การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์สมองและระบบประสาท)

หน้าแรก  >  ข้อมูลสุขภาพ  >  บทความสุขภาพ  > Treatment-ศูนย์สมองและระบบประสาท

การรักษา

สามารถรักษาอาการหรือโรคทางสมองได้ดังนี้ 

  • อุบัติเหตุที่ศีรษะและการบาดเจ็บของเส้นประสาทไขสันหลัง
  • ก้อนเนื้อในสมอง การผ่าตัดฐานกะโหลกศีรษะและเนื้องอกของไขสันหลัง
  • เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของเส้นเลือดแต่กำเนิด หลอดเลือดสมองโป่งพอง
  • ความพิการแต่กำเนิดทางสมอง
  • ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง
  • ความผิดปกติของของกระดูกสันหลังส่วนคอ

เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาในปัจจุบัน ด้วยวิธีการนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมองออกผ่านทางสายสวน เพื่อเปิดหลอดเลือดให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองได้ ซึ่งเป็นการรักษาในผู้ป่วยที่มีสภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ การรักษาโดยการเปิดเส้นเลือดด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการเปิดเส้นเลือดและลดภาวะทุพพลภาพจากสมองขาดเลือด ลดภาวะสมองบวม ส่งผลให้ลดการผ่าตัดเปิดกะโหลก

วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับผ่าตัดด้วยวิธีการเปิดกระโหลก ทำให้ผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนจากการผ่าตัดน้อยลง ผลการรักษามีประสิทธิภาพซึ่งช่วยลดการเสียชีวิตและพิการในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่ลงได้

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ควรได้รับการรักษาด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy มีข้อบ่งชี้ดังนี้

  • ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำแล้ว ไม่ดีขึ้นและยังมีอาการผิดปกติ
  • ผู้ป่วยมีลิ่มเลือดอุดตันอยู่ในหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่
  • ผู้ป่วยมีข้อห้ามบางประการของการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกหรือทั้ง 2 ข้าง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ฟังไม่เข้าใจ มองเห็นภาพซ้อน การทรงตัวไม่ดี รีบนำส่งโรงพยาบาลที่มีความพร้อมทันที

การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา สามารถทำการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy ในภาคตะวันออกที่มีทีมแพทย์โรคระบบประสาทและหลอดเลือดสมอง ศัลยแพทย์โรคระบบประสาทและหลอดเลือด และรังสีร่วมรักษา พร้อมด้วยเทคโนโลยีและห้องผ่าตัดที่เรียกว่า Hybrid Operating Room หรือ ห้องผ่าตัดไฮบริด ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาได้ทันทีในเวลาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพการรักษาสูง ซึ่งด้วยความพร้อมของทีม ทำให้ผู้ป่วยที่ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในเวลาที่วิกฤตด้วยวิธีการให้ยาสลายลิ่มเลือด และการทำ Mechanical Thrombectomy ภายใน 6ชั่วโมง หลังจากมีอาการ

เทคโนโลยี

สามารถใช้ตรวจความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง เลือดที่ออกในสมอง รวมไปถึงเนื้องอก เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค เช่น โรคหลอดเลือดแตกในสมอง ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ เนื้องอกในสมอง ซึ่งสามารถช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว

เป็นการตรวจโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการสร้างภาพ สามารถจำแนกเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบ สามารถตรวจความผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้ ใช้ในการวินิจฉัยโรคได้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดตีบในสมองขนาดเล็กๆ

เป็นการตรวจโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กช่วยในการสร้างภาพ เพื่อศึกษาความผิดปกติของหลอดเลือดโดยเฉพาะสามารถบ่งบอกถึงสภาพการตีบตันของหลอดเลือดที่คอและหลอดเลือดในสมองโรค เช่น โรคเส้นเลือดโป่งพองในสมอง

เป็นการใส่สายสวนเข้าหลอดเลือดแดงเพื่อฉีดสีดูพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โรคหลอดเลือดผิดปกติ โดยเราจะพิจารณาทำการตรวจในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดที่อาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด หรือการใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อปิดรอยโรค

เป็นการตรวจการไหลเวียนของหลอดเลือดที่คอโดยใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อตรวจหาคราบไขมันและความหนาของผนังหลอดเลือด รวมทั้งการหมุนเวียนของหลอดเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง มีประโยชน์ในผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น มีอาการวิงเวียนศีรษะ วูบ ชาครึ่งซีก อ่อนแรงครึ่งซีก หรือเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ส่วนการตรวจไหลเวียนของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler Ultrasound : TCD) เป็นการตรวจการไหลเวียนของหลอดเลือดภายในสมองด้วยคลื่นความถี่สูง ซึ่งจะได้ข้อมูลในทันที มีความปลอดภัยและไม่เจ็บ

  1. เป็นการตรวจการทำงานของเซลล์สมอง เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของเซลล์สมองที่ส่งออกมาในลักษณะคลื่นไฟฟ้าที่มีความถี่และความสูงต่ำของคลื่นต่อเนื่องเป็นกราฟบนจอภาพ อีกทั้งยังใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคลมชักและประเมินการทำงานของสมองในกรณีผู้ป่วยมีอาการ หมดสติ ซึม สับสน ไม่รู้สึกตัวที่เกิดจากอุบัติหตุทางสมอง รวมทั้งช่วยประมวลผลการรักษา และพิจารณาหยุดยาป้องกันการชัก สามารถใช้ตรวจเพื่อให้ทราบตำแหน่งความผิดปกติในสมองที่เป็นสาเหตุของโรคลมชัก และเพื่อแยกโรคจากสาเหตุอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายอาการของโรคลมชัก ภาวะโรคหลอดเลือดสมองและการอักเสบติดเชื้อจากระบบประสาทส่วนกลาง เป็นต้น

ขั้นตอนการตรวจการทำงานของเซลล์สมอง

  1. ติดอุปกรณ์ (Electrodes) บนหนังศรีษะตามระบบมาตรฐานการตรวจ
  2. บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมวิดีโอ
  3. ใช้แสงไฟกระพริบที่ความถี่ต่าง ๆ กระตุ้น
  4. ให้ผู้เข้ารับการตรวจหายใจเข้าลึกขณะบันทึกหายใจออกเร็วและแรง ทำต่อเนื่องนาน 3 นาที
  5. อ่านและแปลผลโดยแพทย์เฉพาะทาง
  6. ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาอย่างน้อย 60 นาที

พัฒนาการก้าวใหม่ของเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดที่ ต้องใช้การผ่าตัดเป็นหลัก โดยใช้เทคโนโลยีภาพทางรังสีชั้นสูง ติดตั้งในห้องผ่าตัดเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในด้านการผ่าตัดรองรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการผ่าตัดรักษา โรคซับซ้อน 

คลิกอ่านต่อ >> Hybrid Operating Room หรือ ห้องผ่าตัดไฮบริด

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กิตติภพ สมบูรณ์นิธิผล
รังสีวิทยาวินิจฉัย
กุมารเวชศาสตร์
นพ. กีรติ จรูญธรรมวงศ์
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ชาญ ศุภภิญโญพงศ์
ประสาทวิทยา
นพ. ณษฐพจน์ นำผล
ประสาทศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐกานต์ บูรณะกุล
ประสาทวิทยา
นพ. ณัฐพล อุฬารศิลป์
ประสาทวิทยา
นพ. นิยม พิสิฐพิพัฒนา
ประสาทวิทยา
นพ. ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ประสาทวิทยา
นพ. พิมาน สีทอง
ประสาทวิทยา
นพ. ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
ประสาทศัลยศาสตร์