โรคจิตเภท

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  > โรคจิตเภท

โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของบุคลิกภาพ มีความผิดปกติด้านการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นแบบจำเพาะและอารมณ์เป็นแบบไม่เหมาะสม หรือ Blunted สติสัมปชัญญะและเชาวน์ปัญญามักดีอยู่ แม้ว่าจะมีการสูญเสียการรับรู้

  1. ความคิดหลงผิด (Delusion) ที่พบบ่อย เช่น คิดว่ามีคนปองร้าย คิดว่าตนเองถูกควบคุมจากอำนาจภายนอก คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ มีอำนาจ หรือความสามารถพิเศษ

  2. การรับรู้ อาการประสาทหลอนทางด้านต่าง ๆ ที่พบบ่อย คือ หูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดว่า หรือให้ทำตาม หรือไม่มีความหมาย

  3. การสื่อสาร พูดสับสน ไม่ปะติดปะต่อ เปลี่ยนเรื่องพูดเร็ว ไม่เชื่อมโยง หรือบางรายพูดน้อย ไม่ค่อยตอบคำถาม

  4. พฤติกรรมผิดจากเดิมเคยเป็น เช่น  สกปรก แปลก วุ่นวาย ตะโกน โดยไม่มีอะไรกระตุ้น พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย บางรายขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เก็บตัว นั่งเฉย ๆ นาน ๆ ไม่สนุกสนาน

  5. อารมณ์ แสดงอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่สบตา

  1. พบจิตแพทย์เพื่อเข้ากระบวนการบำบัดโดยใช้ยาและการบำบัดตามความเหมาะสม อาจนอนโรงพยาบาลหรือไม่แล้วแต่อาการผู้ป่วย

  2. บำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะเปลี่ยนแปลงการรักษา

  3. ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ : 

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. ธีรเจต ลีลาพากเพียร
ศูนย์สุขภาพจิต
จิตเวชศาสตร์
นพ. สมชาย มาลสุขุม
ศูนย์สุขภาพจิต
จิตเวชศาสตร์
นพ. อานุภาพ ปภาพันธุ์
ศูนย์สุขภาพจิต
จิตเวชศาสตร์
พญ. กษิรมาต มูลคำ
ศูนย์สุขภาพจิต
จิตเวชศาสตร์
พญ. วรงค์ สิทธิศรัณย์กุล
ศูนย์สุขภาพจิต
จิตเวชศาสตร์
พญ. เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์
ศูนย์สุขภาพจิต
จิตเวชศาสตร์