โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  >  โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

หนึ่งในมะเร็งที่ติด 1 ใน 10 มะเร็งที่คนไทยเป็นกันมากคือ มะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (GLOBOCAN) 2020 ระบุว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4 ของการตายจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลกและมีอุบัติการณ์เป็นอันดับที่ 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมด โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นการใส่ใจตรวจสุขภาพ ไม่ละเลยความผิดปกติที่มาเยี่ยมเยือนร่างกาย และรู้เท่าทันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารคือสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ

กระเพาะอาหารเป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร มีหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารก่อนที่จะเคลื่อนต่อไปที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ สำหรับมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer) เกิดขึ้นจากเซลล์เยื่อบุผิวด้านในกระจายมายังเยื่อบุผิวด้านนอก สามารถเกิดขึ้นหลายลักษณะ ได้แก่ เยื่อบุกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระเพาะอาหาร มะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัย

ตัวการที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมีหลายปัจจัย ได้แก่

  1. การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori. (H.pylori) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียตัวนี้เมื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารจะสร้างสารพิษ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำไส้เล็ก ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด
  2. การอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหารจากอาหารที่กระตุ้นการอักเสบ ได้แก่ 
    • อาหารที่มีสารกลุ่ม Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH) ปนเปื้อน ส่งผลให้เสี่ยงต่อมะเร็ง พบในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน 
    • อาหารที่มีสารโพลาร์ (Polar Compounds) จากการใช้น้ำมันทอดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
    • อาหารที่มีสาร Acrylamide มักพบในอาหารอบกรอบ ทอด ปิ้ง คั่ว
    • อาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) พบในของหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารปิ้งย่าง อาหารเค็มจัด 
    • อาหารที่มีสาร Heterocyclic Animes (HCAs) จากเนื้อสัตว์ที่ประกอบอาหารด้วยการผ่านความร้อน เช่น อบ ย่าง ต้ม หรือทอด เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร มากน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะของการให้ความร้อน
  3. อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
  4. เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง
  5. การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารให้สูงขึ้น
  6. เชื้อชาติ ชาวเอเชียพบมากกว่าชาวตะวันตก โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน เกาหลี
  7. มะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือมะเร็ง GIST จากความผิดปกติของเซลล์ในกระเพาะอาหารโดยไม่มีสาเหตุ
  8. พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ทำให้มีความเสี่ยงสูงถึง 70%
  9. ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป A มีความเสี่ยงมากกว่ากรุ๊ปอื่น 20%
  10. ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารส่วนใหญ่มักพบว่าป่วยในระยะลุกลาม เนื่องจากในระยะเริ่มต้นของโรคมักไม่แสดงอาการใด ๆ จนกระทั่งอาการรุนแรงขึ้น 

อาการในระยะยังไม่ลุกลาม ได้แก่

  • อาหารไม่ย่อย
  • ไม่สบายช่องท้อง
  • ท้องอืด
  • จุก
  • แน่นท้อง
  • คลื่นไส้
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • อาจปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอก

อาการในระยะลุกลาม ได้แก่

  • อุจจาระสีดำ
  • เลือดปนในอุจจาระ
  • ปวดท้อง
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าข้างซ้าย
  • ท้องบวมจากน้ำในช่องท้อง

วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารสามารถทำได้โดย

  • ซักประวัติและอาการต่าง ๆ ตรวจร่างกาย ตรวจดูลักษณะก้อนและสิ่งผิดปกติในช่องท้อง ตรวจหาต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจเลือด ตรวจการทำงานของตับและไต เป็นต้น
  • เอกซเรย์กลืนแป้ง (Double – Contrast Barium Swallow) ตรวจความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
  • ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esophago – Gastro – Duodenoscope, EGD) เป็นวิธีที่แนะนำ เพราะทำให้เห็นภายในกระเพาะอาหารทั้งหมด ทำให้เห็นบริเวณที่ผิดปกติและตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็งต่อได้ สามารถใช้ในการวินิจฉัยได้มากกว่า 95% 
  • ส่องกล้องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Endoscopic Ultrasonography, EUS) ช่วยให้เห็นชั้นต่าง ๆ ของกระเพาะอาหารและความลึกของโรคมะเร็งที่ลุกลาม
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง (Computed Tomography, CT) ช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของกระเพาะอาหาร ตรวจดูการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะต่าง ๆ ในช่องท้อง
  • ตรวจหาการแพร่กระจาย โดยเอกซเรย์ปอด สแกนกระดูก ตรวจด้วย PET/CT Scan 
  • ตรวจหาเชื้อ H.pylori โดยการส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อ ตรวจสอบจากลมหายใจ ตรวจเลือด ตรวจหาภูมิคุ้มกัน

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารทำได้โดยผ่าตัด ให้เคมีบำบัด และฉายรังสีรักษาขึ้นอยู่กับระยะ อาการ และความรุนแรงของผู้ป่วย

ในช่วงแรกที่มีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหารแพทย์จะให้รับประทานยาฆ่าเชื้อหากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ หรืออาการกำเริบเมื่อครบ 6 – 8 สัปดาห์ของการรักษาจำเป็นจะต้องเข้ารับการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารเพื่อการรักษาในขั้นต่อไป

มะเร็งระยะเริ่มแรกที่ยังอยู่ที่ผิวเยื่อบุส่วนมากตัดออกโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหารระยะเริ่มต้นของมะเร็งกระเพาะอาหารแพทย์อาจทำการผ่าตัดส่วนที่เป็นมะเร็งออกไปโดยเป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารและการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่มีการกระจายของโรคมะเร็งจากนั้นจึงให้ยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่หรือหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย

ระยะลุกลามของมะเร็งกระเพาะอาหารแพทย์จะทำการให้เคมีบำบัดเป็นหลักร่วมกับการฉายรังสีรักษาในบางครั้งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนจะใช้การผ่าตัดรักษาเช่นก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินน้ำดีเป็นต้นเพราะในระยะนี้หากแพทย์ใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวมะเร็งมีโอกาสกลับมาอีกมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ พร้อมกับการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง บางคนมะเร็งกลับเป็นซ้ำและลุกลามไปอวัยวะอื่น

การตรวจติดตามผู้ป่วยหลังทำการรักษามีความสำคัญมากเพราะหากเกิดการเป็นซ้ำของโรคแพทย์จะสามารถตรวจพบและทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีผู้ป่วยจึงควรมาตรวจตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ

  • กินร้อนช้อนกลางทุกมื้อ
  • กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ
  • เลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง หมัก ดอง เค็มจัด มันจัด 
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ 
  • งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยการส่องกล้องเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ตรวจคัดกรองโดยการส่องกล้องและตรวจหาเชื้อ Helicobacter Pylori เพื่อทำการรักษา

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ความประทับใจจากผู้ป่วย

The Doctors : โรคมะเร็งตับ ตอนที่ 1

มะเร็งตับมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วมาก ผู้ป่วยที่เข้ามารับการตรวจมักจะเพราะมีอาการผิดปกติหรือโรคลุกลามไปมากแล้ว พอวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นมะเร็งตับจริง ก็มักเสียชีวิตภายใน 3-6 เดือน!

The Doctors : FibroScan

FibroScan It's a device that assesses the severity of liver fibrosis. This detector, according to Today's information, is one of the most advanced gadgets. Based on the idea that typical liver meat will appear soft,

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. ณรงค์ฤทธิ์ ขุนภักดี
อายุรศาสตร์
นพ. สมโภช แซ่ลี้
อายุรศาสตร์
นพ. สุโรจน์ จินดาธรรมานุสาร
ศัลยศาสตร์
พญ. จารุวรรณ จันทรประไพวัลย์
เวชศาสตร์ครอบครัว
อายุรศาสตร์
พญ. ฐิติมา วุฒิวิวัฒนกุล
อายุรศาสตร์
พญ. พลอยพัชร พิชญ์ภูรินท์
อายุรศาสตร์
พญ. วรรณภา ใจน่าน
อายุรศาสตร์