โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง

โรคนี้เกิดจากการสะสมของคราบไขมัน พังผืดและหินปูน (Plaque) บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรือในกรณีรุนแรงอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้

 
  • คอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง: ทำให้หลอดเลือดแข็งและเกิดการอุดตัน
  • การสูบบุหรี่: เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดยสารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้หัวใจทำงานหนักและเลือดจับตัวเป็นลิ่มง่ายขึ้น
  • เบาหวาน: เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่า 2 เท่า
  • เจ็บหน้าอก (Angina): อาการแน่นหน้าอกเหมือนถูกกดทับ
  • หายใจลำบาก: เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อยลง ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มที่
  • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack): เมื่อหลอดเลือดอุดตันอย่างฉับพลัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้

หนึ่งในวิธีวินิจฉัยที่สำคัญคือ การฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization) โดยการใส่สายสวนผ่านทางหลอดเลือดที่ขาหนีบหรือข้อมือเข้าไปยังหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันหรือไม่

  • ตำแหน่งที่นิยมคือ หลอดเลือดแดงที่ขา (Femoral Artery) แต่มีข้อจำกัดเรื่องการพักฟื้น
  • ปัจจุบันนิยมใช้ หลอดเลือดแดงที่ข้อมือ (Radial Artery) มากขึ้นเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

การรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและลักษณะของโรค โดยมีแนวทางดังนี้

  1. การวิเคราะห์หลอดเลือดแบบละเอียด (QCA: Quantitative Coronary Analysis)
    ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายรังสีวัดความตีบของหลอดเลือดแบบเชิงปริมาณ แทนการประเมินด้วยสายตา
  2. การวัดอัตราการไหลเวียนเลือด (FFR: Fractional Flow Reserve)
    ใช้สายวัดความดันเพื่อประเมินว่าจุดที่ตีบควรได้รับการรักษาหรือไม่ หากค่า FFR < 0.80 แสดงว่าการไหลเวียนเลือดไม่เพียงพอและควรขยายหลอดเลือด
    • แนวโน้มในอนาคตจะใช้เทคโนโลยี QFR (Quantitative Flow Ratio) ซึ่งผสมผสาน QCA และ FFR เพื่อประเมินแบบไม่ต้องใส่สายวัด
  3. การเลือกวิธีรักษาโดยอิงจากคะแนน Syntax
    • คะแนนต่ำ (ตีบ 1–2 เส้นเลือด): ใช้การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหรือใส่ขดลวด (Stent)
    • คะแนนสูง (ตีบหลายเส้นเลือดหรือซับซ้อน): พิจารณาผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) โดยทีมแพทย์สหสาขา (Heart Team)
นพ. ปริญญา ชมแสง บทความโดย: นพ. ปริญญา ชมแสง
 
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
 
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

การรักษาและเทคโนโลยี

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ความประทับใจจากผู้ป่วย

Critical Care : มหันตภัยเงียบ หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาดเฉียบพลัน (Aortic Dissection)

เรื่องราวของคนไข้ที่มีอาการเหมือนถูกสายฟ้าฟาดลงมากลางทรวงอก เจ็บปวดจนทนไม่ไหว ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะนิ่งนอนใจได้ เพราะมันคือมหันตภัยเงียบ..ที่รอเวลาระเบิดของหลอดเลือดแดงใหญ่หัวใจ ให้รีบมารพ.ในทันที

Testimonial : การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แผลเล็ก

คนไข้ที่ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยใดๆมาก่อน แต่ต้องมาพบกับภาวะลิ้นหัวใจรั่วฉับพลัน ทั้ง 2 ห้อง (ซ้ายและขวา) คนไข้ทุกข์ทรมานกับอาการจนไม่สามารถที่จะรอคิวห้องผ่าตัดของรพ.ที่ไปรักษาได้ จึงจำเป็นต้องเดินทางมา

Testimonial : การจี้ไฟฟ้าหัวใจ..เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คนไข้ประสบกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาเป็นเวลาหลายปี และได้รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจมาแล้วถึง 2 ครั้งที่รพ.อื่น แต่อาการก็กลับเป็นขึ้นมาอีก จนต้องมาจี้ไฟฟ้าหัวใจเป็นครั้งที่ 3

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

นพ. กฤษฎา มีมุข
อายุรศาสตร์
นพ. กษิศักย์ เหลืองปฐมอร่าม
ศัลยศาสตร์ทรวงอก
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10