การรักษาและเทคโนโลยี (โรคลมชัก)
การรักษา
- การตรวจเพื่อวินิจฉัย ได้แก่การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง มีทั้งการตรวจแบบปกติทั่วไปใช้เวลาบันทึกการตรวจประมาณ 20- 30 นาที และการตรวจแบบบันทึกเป็นเวลานาน 2 ชั่วโมงจนถึง 24 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มโอกาสตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง
- การตรวจ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง เพื่อหาสาเหตุชักจากความผิดปกติในสมอง
- การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อหาจุดความผิดปกติของสมองที่ทำให้เกิดอาการชัก เช่น PET scan และ SPECT
- ปัจจุบันมีการตรวจเลือดหาสาเหตุทางพันธุกรรมในโรคลมชักบางชนิดที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
- Epilepsy01
โรคลมชักบางชนิดรักษาหายขาดได้ เช่นชนิดที่พบสาเหตุที่ชัดเจนและแก้ไขได้ แต่ส่วนใหญ่มักควบคุมอาการได้ด้วยยารักษาโรคลมชักและผู้ป่วยจำนวนหนึ่งดื้อต่อการใช้ยารักษา จำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่นการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
แบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ใช้ยากันชักอย่างเดียว และ ใช้ยากันชักร่วมกับวิธีอื่นๆ เช่น การผ่าตัด การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า การใช้อาหารสูตรพิเศษ ketogenic diet คืออาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ และโปรตีนที่เพียงพอเหมาะสม
การรับประทานยานานเท่าใดขึ้นกับชนิดของโรคลมชัก และบางชนิดไม่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต
ผลข้างเคียงในระยะสั้น และผลข้างเคียงในระยาว ผลข้างเคียงในระยะสั้นมักป็นผลที่เกิดขึ้นได้ทันทีหลังรับประทานยา เช่น ภาวะมึนงง เวียนศีรษะ ง่วงซึมเนื่องจากยาออกฤทธิ์ที่เซลสมอง ผลข้างเคียงระยะยาว ได้แก่ ผลกระทบต่อการทำงานของตับและไตเสื่อมลง ผลกระทบด้านความคิด ความจำ สมาธิ ผลด้านน้ำหนักตัวพบทั้งน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าปกติ ซึ่งยากันชักแต่ละชนิดจะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ยากันชักปัจจุบันที่ใช้มีทั้งยาที่ผลิตรุ่นแรกๆและรุ่นใหม่ๆ ใช้รักษาโรคลมชักได้ดีไม่ด้อยกว่ากันขึ้นกับชนิดของโรคลมชักและขนาดการใช้ยาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นการใช้ยาจึงจำเป็นที่จะต้องใช้โดยคำแนะนำแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นสำคัญ
โดยทั่วไปแล้วการรักษาโรคลมชักจะใช้ยารักษาไปนานๆในที่นี้หมายถึง มากกว่า 2 ปีขึ้นไป ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคลมชักชนิดที่รักษายาก เช่น มีความผิดปกติของเนื้อสมอง ผิวสมอง ทำให้การหยุดรับประทานยามักไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตัวโรคลมชักเองอาจจะคงที่หรือมีโอกาสที่จะรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคลมชัก
ควรใช้หลักการทั้งดูแลตนเองทั่วไป เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายและดูแลตนเองเฉพาะโรคลมชัก ซึ่งมีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและต้องหลีกเลี่ยง คือไม่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่อดนอน ไม่เครียด การออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือทำงานหนักจนเหนื่อยล้า หากไม่สบายมีไช้สูง ควรรีบรักษาให้หายให้เร็วที่สุด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีโอกาสทำให้อาการชักกำเริบได้ กรณีที่โรคลมชักยังไม่สงบยังอยู่ในช่วงของการปรับยากันชัก ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองเมื่อมีอาการชักกำเริบเช่น ขับรถ ว่ายน้ำ การปีนขึ้นที่สูง การใช้ของมีคม เป็นต้น
- ผู้ที่เห็นอาการชัก ควรพยายามสังเกตและจดจำลักษณะอาการชัก เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยการรักษา
- ควรหลีกเลี่ยงสถานที่และการทำงานที่เสี่ยงอันตราย ในขณะที่ยังคุมอาการชักไม่ได้ เช่น ใกล้แหล่งน้ำ ผิวจราจร เตาไฟ ของร้อน การทำงานกับเครื่องจักรกล
- ห้ามขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จนกว่าจะไม่มีอาการชักอย่างน้อย 1 ปี
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชัก ได้แก่ การอดนอน ความเครียด ออกกำลังกายที่หักโหมหรือทำงานอย่างหนักจนเหนื่อยล้า, การดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งของหมักดอง เช่นผักหรือผลไม้ดอง
- ปฏิบัติตัวและรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
- ไม่ควรหยุดยา ลดยา หรือ รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ
- ถ้าไม่เข้าใจวิธีรับประทานยา ควรสอบถามทันที
- ถ้าลืมรับประทานยาไปเพียงมื้อเดียว หรือวันเดียว ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้มื้อยาต่อไปให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปตามปกติ
- ไม่ควรรับประทานยาอื่นๆ ร่วมกับยากันชักโดยมิได้ปรึกษาแพทย์
- ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนสถานที่รักษา ควรนำยาที่รับประทานในปัจจุบันไปให้แพทย์พิจารณาด้วย
- แม้ว่าคุมอาการชักได้ดีแล้ว ห้ามหยุดยาเองก่อนเวลาที่แพทย์แนะนำ เพราะโรคอาจยังไม่หายหรือกำเริบซ้ำใหม่ได้
- เมื่อตั้งครรภ์ หรือเจ็บป่วยอย่างอื่น ควรแจ้งแก่แพทย์ผู้รักษาถึงโรคที่เป็น และยาที่รับประทานทั้งหมดในปัจจุบัน
- ถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ ที่สงสัยว่าอาจจะแพ้ยา เช่น เป็นผื่น มีไข้ ควรโทรศัพท์ปรึกษาทางสายด่วนทันที และกลับมาพบแพทย์ผู้รักษา พร้อมนำยาที่รับประทานมาด้วย
โรคลมชักเป็นโรคที่พบได้บ่อยพบได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่แรกคลอดจนถึงวัยชราโดยเฉพาะในประเทศที่ยากจนพบได้มากถึง 1% ของประชาการ ส่วนใหญ่โรคลมชักเป็นโรคที่รักษาหายได้ คือควบคุมอาการไม่ให้กำเริบได้โดยการรักษาด้วยการรับประทานยากันชัก หรือหากพบสาเหตุที่แก้ไขได้ก็อาจหายขาดได้
โรคลมชักมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วย ครอบครัวและบุคคลรอบข้าง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่เป็นตราบาป รู้สึกสูญเสียความมั่นใจในตนเอง และคุณค่าในตนเองเนื่องจากลักษณะอากการชักที่ปรากฏต่อหน้าบุคคลทั่วไป อาจส่งผลกระทบต่อการเรียน หน้าที่การงานโอกาสและสิทธิทางสังคมได้
เพราะฉะนั้นทั้งบุคคลภายในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมงานควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคลมชัก และช่วยกันเฝ้าระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการชัก จะได้ช่วยกันดูแลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษากับแพทย์ต่อไป
ความประทับใจจากผู้ป่วย
Stroke Pathway : การสวนลากลิ่มเลือด Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยระบบ Stroke Fast Track ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน
คนไข้มารพ.ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และพอได้รับการวินิจฉัยปรากฏว่าเจอหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่..รอเวลาแตก และนาทีวิกฤต..ที่ทีมแพทย์จะต้องช่วยกันผ่าตัดรักษาหลอดเลือด