การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู)

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  > การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู)

การรักษา

  • การตรวจวิเคราะห์กำลังกล้ามเนื้อและการนำกระแสประสาทด้วยเครื่อง Electro myelogram และ Nerve conduction velocity  (EMG, NCV)
  • Dry Needling and Trigger point injection การรักษาโดยการฉีดยาและการลงเข็มเฉพาะที่ ลดอาการปวด การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ให้ผลการรักษาที่ดีในกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม กล้ามเนื้อเป็นพังผืด ภาวะปวดศีรษะต่าง ๆ เป็นต้น
  • แผ่นรองและรองเท้าเพื่อการแก้ไขปัญหาเท้าเฉพาะบุคคล
  • การบำบัดด้วยการดึงยึดกระดูกสันหลังส่วนคอและเอว (Traction Therapy)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • การรักษาโดยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound Therapy) เพื่อลดอาการปวด การอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยความร้อนแบบตื้น (Superficial Heat) ได้แก่ แผ่นประคบร้อน, ขี้ผึ้งพาราฟฟิน เป็นต้น
  • การรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้าลดปวด (Interferential Current, TENS)
  • เครื่องดึงคอ (Cervical traction) เครื่องดึงหลัง (Pelvic traction)
  • การรักษาอาการปวดด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High power laser)
  • การบำบัดรักษาด้วยเครื่องTMS / PMS
  • การบำบัดรักษาด้วยเครื่องCPM (Continuous Passive Motion) เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวของข้อต่อแบบต่อเนื่อง
  • การรักษาด้วยเครื่องคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy)
  • การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation)
  • การรักษาด้วยไอเย็น (Cryo Therapy)
  • การรักษาด้วยคลื่นสั้นความร้อนลึกจากไฟฟ้า Short wave Therapy
  • การรักษาด้วยการดัด และดึง (Mobilization and Manipulation)
  • การออกกำลังกายเพื่อการรักษาและฟื้นฟูในกลุ่มผู้ป่วยโรคต่างๆอาทิเช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อไหล่ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด การบาดเจ็บเฉียบพลันจากกีฬา 
  • การฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ผู้ป่วยปอดอักเสบ ผู้ป่วยปวดบวม ผู้ป่วยหลอดลม ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง  ผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดโรคทางระบบทรว อก ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ มีเสมหะคั่งค้างในปอดได้รับการรักษาโดยการเคาะปอด ดูด เสมหะ การฝึกหายใจที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด 
  • Manual Therapy การรักษาด้วยเทคนิคทางกายภาพบำบัด การปรับท่าทางการใช้งานกล้ามเนื้อเพื่อลดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกาย ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • ฝึกเดินใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
  • ให้บริการด้านอุปกรณ์กายภาพบำบัดต่างๆ และให้คำแนะนำการใช้ เช่น ไม้ค้ำยัน อุปกรณ์พยุงหลัง ฯลฯ
  •  
  • ฝึกทักษะการใช้มือหยิบจับในรูปแบบต่างๆ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้มือ กระตุ้นและฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและมือ (Hand function training program) ส่งเสริมความสามารถของกล้ามเนื้อมือมัดเล็กที่ทำงานบกพร่องไปจากภาวะโรค ให้กลับมาทำงานได้ ฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว สหสัมพันธ์และเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย 
  • โปรแกรมการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ให้กิจกรรมกระตุ้นการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Developmental screening test and training program) มีโปรแกรมประเมินพัฒนาการ วางแผนออกแบบเพื่อกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัยในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติ เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กที่มีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายและสมอง, Autistic spectrum disorder (ASD), Down’s syndrome  รวมถึงให้การประเมินและฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการไปโรงเรียนของเด็ก เช่น ทักษะการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ประเมินและแนะนำท่าทางในการจับดินสอ ปากกาที่เหมาะสม เป็นต้น
  • ประเมินและบำบัดภาวะการกลืนลำบาก (Swallowing screening test and training program) ในผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบาก เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดทางสมอง, CA head and neck, ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม, ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการดูด-กลืน
  • การตรวจประเมินและบำบัดในผู้ที่มีความบกพร่องในการรับรู้ ความจำ สมาธิ ความคิดและการตัดสินใจแก้ปัญหา (Perceptual-cognitive test and training program) โดยให้การประเมินด้วยแบบประเมินที่มีมาตรฐาน และให้การบำบัดรักษาผ่านทางการจัดกิจกรรมที่ถูกพัฒนาและออกแบบให้มีความเฉพาะเจาะจงกับปัญหาของแต่ละบุคคล อาทิเช่น กิจกรรมฝึกฝนฟื้นฟูความจำ ความคิดและการตัดสินใจ
  • การฝึกฝนทักษะในการทำกิจวัตรประจำวัน  (Activities for Daily Living training) โดยพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตลอดทุกช่วงวัย  ประเมินและให้คำแนะนำในการดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย รวมถึง แนะนำข้อห้าม ข้อควรระวัง และเทคนิคในการทำกิจวัตรประจำวัน
  • ออกแบบและจัดทำอุปกรณ์ช่วยพยุงเพื่อส่งเสริมการใช้งานของแขนขา (Splint) เพื่อนำมาใช้ประคับประคองให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่เกิดการบาดเจ็บได้พัก ใช้เพื่อการจัดท่า ส่งเสริมการทำงานของมือ ดัดแปลงอุปกรณ์หรือจัดทำอุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น ช้อน-ส้อม แปรงฟันเสริมด้าม                                                                                                          

 

เทคโนโลยี

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. ณัฏฐ์ชัย จิตต์ธรรมวาณิช
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
นพ. ธนัช จงเกรียงไกร
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
นพ. ศุทธพร รัตนภานพ
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
เวชศาสตร์ครอบครัว
นพ. สยาม หาญพิพัฒน์
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
พญ. จิราภรณ์ ตั้งกฤษณขจร
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
พญ. ณัฐศุลี ศีลพิพัฒน์
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
พญ. วิภาวดี ลิ้มภักดี
เวชศาสตร์ฟื้นฟู

แพ็กเกจและโปรโมชั่น