Skip to content

โรคเมอร์ส (MERS-CoV)

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรนา (MERS Corona Virus :MERS CoV) ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาที่จำเพาะ ให้การรักษาตามอาการแบบประคับประคอง

*ระยะฟักตัว ประมาณ  2-14 วัน

การแพร่ระบาด

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก WHO  สถานณ์ของโรคเมอร์ส (MERS CoV) ทั่วโลกปัจจุบัน ยังคงมีการระบาด อยู่ต่อเนื่อง ส่วนใหญ่พบในประเทศแถบตะวันออกกลาง( กาตาร์, โอมาน, จอร์แดน ,คูเวต, เยเมน, อิหร่านเลบานอน, บาห์เรน, ซาอุดิอาราเบีย, อียิปต์, สหรัฐอาหรับอิมิเรท, อิรัก, อิสราเอลง, ตุรกี ,ซีเรีย)  และพบการ ระบาดเพิ่มมากในปัจจุบัน   รวม  27 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ปัจจุบัน  มกราคม 2559  พบผู้ป่วยยืนยัน โรคเมอร์ส  2 ราย  จากผู้ป่วยที่เดินทาง เข้าออกประเทศ มายังประเทศไทย

อาการของโรค

ผู้ป่วย ที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าโดยทั่วไปจะพบประวัติ   มีไข้ หรือ ไข้มากกกว่า 38 องศาเซลเซียส  ร่วมกับ  ไอ  เจ็บคอ  มีน้ำมูก

  • การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ค่อนข้างรุนแรงและเฉียบพลัน หายใจหอบเหนื่อย ภาวะหายใจล้มเหลว พบมีภาวะปอดอักเสบ
  • มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง/คลื่นไส้อาเจียน
  • ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หรือปอดเรื้อรัง หัวใจ โรตไต และ บุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มบกพร่อง เสี่ยงต่อ การได้รับ เชื้อ MERS CoV หรือมีอาการของโรค ที่รุนแรง แตกต่างออกไป
ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยที่มี อาการ ไข้ สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ภาย ใน 14 วัน หลังเดินทาง พักอาศัย หรือ ใกล้ชิด ดูแลผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในประเทศ ที่มีการแพร่ระบาด ของ MERS_CoV
  • ผู้ป่วยที่มี อาการ ไข้ แต่ไม่ถึง 38 องศาเซลเซียส มีประวัติเข้ารับบริการในโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยง มีประวัติสัมผัสอูฐ หรือดื่มนมอูฐ ในช่วง 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย
 การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการ ไอ จาม หรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เฉียบพลัน
  • ควรล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย
  • หลีกเลี่ยง การเข้าไปในพื้นที่ แออัด หรือที่ สาธารณะที่มีคนอยู่จำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
  • แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม
  • ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
คำแนะนำเพิ่มเติมจาก WHO
  • แนะนำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอูฐ งด ดื่มนม หรือปัสสาวะ อูฐ ดิบ
  • งดการรับประทาน เนื้อสัตว์ อูฐ (ถึงแม้จะ ปรุงสุก)

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง