สาเหตุ
- การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงโดยเฉพาะในกลุ่มแป้ง ไขมันและน้ำตาลมากเกินไป
- รูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เช่น การเรียน online การเล่นเกมส์ หรือ สื่อโซเซี่ยลมีเดียต่างๆ อาจจะทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายและ ออกกำลังกายลดลง
- ความเสี่ยงทางพันธุกรรม
อันตรายจากโรคอ้วนในเด็ก
- มีความเสี่ยงต่อภาวะเป็นสาว*ก่อนวัย มีผลการเจริญโตของร่างกาย
- ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่ม NCD เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ภาวะไขมันพอกตับ
- มีปัญหาการหายใจ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกและข้อ ปวดขา ข้อเสื่อม เหนื่อยง่าย
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งบาง* ชนิดในระยะยาว
- การขาดความมั่นใจ ถูกเพื่อนหรือบุคคลรอบข้างล้อทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในเด็ก
- ระบบผิวหนัง เหงื่ออกมาก ผิวหนังอับชื้น เกิดเชื้อราได้ง่าย
รู้ได้อย่างไรว่าลูกเริ่มมีภาวะโรคอ้วนในเด็ก
– ดูด้วยเปรียบเทียบกับเพื่อนในชั้นเรียน ลูกตัวโตและดูอ้วนกว่าคนอื่นๆ
– ผิวหนังบริเวณรักแร้ คอ ขาหนีบมีลักษณะหนาสีดำคล้ำ ซึ่งเป็นอาการแสดงของภาวะก่อนเบาหวานหรือโรตเบาหวาน
– ใช้เกณฑ์น้ำหนักเทียบกับส่วนสูง หากพบว่าอยู่ใน P90 ขึ้นไปแสดงว่ามีภาวะอ้วน
การดูแลเมื่อลูกเริ่มอ้วน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ของทอด ขนมถุง เบเกอรี่ เป็นต้น
- ส่งเสริมกิจกรรมให้เด็กได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพิ่มขึ้น
ที่สำคัญคือ ครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการดูเรื่องการรับประทานอาหารและการทำกิจกรรมของเด็ก
หากไม่สามารถลดน้ำหนักได้ หรือพบคราบหนาดำบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เจาะเลือด และให้การรักษาต่อไป
Post Views: 3,095