ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย คือภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือมีระดับฮอรโมนเทสโทสเตอโรนลดลงอย่างผิดปกติ มักพบได้ในเพศชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ลักษณะอาการของภาวะพร่องฮอร์โมน เช่น สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง ความต้องการทางเพศลดลง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร หรือขาดสมาธิในการทำงาน
หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายโดยเฉพาะ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย มี 2 วิธีหลักๆ คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
การบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ เช่น ได้รับการบาดเจ็บ การทำหมัน หรือผลข้างเคียงจากการฉายรังสี หรือทำเคมีบำบัดการติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ
ความผิดปกติทางด้านฮอร์โมน เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพศ
โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น โรคเอดส์ โรคตับ-ไตเรื้อรัง มีระดับไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคอ้วน
มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ทำงานหนัก มีความเครียดสูง พักผ่อนไม่เพียงพอ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย?
- ผู้ที่ชอบรับประทานของทอด ของมัน หรือของหวาน
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
- ผู้ที่สูบบุหรี่จัด
- ผู้ที่มีความเครียดมาก ไม่สามารถจัดการความเครียดได้
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
ภาวะพร่องฮอร์โมน มีลักษณะอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง และอาการที่เกิดขึ้นก็มีส่วนคล้ายกับโรค หรือความผิดปกตอื่นๆ ด้วย โดยอาการที่พบได้ในภาวะพร่องฮอร์โมน มีดังนี้
- สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
- ความต้องการทางเพศลดลง
- ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน
- อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า
- ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร
- ขาดสมาธิในการทำงาน
- รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อ้วนลงพุง หรือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
- อวัยวะเพศชายยากที่จะแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน หรือที่เรียกว่า “นกเขาไม่ขัน”
- อัณฑะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
- มีปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
- นอนไม่หลับ
- เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
- มีมวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูกลดลง
- มีระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การรักษาและเทคโนโลยี
แชร์ :
บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
ความประทับใจจากผู้ป่วย
Testimonial : คุณอาจไม่รู้ว่าคุณเป็น”นิ่ว” (การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก)
คนไข้มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน หาหมอที่อื่นแล้วก็ไม่หาย จนต้องเปลี่ยนมารักษาที่รพ.กรุงเทพพัทยา และแพทย์เฉพาะทางของเรา..ตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของ “นิ่ว”
Testimonial : Prostate Cancer (SubThai)
Mr.Hans ใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมานาน และตรวจสุขภาพประจำปีที่รพ.กรุงเทพพัทยาเป็นประจำ เมื่อพบว่าตนเป็น “มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น”