หลักเกณฑ์การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด 19 ประเภทวัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม (Covilo Sinopharm) ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (Chulabhorn Royal Academy)

Sinopharm1

Sinopharm2

Sinopharm3

หลักเกณฑ์การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด 19 ประเภทวัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม (Covilo Sinopharm)

ระยะที่ 1 วัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรเท่านั้น

ทั้งนี้หากหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเอกชนองค์กรการกุศล สามารถแสดงความประสงค์ผ่านระบบออนไลน์ไปยังราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้ที่เดียวเท่านั้น https://vaccine.cra.ac.th/VaccineContent/content/home

ผู้ประสานงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์โครงการวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม”

ด้านข้อมูลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โทร 0-2576-6000 ต่อ 7016
ผู้ประสานงานหลัก : นายธนากร อินธนู E-mail : [email protected]

ด้านข้อมูลโครงการวัคซีนตัวเลือก ชิโนฟาร์ม โทร. 0-2576-6833-5
ผู้ประสานงานหลัก : นางประภาพร เจริญผล E-mail : [email protected]
นางนงนุช บุญทริกรักษา E-mail:[email protected]

การระบาดของโรคปอดบวม ที่ยังไม่ทราบสาเหตุในเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) จังหวัดหูเป่ย (Hubei) ประเทศจีน

lung

สรุปสาระสำคัญได้ว่า

  • จากจำนวนผู้ป่วยปอดบวมจากเชื้อไวรัสที่ไม่ทราบชนิด (Pneumonia of Unknown Origin) ระลอกแรก 44 ราย ในเมืองอู่ฮั่น (ประชากร 19 ล้านคน) ของจังหวัดหูเป่ย (ประชากร 58 ล้านคน) มี 11 รายที่ มีอาการหนักมาก ที่เหลืออาการคงที่แล้ว
  • อาการทางคลินิกที่ตรวจพบได้แก่ ไข้ หายใจลำบาก ภาพรังสีปอดแสดงลักษณะปอดบวมสองข้าง
  • มีผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยแล้วอย่างน้อย 121 คน ทั้งหมดอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิด
  • จนถึงบัดนี้ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อระหว่างคนสู่คน (human-to-human transmission) และ ไม่มีรายงานว่ามีการติดต่อสู่บุคลากรผู้ให้บริการทางการแพทย์ (no report so far of transmission to health workers)
  • จากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ถึงปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกยังไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้า

4 มกราคม 2563 ทางการสิงคโปร์รายงานผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 3 ปี ที่มีอาการป่วยและมีประวัติเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น อย่างไรก็ดีขณะรายงานเด็กมีอาการคงที่ ทั้งนี้ทางการสิงคโปร์กล่าวถึงความกังวลที่ว่าการระบาดอาจจะเกี่ยวเนื่องกับตลาดขายส่งอาหารสด ที่มีการขายทั้งอาหารทะเลและเนื้องู นก เครื่องในกระต่าย และสัตว์ป่าต่างๆ

5 มกราคม 2563 ทางการฮ่องกงได้เฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากอู่ฮั่นจำนวน 16 ราย เนื่องจากเมืองอู่ฮั่นอยู่ใกล้กับฮ่องกง

สำหรับประเทศไทย อธิบดีกรมควบคุมโรคแจ้งว่า ทางการจีนได้ดำเนินการสอบสวนโรคและอยู่ระหว่างการตรวจหาสาเหตุ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุก่อโรค แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ไม่ใช่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก อะดิโนไวรัส หรือโรคทางเดินหายใจที่พบได้ทั่วไป และได้มอบหมายให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ทำการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น โดยการคัดกรองอาการไข้ และอาการที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ ในผู้ที่เดินทางจากเมืองอู่ฮั่น เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งมีหลายสายการบิน และสนามบินที่เตรียมรับ ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ และภูเก็ต

6 มกราคม 2563 สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขตเมือง กรมการแพทย์ และหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข กำลังประชุมสรุปสถานการณ์ และจะแจ้งรายละเอียดขั้นตอนปฏิบัติให้ทราบ ทั้งการตรวจคัดกรอง การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการส่งต่อผู้ป่วย

ที่มา: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้ป่วยเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบ และการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา จึงใคร่ขอความร่วมมือ ในการสอบถามอาการก่อนเข้าพบแพทย์เพิ่มเติมในกรณีดังนี้

  • หากท่านมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และเหนื่อยหอบ

  • ร่วมกับมีประวัติเดินทางมาจาก เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ภายใน 14 วัน

กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน
ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

อีกหนึ่งความภูมิใจในเวที Healthcare Asia Award 2019

asia

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาคว้า 3 รางวัลจากงาน Healthcare Asia Awards 2019

นพ.ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 3 นพ.สีหราช โลหชิตรานนท์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา คุณจุฑาภรณ์ หุยากรณ์ ผู้อำนวยการสายงานพัฒนาธุรกิจและการต่างประเทศนำทีมรับ 3 รางวัลในงาน Healthcare Asia Awards 2019 จัดขึ้นที่ The Conrad Centennial Singapore รางวัลทีได้รับ คือ

  1. Corporate Social Responsibility of the Year – Thailand จากโครงการ iRESCUE
  2. Management Innovation of the Year – Thailand จากโครงการ Business Intelligence
  3. ICT Initiative of the Year – Thailand จากโครงการ Business Intelligence

Healthcare Asia Awards จัดขึ้นทุกปีโดย Healthcare Asia Magazine ในปี 2019 มีโรงพยาบาล และธุรกิจด้านสุขภาพในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลงานเข้าประกวดเกือบ 200 โครงการ ผ่านการคัดเลือกเข้ารับรางวัลในครั้งนี้จำนวน 50 รางวัล ความสำเร็จในครั้งนี้ ถือเป็นผลงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจทุ่มเทจนเกิด 2 โครงการดังกล่าว นับเป็นการสร้างสรรค์สิ่งดีๆโดยใช้วิชาชีพพัฒนาช่วยระบบงานและตอบแทนสังคม นำความภาคภูมิใจให้แก่องค์กร

10 ปี รวมพลัง “ผู้ให้”

รพ.กรุงเทพพัทยา ร่วมกับ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย จัดรับบริจาคโลหิต โครงการ “พลังเลือดใหม่ เพื่อโลกใบนี้”

Continue reading

รพ.กรุงเทพพัทยา จัดอบรม iRESCUE “การช่วยชีวิตทางน้ำ” ให้กับสถานประกอบการโรงแรม โรงเรียนในเมืองพัทยา

iRESCUE

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาร่วมกับทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติ (ทางน้ำ) โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ จัดอบรม iRESCUE “การช่วยชีวิตทางน้ำ” ให้กับสถานประกอบการโรงแรม โรงเรียนในเมืองพัทยา เพื่อให้ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวนักเรียนที่ประสบเหตุทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็นทะเล แม่น้ำ หรือสระว่ายน้ำในโรงเรียน โรงแรม เป็นต้น

วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่มูลนิธิพระมหาไถ่ พัทยา ได้มีการจัดการอบรม iRESCUE “การช่วยชีวิตทางน้ำ” ให้กับสถานประกอบการโรงแรม โรงเรียนในเมืองพัทยา โดยทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติ (ทางน้ำ) โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบเป็นทีมวิทยากรในการอบรม โอกาสนี้ นพ.สีหราช โลหชิตรานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้ร่วมอบรมและกล่าวเปิดการอบรม

“นพ.สีหราช กล่าวว่า เมืองพัทยา นับเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวและเข้าพักในโรงแรมหรือรีสอร์ท ซึ่งส่วนใหญ่เปิดให้บริการสระว่ายน้ำ อันเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางน้ำอยู่บ่อยครั้ง พนักงานโรงแรม หรือรีสอร์ทจะเป็นผู้ใกล้ชิดและเข้าถึงผู้ประสบภัยได้เร็วที่สุด เช่นเดียวกับอุบัติหตุทางน้ำในสระว่ายน้ำตามโรงเรียน ครูพละก็เป็นผู้ที่ช่วยเหลือนักเรียนผู้ประสบเหตุก่อนใครเหมือนกัน เราจึงเห็นความสำคัญในความปลอดภัยตรงจุดนี้จึงได้จัดการฝึกอบรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้ทำงานใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว ทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และชุมชนต่างๆ เพื่อช่วยลดความสูญเสียต่อชีวิต เป็นส่วนช่วยเติมเต็มความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน ช่วยสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยว และเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ชุมชนเมืองพัทยา”

หลังจากนั้นได้มีการอบรมภาคปฏิบัติโดยทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติ (ทางน้ำ) โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ฝึกปฏิบัติการทำ CPR คนจมน้ำ ฝึกปฏิบัติการลอยตัว โดยใช้อุปกรณ์ และไม่ใช้อุปกรณ์ ฝึกปฏิบัติตะโกน โยน ยื่น ฝึกปฏิบัติการเข้าช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมกว่า 70 ท่าน

โครงการ iRESCUE เป็นโครงการที่โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา จัดขึ้นเพื่อให้ผู้อบรมมีความสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียต่อชีวิต เป็นส่วนช่วยเติมเต็มความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน ช่วยสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยว และเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ชุมชนเมืองพัทยา