Skip to content

เบาหวาน มหันตภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

สัญญานเตือนอันตราย

อาการของโรคเบาหวานมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการเลย (ภัยเงียบ) จนถึงมีอาการผิดปกติเช่น ได้หิวน้ำบ่อยมาก ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก ปัสสาวะมีมดตอม กินเก่งมากอย่างผิดปกติ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ แผลหายยาก อ่อนเพลียผิดปกติ คันตามตัว เป็นฝีบ่อย ปวดแสบปวดร้อนหรือชาปลายมือปลายเท้า ตามัวลง ปวดขาหรือเป็นตะคริวเมื่อเดินไกลๆ ในผู้หญิงอาจมีตกขาวหรือคันช่องคลอดเรื้อรัง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ จะทราบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่จากการตรวจสุขภาพเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานควรเข้ารับการตรวจคัดกรองหาโรคเบาหวานตั้งแต่ระยะแรกๆ

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

  1. ผู้ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  2. คนอ้วน หรือผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (กก./ม.2) และ/หรือ ผู้ชายที่มีรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตร หรือผู้หญิงที่มีรอบเอวตั้งแต่ 80 เซนติเมตร ดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) คำนวณจาก น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนัก 100 กิโลกรัม สูง 180 เซนติเมตร เมื่อคำนวณค่าดัชนีมวลกายคือ 100 หาร (1.80)2 จะได้ค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 30.86 กก./ม.2 ซึ่งมีค่ามากกว่า 25 กก./ม.2 ถือว่าอ้วนและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
  3. ผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง คนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวาน
  4. ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือกินยาควบคุมความดันอยู่
  5. ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โดยที่ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (มก./ดล.) หรือค่าไขมันโคเลสเตอรอล ชนิดเอชดีแอล (HDL-cholesterol) น้อยกว่า 35 มก./ดล.
  6. ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม
  7. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ ควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และควรตรวจสุขภาพซ้ำทุก 1 ถึง 3 ปีขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงที่มีสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ รพ.กรุงเทพพัทยา หรือโทร.1719

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง