Skip to content

รอบรู้เรื่อง “หู” ของเจ้าตัวน้อย

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

การได้ยินเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดและพัฒนาการ ทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 ขวบปีแรกของชีวิต พบว่าในทารกแรกเกิด 1,000 คน จะมีทารกแรกเกิดที่การได้ยินบกพร่อง ประมาณ 2-4 คนและพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 10-20 เท่า ในทารกกลุ่มเสี่ยง (High Risk Group) เช่น มารดาตั้งครรภ์ผิดปกติ ติดเซื้อระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ไวรัส หัดเยอรมัน หรือคลอดผิดปกติ คลอดล่าช้า คลอดก่อนกำหนด เด็กมีอาการเหลือง หรือต้องเข้าตู้อบ เป็นต้น

การตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิด ปัจจุบันเราสามารตรวจได้ตั้งแต่ 1-2 วันแรก ซึ่งไม่มีอันตรายและไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด การตรวจคัดกรอง (Screening) ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Oto-Acoustic Emissions (OAE) ซึ่งจะวัดการตอบสนองของประสาทหูชั้นใน และการตรวจวินิจฉัย (Diagnostic) โดยตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง ด้วยการทำ Brainstem Electrical Response Audiometry (BERA) รวมถึงการตรวจหาระดับการสูญเสียการได้ยินในย่านความถี่ต่างๆ Auditory Steady State Response (ASSR) เพื่อฟื้นฟูบำบัดได้ทันเวลา ก่อนที่เด็กจะพิการถึงขั้นหูหนวกหรือเป็นใบ้

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นสามารถตรวจวินิจฉัย ให้การฟื้นฟูบำบัด จัดเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมตลอดจน ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมเพื่อช่วยเหลือเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีได้ตั้งแต่แรกเกิด อย่ารอจนเด็กโตแล้วค่อยสังเกตหรือพามาพบแพทย์  ซึ่งนั่นอาจจะสายเกินไปสำหรับเด็ก  ทั้งนี้การตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิด ก็เพื่อประโยชน์ของเจ้าตัวน้อยและของคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัว เสียงในหู โทร.1719

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง