ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  >  ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย คือภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือมีระดับฮอรโมนเทสโทสเตอโรนลดลงอย่างผิดปกติ มักพบได้ในเพศชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

ลักษณะอาการของภาวะพร่องฮอร์โมน เช่น สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง ความต้องการทางเพศลดลง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร หรือขาดสมาธิในการทำงาน

หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายโดยเฉพาะ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย มี 2 วิธีหลักๆ คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

การบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ เช่น ได้รับการบาดเจ็บ การทำหมัน หรือผลข้างเคียงจากการฉายรังสี หรือทำเคมีบำบัดการติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ

ความผิดปกติทางด้านฮอร์โมน เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพศ

โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น โรคเอดส์ โรคตับ-ไตเรื้อรัง มีระดับไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคอ้วน

มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ทำงานหนัก มีความเครียดสูง พักผ่อนไม่เพียงพอ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย?

  • ผู้ที่ชอบรับประทานของทอด ของมัน หรือของหวาน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด
  • ผู้ที่มีความเครียดมาก ไม่สามารถจัดการความเครียดได้
  • ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

ภาวะพร่องฮอร์โมน มีลักษณะอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง และอาการที่เกิดขึ้นก็มีส่วนคล้ายกับโรค หรือความผิดปกตอื่นๆ ด้วย โดยอาการที่พบได้ในภาวะพร่องฮอร์โมน มีดังนี้

  • สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า
  • ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร
  • ขาดสมาธิในการทำงาน
  • รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อ้วนลงพุง หรือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
  • อวัยวะเพศชายยากที่จะแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน หรือที่เรียกว่า “นกเขาไม่ขัน”
  • อัณฑะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
  • มีปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
  • นอนไม่หลับ
  • เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • มีมวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูกลดลง
  • มีระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ : 

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : คุณอาจไม่รู้ว่าคุณเป็น”นิ่ว” (การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก)

คนไข้มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน หาหมอที่อื่นแล้วก็ไม่หาย จนต้องเปลี่ยนมารักษาที่รพ.กรุงเทพพัทยา และแพทย์เฉพาะทางของเรา..ตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของ “นิ่ว”

Testimonial : Prostate Cancer (SubThai)

Mr.Hans ใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมานาน และตรวจสุขภาพประจำปีที่รพ.กรุงเทพพัทยาเป็นประจำ เมื่อพบว่าตนเป็น “มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น”

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. จิมมี่ คงเจริญ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. จิระพงศ์ สงวนเจริญพงศ์
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ชวน พฤกษวิวัฒน์
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. นิธิ นาวานิมิตกุล
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. พรชัย ชยาบูรณ์ ปัญญาศุภคุณ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. อนุเทพ บูรมิ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
พญ. ประพรพิม อุตมโชติ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา