การรักษาและเทคโนโลยี (ศูนย์หัวใจ)
การรักษา
คือ การใช้สายสวนขนาดเล็ก สอดเข้าไปตามหลอดเลือดแดงโดยใส่สายร้อยขึ้นไปผ่านทางข้อมือ หรือขาหนีบ จนกระทั่งปลายสายไปถึงหลอดเลือดหัวใจ และใช้สารทึบรังสีเอ็กซเรย์ฉีดเข้าไปผ่านสายสวนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ไปที่หลอดเลือดโคโรนารีย์ (Coronary) ทำการเอ็กซเรย์และบันทึกภาพช่องทางเดินช่องของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ดูลักษณะการตีบตันหรืออุดตันของหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ และการวัดความดันในห้องหัวใจที่ตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ ของโรคหัวใจโดยละเอียด การสวนหัวใจจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย ช่วยชีวิตและรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้แม่นยำมากขึ้น
และการวางขดลวดเพื่อค้ำยัน(Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty หรือ PTCA & Stent) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและ/หรือการใส่ขดลวดขยายเพื่อรักษาสภาพของหลอดเลือดไม่ให้กลับมาตีบซ้ำและคงสภาพของหลอดเลือดที่เปิดด้วยการทำบอลลูนไว้ โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก
เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและตำแหน่งที่ระบบไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ
ใช้วิธีการโดยใส่สายสวนพิเศษเข้าไปในหัวใจและวางในตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ ต่อจากนั้นจะส่งคลื่นวิทยุเพื่อสร้างความร้อนผ่านทางสายสวนพิเศษเพื่อไปทำลายจุดกำเนิดที่ผิดปกตินั้นๆ อุปกรณ์เหล่านี้จะต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรับและแปลงสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้ แพทย์จะประเมินการนำสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ การรักษาด้วยวิธีนี้อาจใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง
คือการใช้บอลลูนที่มีความเย็นจัดเข้าไปจี้บริเวณเนื้อเยื่อโดยรอบหัวใจ ซึ่งดีกว่าแบบการจี้ด้วยความร้อน เนื่องจากการจี้แบบใช้ความร้อนอาจจะเกิดความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือผนังหัวใจทะลุได้ ตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาเร็วกว่า เพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น (การจี้ด้วยความร้อนแบบเดิมใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง) โดยการใช้วิธีจี้ด้วยบอลลูนเย็นนั้นให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการไม่เกิน 48 ชั่วโมง ซึ่งศูนย์หัวใจ รพ.กรุงเทพพัทยาเป็น รพ.เอกชนแห่งแรกในประเทศที่ได้นำวิธีการจี้ด้วยบอลลูนเย็นจัดมารักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วสั่นพริ้วไม่สม่ำเสมอ
หมายถึง การใส่สายผ่านทางหลอดเลือดดำเข้าสู่หัวใจ เพื่อทำให้ หัวใจเต้นเป็นจังหวะที่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ โดยสายจะต่อกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เล็กๆ โดยเครื่องจะทำการตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ สายนำไฟฟ้าจะเป็นตัวควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจมีจังหวะช้าผิดปกติ
เป็นการฝังเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์คล้าย pacemaker เชื่อมกับสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ โดยสามารถช่วยกระตุ้นหัวใจในกรณีหัวใจเต้นช้าแล้วยังสามารถกระตุกหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดร้ายแรงถึงชีวิต ใช้ป้องกันการเสียชีวิตกะทันหัน
เป็นการฝังเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์คล้ายกลุ่ม AICD แต่ใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้ว แต่ยังมีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ ให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น
ด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนร่วมกับใส่ขดลวดค้ำยัน ผ่านสายสวน (Percutaneous Transluminal Angioplasty; PTA) คือการรักษาการตีบของหลอดเลือดโดยใช้ balloon ไปถ่างขยายหลอดเลือด หลังจากนั้นจึงวางขดลวดคาไว้เพื่อขยายเส้นเลือดที่ตีบ โดยการเลือกวางขดลวด หรือไม่วางขดลวด ขึ้นอยู่กับขนาดของหลอดเลือดแดง และตำแหน่งที่ตีบตัน ตามดุลพินิจของแพทย์
เทคโนโลยี
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ได้มาตรฐานสากล พร้อมให้บริการทั้งการวินิจฉัย อาทิ การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง การตรวจหัวใจด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก อัลตราซาวด์หัวใจ 4 มิติ เป็นต้น และให้บริการรักษา อาทิ การสวนหัวใจและหลอดเลือด การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยวิธีการจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยคลื่นความถี่วิทยุและการสร้างภาพสรีรวิทยาของหัวใจชนิด 3 มิติ การประคับประคองผู้ป่วยด้วยเครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูน และเครื่องหัวใจ-ปอดเทียม เป็นต้น
เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะผิดปกติของหัวใจเบื้องต้นผ่านสื่อการนำไฟฟ้าภายในกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อตรวจดูอัตราการเต้นของหัวใจ, จังหวะการเต้นของหัวใจ โดยที่ในแต่ละส่วนของกราฟไฟฟ้าหัวใจจะช่วยบอกถึงความสัมพันธ์ในการทำงานของหัวใจห้องบนและห้องล่าง อีกทั้งยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย อาทิเช่น เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวผิดปกติจากสาเหตุต่างๆ (Left Ventricular Hypertrophy) โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดต่าง ๆ (Cardiomyopathy) โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งแบบเต้นช้าผิดจังหวะ (Brady arrhythmias) หรือแบบเต้นเร็วผิดจังหวะ (Tachyarrhythmia) โรคของเกลือแร่ที่ผิดปกติบางชนิด เช่น ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากอัตราชีพจร ระดับความดันโลหิต และการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บันทึกตลอดเวลา ขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย โดยให้ผู้ป่วยเดินบนพื้นเลื่อนหรือสายพาน ซึ่งจะเพิ่มความเร็วและความชันของพื้นเลื่อนหรือสายพาน หรือถีบจักรยานโดยผู้ป่วยจะต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้นไปตามมาตรฐานของการทดสอบ เครื่องมือจะแสดงข้อมูลการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขณะออกกำลังกาย ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการใดๆในภาวะปกติ แต่เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักขึ้นจะมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดมีอาการแสดงและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ดังนั้นการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย จะทำให้แพทย์ทราบถึงอาการหรือปัญหาสุขภาพจากการตรวจสมรรถภาพหัวใจ โดยจะสามารถวางแนวทางในการรักษาในลำดับต่อไป และทำให้ทราบถึงสมรรถภาพการทำงานของร่างกายและหลอดเลือด ความสามารถในการออกกำลังกายของแต่ละบุคคล
การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนทำ Exercise Stress Test
- งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนเริ่มทำการทดสอบ
- งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เนื่องจากคาเฟอีนอาจรบกวนการแปรผลการทดสอบ
- ในผู้ป่วยที่มียาประจำรับประทานอยู่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้า เพื่อให้แพทย์ได้พิจารณาและให้คำแนะนำ หากมียาตัวใดที่มีผลรบกวนต่อการตรวจ (โดยเฉพาะยาโรคหัวใจและยาในกลุ่มลดความดันโลหิตสูง)
- สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดและอยู่ในระหว่างรักษาด้วยยาพ่นให้นำยามาด้วยในวันที่ทำการตรวจ
- ท่านสามารถเตรียมรองเท้าที่สะดวกต่อการเดินหากสามารถเตรียมได้ ทางโรงพยาบาลได้อำนวยความสะดวกโดยเตรียมรองเท้าและถุงเท้าที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยทุกท่านไว้ให้
เป็นการตรวจด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจโดยหัวตรวจชนิดพิเศษ เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูง ผ่านอวัยวะต่างๆจะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างน้ำ และเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างภาพหัวใจของผู้ป่วย เพื่อดูขนาดของห้องหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อ หัวใจผ่านผนังหน้าอก การทำงานของลิ้นหัวใจภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย หรือแน่นหน้าอก
เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะที่หัวใจทำงานมากกว่าปกติ โดยการให้ยา Dobutamine เป็นตัวกระตุ้นผ่านทางสายน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งคุณจะรู้สึกได้ว่าหัวใจถูกกระตุ้นจะมีอาการใจสั่น แพทย์จะขยับหัวตรวจ (transducer) ไปมาบนหน้าอกของคุณขณะที่ยาออกฤทธิ์ และขณะที่หัวใจกลับมาเต้นปกติ หัวตรวจจะทำให้เกิดคลื่นเสียงสะท้อนซึ่งจะเปลี่ยนเป็นภาพบนจอ มาเปรียบเทียบเพื่อทดแทนการออกกำลังโดยการเดินบนสายพานเลื่อนซึ่งใช้ในกรณีที่คุณมีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย
เป็นการตรวจเพื่อบันทึกภาพของหัวใจจากด้านในของทางเดินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหารอยู่ด้านหลังของหัวใจ ทำให้การตรวจวิธีนี้ได้เห็นการเคลื่อนไหว ของหัวใจได้ชัดกว่าการตรวจด้วย Transthoracic Echocardiogram ปกติซึ่งตรวจที่หน้าอกด้านนอก ระหว่างการตรวจ คลื่นเสียงจะสะท้อนเป็นภาพของหัวใจ ขณะปั๊มเลือดผ่านลิ้นหัวใจซึ่งทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ว่าเกิดจากความผิดปกติที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
เป็นการตรวจเปรียบเทียบความดันโลหิตระหว่างหลอดเลือดแดงที่แขน (Brachial Artery) และหลอดเลือดแดงที่ขาบริเวณข้อเท้า (Ankle) เพื่อตรวจหาความเสี่ยงของเส้นเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในอนาคต
เป็นการตรวจโดยใช้เตียงที่ปรับเอียงได้เพื่อประเมินสาเหตุของภาวะเป็นลมหมดสติ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและหลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดลง เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยและเป็นลมหมดสติในที่สุด โดยผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงตรวจโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถปรับหมุนเตียงขึ้นลงได้เป็นองศาและจะมีสายรัดบริเวณลำตัว ทำในห้องที่เงียบสงบและค่อนข้างมืดระหว่างที่ตรวจจะมีการบันทึกความดันโลหิตและชีพจรตลอดระยะเวลาการตรวจสำหรับผู้ป่วยบางรายที่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนอาจต้องมีการให้ยาเพื่อกระตุ้นและดูการตอบสนองของความดันโลหิตและชีพจร
การตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่จับอยู่ที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงโดยใช้เทคนิค
ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ไม่ต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ ปกติมักจะทำก่อนการตรวจหลอดเลือดหัวใจที่ต้องฉีดสารทึบรังสี
ก็สามารถเห็นแคลเซียมที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดที่อาจมีผลต่อการตีบแคบของหลอดเลือดโคโรนารีบริเวณนั้น แต่ไม่สามารถใช้วิธีนี้คำนวณปริมาณแคลเซียมได้ การฉีดสารทึบรังสี ทำให้สามารถเห็นคราบไขมัน (Atherosclerotic Plaque) ที่เกาะอยู่ใต้ชั้นผนังหลอดเลือดได้ด้วย
เอ็มอาร์ไอ หรือ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใดๆเข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment) หลักการทำงานของเอ็มอาร์ไอจะอาศัยการทำปฏิกิริยา ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ คลื่นความถี่วิทยุ กับ อนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ได้สัญญาณภาพ (image signal) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจชนิดต่างๆ เช่น ตรวจหาการตีบตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือรอยแผลเป็นที่หัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โรคหัวใจวาย ตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจเพื่อเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด และยังสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายในอวัยวะอื่นๆได้ด้วย
คือ การตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์มารดา ช่วยให้ทราบว่าทารกในครรภ์มารดาเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแล้วยังสามารถทราบถึงความรุนแรงของความผิดปกตินั้นด้วย ทำให้สามารถวางแนวทางการรักษาได้ ซึ่งอาจให้การรักษาได้ทันที ในขณะยังตั้งครรภ์อยู่ โดยสามารถทำได้ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึงใกล้คลอด (น่าจะอยู่กับ OPD Obs)
Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาด ใช้สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่อุปกรณ์ประกอบด้วยกล่องที่มีขนาดเล็กสำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยที่เครื่องนี้จะเชื่อมต่อกับสายที่ยึดติดกับแผ่น Electrode ที่ติดบริเวณผิวหนังเป็นการบันทึกสภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่หยุด เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหาสาเหตุของอาการใจสั่น อาการวูบ เป็นลม รวมถึงใช้สำหรับประเมินประสิทธิภาพหลังการรักษาทั้งจากการรักษาด้วยยาหรือการรักษาด้วยการทำหัตถการ
ให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคพื้นฐานด้วยการสวนหัวใจและการรักษาขั้นสูงโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชื่ยวชาญ ประกอบด้วย อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (Interventional Cardiologist) พยาบาล เจ้าหน้าที่เทคนิคเชี่ยนและทีมสหสาขาวิชาชีพ ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ และทุกภาวะฉุกเฉินทางด้านโรคหัวใจ มีแพทย์ศัลยกรรมทรวงอก Standby ตลอด 24 ชั่วโมง
คือเครื่องมือที่ใช้ทดแทนการทำงานของปอดและหัวใจที่ทำงานผิดปกติจนไม่สามารถประคับประคองด้วยยาและเครื่องช่วยหายใจ เพื่อรอให้หัวใจและปอดได้รับการรักษาจนกระทั่งกลับมาทำงานเป็นปกติ โดยช่วยในการการเติมออกซิเจนในเลือดและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา (ทำหน้าที่คล้ายปอดของคน) และยังช่วยเรื่องระบบการไหลเวียนเลือด ช่วยรักษาระดับความดันโลหิตให้เหมาะสม (ทำหน้าที่คล้ายหัวใจของคน) ได้อีกด้วย ซึ่ง ECMO จะถูกนำมาใช้เพื่อทดแทนการทำงานของปอดและหัวใจเป็นเวลาหลายวัน จนกว่าปอดและหัวใจจะตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น ถือเป็นการช่วยส่งเสริมการรักษา และยังช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน
ความประทับใจจากผู้ป่วย
Testimonial : การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แผลเล็ก
คนไข้ที่ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยใดๆมาก่อน แต่ต้องมาพบกับภาวะลิ้นหัวใจรั่วฉับพลัน ทั้ง 2 ห้อง (ซ้ายและขวา) คนไข้ทุกข์ทรมานกับอาการจนไม่สามารถที่จะรอคิวห้องผ่าตัดของรพ.ที่ไปรักษาได้ จึงจำเป็นต้องเดินทางมา
Testimonial : การจี้ไฟฟ้าหัวใจ..เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คนไข้ประสบกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมาเป็นเวลาหลายปี และได้รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจมาแล้วถึง 2 ครั้งที่รพ.อื่น แต่อาการก็กลับเป็นขึ้นมาอีก จนต้องมาจี้ไฟฟ้าหัวใจเป็นครั้งที่ 3