ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ขับของเสียและรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตมากขึ้น โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพไตให้ห่างไกลจากความเสื่อมเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

ในร่างกายของคนเรามีไตอยู่ 2 ข้าง มีลักษณะรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่กรองน้ำ เกลือแร่ สารเคมี และของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ แล้วขับออกมาทางปัสสาวะ

  • กำจัดของเสีย
  • ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย ขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย และดูดซึมกลับในภาวะขาดน้ำ
  • รักษาสมดุลเกลือแร่ กรด ด่างของร่างกาย
  • ควบคุมความดันโลหิต การเป็นโรคไต ทำให้ความดันโลหิตสูงได้
  • ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็น
    • ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin)
    • ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการควบคุมความดันโลหิต (Renin-Angiotensin-Aldosterone System)
    • ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการรักษาสมดุลแคลเซียม (Vitamin D และ Parathyroid Hormone)
  • เบาหวาน 1 ใน 3 ของคนที่เป็นเบาหวานมักเป็นโรคไตด้วย โดยอาจตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ค่าการทำงานของไตลดลง
  • ความดันโลหิตสูง ในผู้ใหญ่ 1 ใน 5 คน จะมีปัญหาความดันโลหิตสูง ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ซึ่งในไตเต็มไปด้วยหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตด้วย
  • ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน
  • โรคหลอดเลือดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจหรือสมอง
  • คนที่อายุมากกว่า 60 ปี อัตราการทำงานของไตลดลง
  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตและสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ถุงน้ำในไต
  • ผู้ป่วยที่มักมีโรคไตร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยโรค SLE โรคหลอดเลือดอักเสบ หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่าง ๆ
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ยาหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อไต

โรคไต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury, AKI)
    ภาวะที่การทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว มีค่าไตผิดปกติช่วงเวลาสั้น ๆ ในเวลาเป็นชั่วโมงหรือในไม่กี่วัน ส่งผลให้ไตไม่สามารถขับของเสียและบกพร่องหน้าที่ในการรักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรด ด่างในเลือด โดยมักจะดีขึ้นได้ในเวลาไม่นาน ถ้าได้รับการแก้ไขในเวลาอันรวดเร็ว
  2. ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD)
    ภาวะที่การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ทำลายเนื้อไตแบบค่อยเป็นค่อยไปนานเกินกว่า 3 เดือน โดยแบ่งระยะและระดับความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังออกเป็น 5 ระยะตามอัตราการกรองของไต (Estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) ซึ่งคือปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที (มล./นาที/1.73 ตร.ม.)
    • ไตเรื้อรังระยะที่ 1 อัตราการกรองของไต (eGFR) ปกติมากกว่า 90 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
    • ไตเรื้อรังระยะที่ 2 อัตราการกรองของไต (eGFR) 60 – 89 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
    • ไตเรื้อรังระยะที่ 3 อัตราการกรองของไต (eGFR) 30 – 59 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
    • ไตเรื้อรังระยะที่ 4 อัตราการกรองของไต (eGFR) 15 – 29 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
    • ไตเรื้อรังระยะที่ 5 อัตราการกรองของไต (eGFR) น้อยกว่า 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
  1. โรคที่ส่งผลให้เลือดมาเลี้ยงไตลดลง เช่น เสียเลือดมาก หลอดเลือดที่เลี้ยงไตตีบ
  2. โรคที่เกิดความผิดปกติของไตโดยตรง เช่น
    • อักเสบจากการติดเชื้อ
    • อักเสบจากการไม่ติดเชื้อ
    • ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายกับไต เช่น สารพิษ หรือยา
    • ภาวะหลอดเลือดในไตอักเสบ
  3. โรคไตที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ความผิดปกติของท่อไต นิ่ว หรือเนื้องอกของกระเพาะปัสสาวะ
  • อาการซึ่งเกิดจากการสะสมของของเสีย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน คันตามผิวหนัง
  • ปัสสาวะน้อยหรือบ่อยผิดปกติ เพราะความสามารถในการขับน้ำผิดปกติไป
  • ลักษณะปัสสาวะผิดปกติ เช่น สีผิดปกติ มีเลือดปน เป็นฟองจากการมีโปรตีนรั่ว หรือมีนิ่วปนออกมา
  • ตาบวม ขาบวม อาจเกิดจากภาวะน้ำคั่งหรือเสียโปรตีนออกไปจนเกิดภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ
  • เหนื่อยง่าย เนื่องจากภาวะน้ำเกิน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ตะคริว ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น แคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะซีด ฯลฯ

การตรวจหาโรคไตแพทย์จะตรวจหาสาเหตุเพื่อประเมินความรุนแรง ได้แก่

  • ตรวจเลือด เพื่อตรวจระดับของเสียในเลือด ตรวจสมดุลเลือด กรด ด่าง อัตราการกรองของไต ฯลฯ
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urinalysis) วัดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ (Urine Microalbumin to Creatinine Ratio)
  • ตรวจจากภาพถ่าย ได้แก่ เอกซเรย์, อัลตราซาวนด์ (Ultrasound), CT Scan, MRI Scan
  • ตรวจชิ้นเนื้อ (Kidney Biopsy)
  • การตรวจพิเศษต่าง ๆ จำเพาะโรค (Special Tests)

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ : 

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : คุณอาจไม่รู้ว่าคุณเป็น"นิ่ว" (การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก)

คนไข้มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน หาหมอที่อื่นแล้วก็ไม่หาย จนต้องเปลี่ยนมารักษาที่รพ.กรุงเทพพัทยา และแพทย์เฉพาะทางของเรา..ตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของ "นิ่ว"

ศักยภาพความพร้อมศูนย์ไตเทียม รพ.กรุงเทพพัทยา (Hemodialysis Center)

ศูนย์ไตเทียม รพ.กรุงเทพพัทยา ให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ด้วยเครื่องไตเทียมประสิทธิภาพสูง เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ ตลอด 24 ชั่วโมง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. ชานน อยู่เย็น
อายุรศาสตร์
นพ. ธนากร อรุณงามวงศ์
อายุรศาสตร์
นพ. ธัญฤทธิ์ วัฒนะ
อายุรศาสตร์
นพ. นราวิชญ์ สมพรไพลิน
อายุรศาสตร์
นพ. ประสิทธิ์ วงษ์จารุพงษ์
อายุรศาสตร์
นพ. ปานุวัฒน์ สุธีรยงประเสริฐ
อายุรศาสตร์
นพ. พงศ์อินทร์ สาริกะภูติ
อายุรศาสตร์โรคเลือด
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
นพ. พัสกร สรัคคานนท์
อายุรศาสตร์
นพ. ภาสกร วันชัยจิระบุญ
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
อายุรศาสตร์
นพ. ภูธเรศ จตุรนต์รัศมี
อายุรศาสตร์

แพ็กเกจและโปรโมชั่น