Skip to content

ตะลึง! ทุก 6 วินาที มีคนตายเพราะโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

ตะลึง! ทุก 6 วินาที ทั่วโลกจะมีคนตายเพราะโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน คาด ปี 2015 ยอดตายจะพุ่งเป็น 6.5 ล้านต่อปี ส่วนในไทยขึ้นแท่นสาเหตุการตายอันดับ 1 แนะสังเกตอาการแขน ขา และหน้าอ่อนแรงทันทีแบบซีกเดียว สับสน พูดไม่รู้เรื่อง มองเห็นลดลง มึนงง และสูญเสียสมดุลการเดิน ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

9 ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง พบได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ทางระบบประสาทซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่อาจเป็นได้ทั้งหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากการที่มีไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด หรือมีการอุดตันของหลอดเลือดสมองจากการที่มีลิ่มเลือดลอยไปอุดตันหลอดเลือดที่มีความเปราะบางกว่าปกติ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนถูกทำลายไป ส่วนมากผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของระบบประสาทเกิดขึ้นทันทีทันใดเมื่อมีการอุดตันหรือมีการแตกของหลอดเลือดสมอง เราจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้

1. ความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่าย พบว่ากว่า 35 – 73 % ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีภาวะคามดันโลหิตสูงร่วมด้วย

2. เบาหวาน

เป็นปัจจัยสำคัญ รองมาจากภาวะความดันโลหิสูง

3. ความอ้วน

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง หรืออาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง

4. ไขมันในเลือดสูง

ทำให้ผนังเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตันง่าย เลือดจึงไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อย ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองขาดเลือดและเป็นอัมพาตในที่สุด

5. การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา

การดื่มสุราจะทำให้หลอดเลือดเปราะ หรือเลือดออกง่าย เช่นเดียวกับผู้ที่สูบบุหรี่จะพบว่ามีอัตราการเกิดโรคลหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

6. ภาวะเลือดข้นกว่าปกติ

ซึ่งอาจเกิดจากมีเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือดมากผิดปกติในบางรายอาจเกิดจากความผิดปกติ ของโปรตีน ที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือด

7. โรคหัวใจ

เช่น โรคหัวใจวาย โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ

8. ยาต่างๆ

เช่น สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับเป็นความดันโลหิตสูง

9. อายุที่มากขึ้น

จะมีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด

เมื่อเราได้ทราบถึงอันตรายของโรคหลอดเลือดแล้ว จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเราหรือคนใกล้ชิด ถ้าไม่อยากเสียชีวิตหรือเป็นผู้พิการไปตลอดชีวิตโปรดใส่ใจสุขภาพสักนิดเพื่อชีวิตที่ยืนยง

ศูนย์สมองและระบบประสาท  ให้บริการด้านการรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาทอย่างครบวงจร ด้วยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญโรคทางสมองและระบบประสาทโดยเฉพาะ ครบครันด้วยอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ส่งผลให้การวินิจฉัยอาการโรคมีความถูกต้องแม่นยำ สามารถวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์  ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำยิ่งกว่าด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย และพบแพทย์ทันที แพทย์อาจให้การวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ่ในกรณีที่อาการของโรคมีความรุนแรงและซับซ้อน ยากต่อการวินิจฉัย แพทย์จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทยที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เพื่อให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำมากที่สุด

เทคโนโลยีช่วยวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาท มีพัฒนาการที่ล้ำหน้า ละเอียดซับซ้อนและให้ผลการรายงานที่เป็นประโยชน์อย่างสูง ต่อการวินิจฉัยของแพทย์ ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพพัทยา ได้จัดเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือทันสมัยจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างถูกต้องแม่นยำ

ศูนย์สมองและระบบประสาท สนองตอบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และการวินิจฉัยที่แม่นยำ ด้วยการจัดแบ่งเครื่องมือการตรวจ และรักษาตามประเภทอาการได้ 4 ประเภท คือ 

  1. การตรวจวินิจฉัยทางรังสี
  2. ตรวจวินิจฉัยอาการผิดปกติภายในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมอง เนื้องอกในสมอง และอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  3. การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (Computerized Tomography : CT Scan) สามารถใช้ตรวจความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ  เนื้อสมอง เลือดที่ออกในสมอง รวมไปถึงเนื้องอก เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค เช่น โรคหลอดเลือดแตกในสมอง ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ เนื้องอกในสมอง ซึ่งสามารถช่วยให้แพทย์ให้การวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว
  4. การตรวจสมองด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging : MRI Brain) เป็นการตรวจโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการสร้างภาพ สามารถจำแนกเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบ สามารถตรวจความผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้ ใช้ในการวินิจฉัยโรคได้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดตีบในสมองขนาดเล็กๆ ได้ ส่วนการตรวจหลอดเลือดในสมองด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Angiography : MRA) เป็นการตรวจโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กช่วยในการสร้างภาพ เพื่อศึกษาความผิดปกติของหลอดเลือดโดยเฉพาะสามารถบ่งบอกถึงสภาพการตีบตันของหลอดเลือดที่คอและหลอดเลือดในสมองโรค เช่น โรคเส้นเลือดโป่งพองในสมอง
Stroke Pathway ระบบทางด่วนสำหรับช่วยชีวิตผู้มีอาการผิดปกติทางหลอดเลือดสมอง ให้ได้รับ การรักษาอย่างเร็วที่สุด โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงสุด ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง