การรักษาเกี่ยวกับเรื่องนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

หลายคนอาจไม่รู้ว่าโรคนิ่วในไตสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ชายมีโอกาสพบได้มากกว่าผู้หญิง และช่วงวัยที่พบส่วนใหญ่คืออายุ 30 – 40 ปี หากปล่อยทิ้งไว้นานไม่รีบรักษา อาจเกิดการติดเชื้อบ่อยจนเนื้อไตเสีย ไตเสื่อม และไตวายเรื้อรังได้ในอนาคต จึงควรรีบรักษาให้หายก่อนรุนแรง

นิ่วในไตเป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ จนกลายเป็นก้อนแข็งที่มีชนิดและขนาดแตกต่างกัน โดยมักจะพบที่ไตบริเวณกรวยไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นผลมาจากการปัสสาวะเข้มข้นมากและตกตะกอนเป็นนิ่ว ซึ่งนิ่วในไตมีโอกาสเป็นซ้ำได้

การเกิดนิ่วในไตมีความเกี่ยวข้องกับการมีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

รับประทานอาหารแคลเซียม โปรตีน เกลือ และน้ำตาล สูงมากเกินไป

ดื่มน้ำน้อยเกินไป

ใส่น้ำตาลในเครื่องดื่มมากเกินไป

กินอาหารที่มีสารออกซาเลตยับยังการดูดซึมแคลเซียม อาทิ ถั่ว หน่อไม้ ช็อกโกแลต ผักปวยเล้ง มันเทศ ฯลฯ

กินวิตามินซีมากกว่าวันละ 1,000 มิลลิกรัม

ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

โรคแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเกาต์

โรคลำไส้อักเสบ เรื้อรัง

โรคอ้วนน้ำหนักมากเกินไป

โรคเบาหวาน

อาการที่กำลังบ่งบอกว่าเป็นนิ่วในไต ได้แก่

  • ปวดเอวข้างที่มีก้อนนิ่ว
  • ปวดหลังหรือช่องท้องช่วงล่างข้างใดข้างหนึ่ง
  • ปวดเสียด ปวดบิดเป็นพัก ๆ
  • มีไข้หนาว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปัสสาวะขุ่นแดง
  • ปัสสาวะเป็นเม็ดทราย
  • ปัสสาวะแล้วเจ็บ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะน้อย
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • ปวดบิดในท้องรุนแรงถ้าก้อนนิ่วตกลงมาที่ท่อไต

***ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดง

การตรวจวินิจฉัยนิ่วในไตต้องประเมินโดยแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ มีหลายวิธี ได้แก่

-ตรวจปัสสาวะ หากพบเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก แพทย์อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นนิ่วในไต

-ตรวจเลือด ผู้ป่วยนิ่วในไตมักมีปริมาณแคลเซียมหรือกรดยูริกในเลือดมากเกินไป

-เอกซเรย์ช่องท้อง ช่วยให้แพทย์เห็นก้อนนิ่วบริเวณทางเดินปัสสาวะ

-เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ช่วยให้แพทย์เห็นก้อนนิ่วขนาดเล็ก

-อัลตราซาวนด์ไต ช่วยตรวจหาก้อนนิ่วในไตได้ชัดเจน

ตรวจเอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี (IVP) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดนิ่วในไตและช่วยให้สามารถวางแผนเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไตซ้ำ

***การตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ เพิ่มเติมต้องเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์

 ไตวาย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

1.การซักประวัติแพทย์จะซักถามอาการ ระยะเวลาที่เริ่มเป็นมา บางครั้งใช้แบบสอบถามให้คะแนนอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ

  1. แพทย์ จะตรวจสอบต่อมลูกหมาก โดยสวมถุงมือใช้ยาหล่อลื่นคลำต่อมลูกหมาก เพื่อพิจารณาขนาด และลักษณะผิวนอก เพื่อแยกโรคมะเร็งต่อมลูกหมากออกจากโรคต่อมลูกหมากโต

3.การตรวจสอบสายปัสสาวะว่าขัดมากน้อยแค่ไหน และดูปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้าง

4.ตรวจเอนไซม์ในเลือดชื่อ พี.เอส.เอ (PSA : Prostate Specific Antigen)

5.ตรวจสอบด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ สามารถวัดขนาดของต่อมลูกหมาก และตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มเล็ก ๆ เพื่อหาสาเหตุเมื่อค่า พี.เอส.เอ. สูงมากเกินไป

6.ตรวจสอบภายในด้วยกล้องส่องกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีความจำเป็น

หมายเหตุ : การวินิจฉัยข้อ 1-3 เป็นวิธีการขั้นต้นที่มีความจำเป็นก่อนที่จะพิจารณาการตรวจอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Testimonial : คุณอาจไม่รู้ว่าคุณเป็น”นิ่ว” (การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก)

คนไข้มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน หาหมอที่อื่นแล้วก็ไม่หาย จนต้องเปลี่ยนมารักษาที่รพ.กรุงเทพพัทยา และแพทย์เฉพาะทางของเรา..ตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของ “นิ่ว”

Testimonial : Prostate Cancer (SubThai)

Mr.Hans ใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมานาน และตรวจสุขภาพประจำปีที่รพ.กรุงเทพพัทยาเป็นประจำ เมื่อพบว่าตนเป็น “มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น”

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. จิมมี่ คงเจริญ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. จิระพงศ์ สงวนเจริญพงศ์
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ชวน พฤกษวิวัฒน์
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์
-
นพ. นิธิ นาวานิมิตกุล
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. พรชัย ชยาบูรณ์ ปัญญาศุภคุณ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. ยศศักดิ์ สกุลไชยกร
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. วงศ์ฐิติ ฐิติรุ่งเรือง
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นพ. อนุเทพ บูรมิ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
พญ. ประพรพิม อุตมโชติ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา