ต่อมลูกหมากโต

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  > ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่อยู่ รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณโคนอวัยวะเพศของผู้ชาย หน้าต่อท่อทวารหนักไม่สามารถตรวจพบได้ภายนอก จำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจผ่านทางทวารหนัก บางคนเข้าใจผิดระหว่างลูกอัณฑะซึ่งสามารถตรวจได้จากภายนอก ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิ สารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิถูกสร้างจากต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ฉะนั้นโรคของต่อมลูกหมากจึงเกิดได้ในเฉพาะผู้ชาย ในผู้ชายที่โตเต็มที่จะประมาณเท่ากับลูกเกาลัด เมื่ออายุมากขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอก(ชนิดธรรมดา ไม่ใช่เนื้องอกมะเร็ง) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้โตขึ้นเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย และฮอร์โมนเพศชาย โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ

โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากขึ้น ประกอบกับมีการกระตุ้นจากระบบประสาทมากขึ้นบริเวณหูรูดกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก ขนาดต่อมที่โตขึ้นจะไปกดเบียดทางเดินปัสสาวะ ส่วนการกระตุ้นจากระบบประสาทจะทำให้บริเวณหูรูด และทางออกของปัสสาวะมีการหดเกร็งมากขึ้นกว่าปกติ โดยกลไกการกระตุ้นจากระบบประสาทมีผลทำให้เกิดอาการต่างๆ มากกว่าขนาดต่อมลูกหมากที่โตขึ้น ซึ่งเราจะพบได้มากในคนไข้ชายสูงอายุ ส่วนมากอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติในผู้ชาย และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ และฮอร์โมนเพศชาย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี

 โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติในผู้ชาย และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ และฮอร์โมนเพศชาย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี

โรคต่อมลูกหมากโตพบได้ในเพศชายอายุตั้งแต่ 40 ปี และจะยิ่งพบมากขึ้นตามอายุ ประมาณว่าเมื่อถึงอายุ 80 ปี ร้อยละ 80 จะเป็นโรคต่อมลูกหมากโต โดยทั่วไปถึงแม้ว่าต่อมลูกหมากจะโตขึ้น จะพบว่าร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะมีอาการของโรคนี้ เนื่องจากเนื้อต่อมซึ่งอยู่ด้านในสุดล้อมรอบท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นส่วนที่โตขึ้นนี้ จะบีบท่อปัสสาวะทำให้แคบลง และทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด รวมทั้งอาการอื่น ๆ ของโรคนี้ด้วย ปกติโรคต่อมลูกหมากโต จะไม่รบกวนกับปัญหาทางเพศ อย่างไรก็ตามอาการทางปัสสาวะที่รุนแรง อาจทำให้ดูคล้ายกับว่า สมรรถภาพทางเพศเสื่อมเสียไป อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ โรคต่อมลูกหมากโตไม่ใช่มะเร็ง และไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่ทั้งสองโรค อาจพบร่วมกันได้ในบางคน ทั้งนี้ เนื่องจากว่าตำแหน่งที่เกิดโรคทั้งสองนี้ ไม่เหมือนกันนั่นเอง

อาการที่เกิดจากการอุดกั้นของการขับถ่ายปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะลำเล็กลง      ปัสสาวะไม่พุ่ง ต้องรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้ หลังจากปัสสาวะสุดแล้วยังมีปัสสาวะหยดตามมาอีก มีความรู้สึกว่าปัสสาวะยังไม่หมดทั้งๆ ที่ปัสสาวะหยุดไหลแล้ว รวมทั้งบางครั้งอาจจะถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกถึงแม้จะปวดปัสสาวะมากก็ตาม นอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการระคายเคืองที่เป็นผลต่อเนื่องจากการตอบสนองของกระเพาะปัสสาวะจากต่อมลูกหมากที่โตขึ้น ซึ่งได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน และกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ ผู้ป่วยบางคนอาจมีปัสสาวะเป็นเลือดได้ นอกจากนั้นอาจพบอาการจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย ได้แก่ ปัสสาวะขุ่น มีตะกอน กลิ่นแรงขึ้น มีไข้ หนาวสั่น ถ้าการอุดกั้นของปัสสาวะนานๆ บางครั้งอาจทำให้มีภาวะไตวายเรื้อรังด้วย แต่พบได้ไม่บ่อยนัก

  1. ลุกขึ้นมาถ่ายปัสสาวะกลางดึกมากกว่า 2 ครั้ง
  2. ต้องไปถ่ายปัสสาวะบ่อย ๆ กลั้นไว้ได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  3. เมื่อเริ่มปวดปัสสาวะแล้วกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
  4. เมื่อเริ่มจะถ่ายปัสสาวะ ต้องเบ่งหรือรอนานก่อนจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
  5. สายปัสสาวะไม่พุ่งไหลช้าเป็นลำเล็ก
  6. สายปัสสาวะขาดตอนเป็นช่วง ๆ ไหล ๆ หยุด ๆ
  7. รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุดดี ปัสสาวะเสร็จแล้วยังอยากไปอีก

 ไตวาย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

1. การซักประวัติแพทย์จะซักถามอาการ ระยะเวลาที่เริ่มเป็นมา บางครั้งใช้แบบสอบถามให้คะแนนอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ

2. แพทย์จะตรวจสอบต่อมลูกหมาก โดยสวมถุงมือใช้ยาหล่อลื่นคลำต่อมลูกหมาก เพื่อพิจารณาขนาด และลักษณะผิวนอก เพื่อแยกโรคมะเร็งต่อมลูกหมากออกจากโรคต่อมลูกหมากโต

3. การตรวจสอบสายปัสสาวะว่าขัดมากน้อยแค่ไหน และดูปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้าง

4. ตรวจเอนไซม์ในเลือดชื่อ พี.เอส.เอ (PSA : Prostate Specific Antigen)

5. ตรวจสอบด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ สามารถวัดขนาดของต่อมลูกหมาก และตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มเล็ก ๆ เพื่อหาสาเหตุเมื่อค่า พี.เอส.เอ. สูงมากเกินไป

6. ตรวจสอบภายในด้วยกล้องส่องกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีความจำเป็น

หมายเหตุ : การวินิจฉัยข้อ 1-3 เป็นวิธีการขั้นต้นที่มีความจำเป็นก่อนที่จะพิจารณาการตรวจอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ : 

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : คุณอาจไม่รู้ว่าคุณเป็น”นิ่ว” (การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก)

คนไข้มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน หาหมอที่อื่นแล้วก็ไม่หาย จนต้องเปลี่ยนมารักษาที่รพ.กรุงเทพพัทยา และแพทย์เฉพาะทางของเรา..ตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของ “นิ่ว”

Testimonial : Prostate Cancer (SubThai)

Mr.Hans ใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมานาน และตรวจสุขภาพประจำปีที่รพ.กรุงเทพพัทยาเป็นประจำ เมื่อพบว่าตนเป็น “มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น”

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. จิมมี่ คงเจริญ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. จิระพงศ์ สงวนเจริญพงศ์
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ชวน พฤกษวิวัฒน์
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. นิธิ นาวานิมิตกุล
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. พรชัย ชยาบูรณ์ ปัญญาศุภคุณ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. อนุเทพ บูรมิ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
พญ. ประพรพิม อุตมโชติ
ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา