Skip to content

ปวดหลังเรื้อรังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

หลายคนยังคงต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดเรื้อรังของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทซึ่งสามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทเกิดจากเยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูกสันหลังหย่อน แตกหรือฉีก ทำให้ไส้หมอนรองกระดูกสันหลังที่อยู่ภายในเคลื่อนตัวถอยไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดขา ชาเท้าได้ในที่สุด

อาการปวดหลังเรื้อหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • ปวดหลังร้าวลงขา
  • มีอาการชา ตั้งแต่เอวร้าวลงขาหรือหลังเท้า
  • กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
  • อุจจาระผิดปกติ

ปวดหลัง

สาเหตุหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ ทำให้บาดเจ็บที่หมอนรองกระดูก ซึ่งอาจพบได้ในกิจวัตรประจำวันที่มีการเคลื่อนไหวผิดท่าทาง เช่น ยกของหนักหรือยกของในลักษณะผิดท่า , การออกกำลังกายผิดท่าหรือรุนแรง
  2. การเสื่อมของหมอนรองกระดูกตามอายุ หรือการปฏิบัติตัว และการใช้งานกระดูกสันหลังหนักมากเกินไปทำให้กระดูกสันหลังทรุดลง จนกดทับเส้นประสาท

ทางเลือกในการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง มีดังนี้

  • รับประทานยาระงับปวด เพื่อลดการอักเสบ
  • การทำกายภาพ
  • การฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท (Selective nerve root block)

2. การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด

  • การทำให้หมอนรองกระดูกหดตัวลงโดยไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัด (Nucleoplasty) เป็นการรักษาโดยใช้ขดลวดนำความร้อน หรือนำคลื่นเสียงเข้าไปในหมอนรองกระดูกทำให้หมอนรองกระดูกฝ่อและหดตัวลง วิธีนี้ไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัดแต่ใช้ขดลวดสอดผ่านรูเข็มขนาดใหญ่ จึงมีแผลเท่ากับรูเข็มนั้น สามารถทำโดยฉีดยาชาได้ ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการผ่าตัดจริง
  • การทำผ่าตัดโดยเปิดแผลเล็กเป็นการผ่าตัดโดยใช้เครื่อง X-ray C-Arm Fluoroscope ช่วยหาตำแหน่งของพยาธิสภาพทำให้สามารถผ่าตัดได้ โดยเปิดแผลเล็กเพียง 3-5 เซนติเมตร และมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ในบางรายอาจใช้กล้อง Microscope ช่วยทำให้เห็นเส้นประสาทชัดเจนขึ้น และอาจลดขนาดของบาดแผลได้อีก
  • การผ่าตัดแบบ Full Endoscopic Spinal Surgery:การผ่าตัดโดยกล้อง Endoscopic (Full Endoscopic Lumbar Discectomy ) เป็นการพัฒนาการผ่าตัดโดยเจาะและสอดกล้อง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตรและมีเลนส์ติดอยู่ส่วนปลายผ่านใยกล้ามเนื้อไปยังหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาท และใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปตัดหมอนรองกระดูกโดยตรง ไม่ต้องเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกสันหลังเป็นแนว และไม่ต้องตัดกระดูกสันหลัง

 

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง