุเกิน 40 ปีมีความเสี่ยงต่ออาการปวดข้อเข่าการยืนหรือนั่งงอเข่านานๆ การมีลักษณะเข่าโก่งออกนอกหรือโค้งเข้าในอาจเกิดจากสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง เช่นได้รับบาดเจ็บ ส่วนปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ เช่น ขาดอาหาร หญิงวัยหมดประจำเดือนการได้รับยาฉีดเข้าข้อ โรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเกาต์โรครูมาตอยด์

1. ควบคุม และลดน้ำหนักตัว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า น้ำหนักตัวที่ลดลงจะแปรผันโดยตรงกับการลดอัตราการเสื่อมของข้อเข่า
2. หลีก เลี่ยงการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิดแรงกดในข้อเข่าที่มากเกินไปโดยเฉพาะการนั่งยองๆ การขัดสมาธิ พับเพียบ หรือการคุกเข่า และหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
3. ใช้อุปกรณ์รัดข้อเข่า โดยเฉพาะเวลายืนเดิน
4. ใช้ไม้เท้าค้ำยันหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เพื่อลดแรงกดที่หัวเข่า
5. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
6. ออกกำลังกาย และบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ

พบว่าเป็นการบาดเจ็บที่ผิวกระดูกอ่อนของกระดูกสะบ้า ส่วน ใหญ่เกิดจากการที่กระดูกสะบ้ามีรูปทรงไม่ปกติหรือวิ่งมากไปบางรายวิ่งไม่ถูก เทคนิค ทำให้การลื่นไหลของกระดูกสะบ้า ระหว่างที่มีการเหยียดและงอเข่าไม่สะดวก เมื่อวิ่งมากๆจะทำให้แรงเค้นเกิดขึ้นมารวมกันอยู่ที่ผิวกระดูกอ่อน เมื่อมากขึ้นเรื่อยๆจะมีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อของกระดูกสะบ้า ยิ่งถ้างอเข่ามากๆจะเกิดแรงอัดที่กระดูกสะบ้ามากทำให้ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลาย มากขึ้นไปอีกดังนั้นการวิ่งที่งอเข่ามากๆ เช่นการวิ่งขึ้นหรือลงที่สูง หรือที่ลาดเอียงชัน จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้ง่ายอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการทำลายของ ผิวกระดูกอ่อนที่พบได้บ่อยๆ ก็คือกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรงทำให้ไม่มีตัวที่จะดึงรั้งกระดูกสะบ้าไว้ เมื่อมีการเคลื่อนไหวผิวกระดูกอ่อนของกระดูกสะบ้าจะไปถูไถกับกระดูกของข้อ เข่าทำให้มีการทำลายกระดูกผิวข้อได้

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : Rotator cuff injury repair

Arthroscopic Rotator Cuff Repair" Thai surgeon uses arthroscope instead of radical surgery. A patient describes his experiences and outcome.

Testimonial : การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทโดยการส่องกล้อง แผลเล็ก

คุณสุภาพ มาทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โดยการส่องกล้องแผลเล็ก กับ นพ.วิทย์ โคธีรานุรักษ์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

น.ต. นพ. ชัยพฤกษ์ ปั้นดี
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. กิตติศักดิ์ ส่งทอง
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. คคนันต์ เจี้ยมดี
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. คณาธิป จิตร์ภักดี
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. จตุภูมิ ชั้นสมบูรณ์
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. ชิตวีร์ เจียมตน
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. ณฐพล โรจนภินันท์
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. ณัฐวัฒน์ วิโรจนวัธน์
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. ทวีชัย เตชะพงศ์วรชัย
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
นพ. ทองสุข พันธ์พนมไพร
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์