ต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่อยู่ รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณโคนอวัยวะเพศของผู้ชาย หน้าต่อท่อทวารหนักไม่สามารถตรวจพบได้ภายนอก จำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจผ่านทางทวารหนัก บางคนเข้าใจผิดระหว่างลูกอัณฑะซึ่งสามารถตรวจได้จากภายนอก ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิ สารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิถูกสร้างจากต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ฉะนั้นโรคของต่อมลูกหมากจึงเกิดได้ในเฉพาะผู้ชาย ในผู้ชายที่โตเต็มที่จะประมาณเท่ากับลูกเกาลัด เมื่ออายุมากขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอก(ชนิดธรรมดา ไม่ใช่เนื้องอกมะเร็ง) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้โตขึ้นเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย และฮอร์โมนเพศชาย โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ
โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากขึ้น ประกอบกับมีการกระตุ้นจากระบบประสาทมากขึ้นบริเวณหูรูดกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก ขนาดต่อมที่โตขึ้นจะไปกดเบียดทางเดินปัสสาวะ ส่วนการกระตุ้นจากระบบประสาทจะทำให้บริเวณหูรูด และทางออกของปัสสาวะมีการหดเกร็งมากขึ้นกว่าปกติ โดยกลไกการกระตุ้นจากระบบประสาทมีผลทำให้เกิดอาการต่างๆ มากกว่าขนาดต่อมลูกหมากที่โตขึ้น ซึ่งเราจะพบได้มากในคนไข้ชายสูงอายุ ส่วนมากอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติในผู้ชาย และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ และฮอร์โมนเพศชาย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี
โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติในผู้ชาย และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ และฮอร์โมนเพศชาย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี
โรคต่อมลูกหมากโตพบได้ในเพศชายอายุตั้งแต่ 40 ปี และจะยิ่งพบมากขึ้นตามอายุ ประมาณว่าเมื่อถึงอายุ 80 ปี ร้อยละ 80 จะเป็นโรคต่อมลูกหมากโต โดยทั่วไปถึงแม้ว่าต่อมลูกหมากจะโตขึ้น จะพบว่าร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะมีอาการของโรคนี้ เนื่องจากเนื้อต่อมซึ่งอยู่ด้านในสุดล้อมรอบท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นส่วนที่โตขึ้นนี้ จะบีบท่อปัสสาวะทำให้แคบลง และทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด รวมทั้งอาการอื่น ๆ ของโรคนี้ด้วย ปกติโรคต่อมลูกหมากโต จะไม่รบกวนกับปัญหาทางเพศ อย่างไรก็ตามอาการทางปัสสาวะที่รุนแรง อาจทำให้ดูคล้ายกับว่า สมรรถภาพทางเพศเสื่อมเสียไป อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ โรคต่อมลูกหมากโตไม่ใช่มะเร็ง และไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่ทั้งสองโรค อาจพบร่วมกันได้ในบางคน ทั้งนี้ เนื่องจากว่าตำแหน่งที่เกิดโรคทั้งสองนี้ ไม่เหมือนกันนั่นเอง
อาการที่เกิดจากการอุดกั้นของการขับถ่ายปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะลำเล็กลง ปัสสาวะไม่พุ่ง ต้องรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้ หลังจากปัสสาวะสุดแล้วยังมีปัสสาวะหยดตามมาอีก มีความรู้สึกว่าปัสสาวะยังไม่หมดทั้งๆ ที่ปัสสาวะหยุดไหลแล้ว รวมทั้งบางครั้งอาจจะถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกถึงแม้จะปวดปัสสาวะมากก็ตาม นอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการระคายเคืองที่เป็นผลต่อเนื่องจากการตอบสนองของกระเพาะปัสสาวะจากต่อมลูกหมากที่โตขึ้น ซึ่งได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน และกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ ผู้ป่วยบางคนอาจมีปัสสาวะเป็นเลือดได้ นอกจากนั้นอาจพบอาการจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย ได้แก่ ปัสสาวะขุ่น มีตะกอน กลิ่นแรงขึ้น มีไข้ หนาวสั่น ถ้าการอุดกั้นของปัสสาวะนานๆ บางครั้งอาจทำให้มีภาวะไตวายเรื้อรังด้วย แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
- ลุกขึ้นมาถ่ายปัสสาวะกลางดึกมากกว่า 2 ครั้ง
- ต้องไปถ่ายปัสสาวะบ่อย ๆ กลั้นไว้ได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
- เมื่อเริ่มปวดปัสสาวะแล้วกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
- เมื่อเริ่มจะถ่ายปัสสาวะ ต้องเบ่งหรือรอนานก่อนจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
- สายปัสสาวะไม่พุ่งไหลช้าเป็นลำเล็ก
- สายปัสสาวะขาดตอนเป็นช่วง ๆ ไหล ๆ หยุด ๆ
- รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุดดี ปัสสาวะเสร็จแล้วยังอยากไปอีก
ไตวาย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
1. การซักประวัติแพทย์จะซักถามอาการ ระยะเวลาที่เริ่มเป็นมา บางครั้งใช้แบบสอบถามให้คะแนนอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
2. แพทย์จะตรวจสอบต่อมลูกหมาก โดยสวมถุงมือใช้ยาหล่อลื่นคลำต่อมลูกหมาก เพื่อพิจารณาขนาด และลักษณะผิวนอก เพื่อแยกโรคมะเร็งต่อมลูกหมากออกจากโรคต่อมลูกหมากโต
3. การตรวจสอบสายปัสสาวะว่าขัดมากน้อยแค่ไหน และดูปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้าง
4. ตรวจเอนไซม์ในเลือดชื่อ พี.เอส.เอ (PSA : Prostate Specific Antigen)
5. ตรวจสอบด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ สามารถวัดขนาดของต่อมลูกหมาก และตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มเล็ก ๆ เพื่อหาสาเหตุเมื่อค่า พี.เอส.เอ. สูงมากเกินไป
6. ตรวจสอบภายในด้วยกล้องส่องกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีความจำเป็น
หมายเหตุ : การวินิจฉัยข้อ 1-3 เป็นวิธีการขั้นต้นที่มีความจำเป็นก่อนที่จะพิจารณาการตรวจอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
การรักษาและเทคโนโลยี
แชร์ :
บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
ความประทับใจจากผู้ป่วย
Testimonial : คุณอาจไม่รู้ว่าคุณเป็น”นิ่ว” (การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก)
คนไข้มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน หาหมอที่อื่นแล้วก็ไม่หาย จนต้องเปลี่ยนมารักษาที่รพ.กรุงเทพพัทยา และแพทย์เฉพาะทางของเรา..ตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของ “นิ่ว”
Testimonial : Prostate Cancer (SubThai)
Mr.Hans ใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมานาน และตรวจสุขภาพประจำปีที่รพ.กรุงเทพพัทยาเป็นประจำ เมื่อพบว่าตนเป็น “มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น”