พฤติกรรมลูกเข้าข่ายเป็น ออทิสติก หรือไม่ ?

หน้าแรก  >  โรคและการรักษา  > พฤติกรรมลูกเข้าข่ายเป็น ออทิสติก หรือไม่ ?

โรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคออทิสติกที่แน่นอน เกิดความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์โยปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงออกของยีน (Epigenetic)

จากข้อมูลการศึกษาด้านระบาดวิทยาในปัจจุบันพบว่าโรค “ออทิสติก” (Autism Spectrum Disorder) มีแนวโน้มมากขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก โดยเด็กบางคนอาจมีความผิดปกติที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้แต่บางคนอาจยังสังเกตได้ไม่ชัดแต่พฤติกรรมที่คล้ายหรือเหมือนจะเป็นออทิสติกนี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้หากคุณพ่อคุณแม่รู้เท่าทันและใส่ใจลูกใกล้ชิดสามารถช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ดีขึ้นได้มาก โดยเฉพาะถ้าได้รับการวินิจฉัย และดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่อง

 เด็กที่เป็นออทิสติกจะมีอาการแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ สิบคนก็สิบแบบ ร้อยคนก็ร้อยแบบ แต่ก็มีลักษณะร่วมคล้ายกัน ที่เรียกว่า ออทิสติก คือเด็กอยู่ในโลกของตัวเองมาก สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย โต้ตอบไม่เป็น เล่นไม่เหมาะสม จินตนาการไม่เป็น ไม่พูดหรือพูดไม่รู้เรื่อง พูดเป็นภาษาต่างดาว ทำอะไรซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น ในรายที่อยู่ในโลกของตัวเองมาก จะกระตุ้นตัวเองเป็นระยะ เช่น หมุนตัว โยกตัว เขย่งเท้า เล่นมือ เล่นเสียง เป็นต้น

12 เดือน เด็กมักจะไม่สบตา เรียกชื่อก็ไม่สนใจหันมอง หน้าตาเฉยเมย ไม่ยิ้มตอบ หรือหัวเราะ ไม่ส่งเสียง ชี้นิ้ว หรือใช้ท่าทางในการสื่อสาร
16 เดือน ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้เลย เช่น กิน หม่ำ ไป หมา
24 เดือน ยังไม่สามารถพูดวลี 2 พยางค์ที่มีความหมาย เช่น ไม่เอา กินนม ไม่สนใจของเล่น ไม่สนใจในเรื่องที่คนรอบข้างกำลังสนใจอยู่ ไม่ชี้นิ้วบอกความต้องการของตนเอง เวลาอยากได้อะไรมักจะทำเอง หรือจูงมือพ่อแม่ไปหยิบโดยไม่ส่งเสียง ชอบจ้องมองสิ่งของที่เป็นแสงวาววับ แสงไฟ เงาที่กระเพื่อมไปมา หรือของหมุนๆ เช่น พัดลม ล้อรถที่กำลังหมุน เริ่มเล่นมือ สะบัดมือ หมุนตัว โยกตัว เขย่งเท้า
36 เดือน หรือ 3 ปี นับจากขวบปีที่สามเป็นต้นไป อาการจะชัดเจนขึ้น และรุนแรงมากขึ้น

  • ด้านสังคม เด็กจะไม่เข้าใจสีหน้า อารมณ์ของผู้อื่น เล่นจินตนาการไม่เป็น ไม่สามารถสมมติของอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งได้ เช่น บล็อกไม้เรียงกันเป็นรถไฟ ก้อนหินเป็นขนม ไม่รู้จักแยกแยะหรือหลีกหนีจากอันตราย เช่น เห็นสุนัขที่ดุๆเห่าเสียงดัง ก็วิ่งเข้าไปจับ
  • ด้านภาษาเด็กหลายคนเริ่มพูดได้ แต่เป็นลักษณะพูดซ้ำๆ พูดเลียนแบบโดยไม่เข้าใจความหมาย พูดเรียงประโยคไม่ถูกต้อง หรือตอบคำถามไม่เป็น ยังมีภาษาต่างดาวอยู่มาก
  • ในด้านพฤติกรรม เด็กจะมีท่าทางแปลกๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว กระโดดสะบัดมือเวลาดีใจหรือตื่นเต้น เดินเขย่งหรือซอยเท้า สนใจของบางอย่างแบบหมกมุ่นเกินความพอดี ทานอาหารเมนูซ้ำเดิมไม่ยอมเปลี่ยน ถ้ากิจวัตรที่เคยทำเปลี่ยนไปจากเดิม จะอารมณ์เสีย หงุดหงิด โวยวาย

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่กำลังสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าลูกเป็นออทิสติกหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกหรือไม่ ควรนำเด็กเข้ารับการตรวจเช็คพัฒนาการกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยอาการที่ถูกต้องและไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะวัย 5 ขวบแรกเป็นช่วงวัยที่สมองของเด็กมีพัฒนาการอย่างเต็มที่ต้องป้องกันและรีบรักษาให้ถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตในสังคม และอยู่ร่วมกับครอบครัว เพื่อน ได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของเด็ก

ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา สามารถดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านนี้ ได้อย่างครบถ้วนเป็นองค์รวม ประกอบด้วยกุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รวมถึงนักวิชาชีพสหสาขาที่เกี่ยวข้อง พร้อมดูแลคนที่คุณรัก

แชร์ :

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

พญ. อัญชนา ทองแย้ม
กุมารเวชศาสตร์
พญ. วิภาวี สุวรรณบริบูรณ์
กุมารเวชศาสตร์
พญ. วาสนา หงษ์กัน
กุมารเวชศาสตร์
นพ. วิษณุ กิตติอาภรณ์พล
กุมารเวชศาสตร์
พญ. วริศรา จันตะดุลย์
กุมารเวชศาสตร์
พญ. อุฬาภรณ์ พ่วงใส
กุมารเวชศาสตร์
พญ. ทิพวรรณ วรรณชัย
กุมารเวชศาสตร์
พญ. สุวิมล เกียรติศรีธารา
กุมารเวชศาสตร์
พญ. สุขปรียา รัตนดารานันท์
กุมารเวชศาสตร์
พญ. ศลิษา เกสรา
กุมารเวชศาสตร์