Skip to content

พันธุกรรมกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

โรคมะเร็งเกิดจากสาเหตุหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน เช่น สภาวะแวดล้อม ลักษณะการดำเนินชีวิต สืบทอดทางพันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างนั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ทางพันธุกรรมนั้น วิธีการป้องกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ละคนมีปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งต่างกัน หากสามารถป้องกันตนเอง โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และรับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบว่าเมื่อมีมะเร็งเกิดขึ้นแล้ว สามารถตรวจพบได้ก่อนในระยะเริ่มแรก และรีบทำการรักษา ก็มีโอกาสหายขาดได้ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง • มีประวัติครอบครัวบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่สืบทอดทางพันธุกรรม • สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของยีนได้ชัดเจนว่า มี หรือ ไม่มี • ผลการตรวจให้ข้อมูลที่ช่วยชี้นำการดูแลทางการแพทย์ในอนาคต ลักษณะความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งที่สืบทอดทางพันธุกรรม • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเมื่ออายุยังน้อย • มีมะเร็งหลายชนิดเกิดขึ้นในคนเดียวกัน • เกิดมะเร็งในอวัยวะที่มีเป็นคู่ โดยเกิดมะเร็งทั้ง 2 ข้าง • มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน • เกิดมะเร็งในสภาวะที่ไม่พบบ่อย เช่น มะเร็งเต้านมในเพศชาย • มีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ก้อนที่ผิวหนังหรือกระดูก ที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการของมะเร็งทางพันธุกรรม • มีเชื้อชาติที่เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการของโรคมะเร็งทางพันธุกรรม การตรวจทางพันธุกรรมทำอย่างไร ท่านสามารถนัดพบแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำการตรวจยีนที่เหมาะสมสำหรับท่าน การตรวจทางพันธุกรรมใช้สิ่งส่งตรวจเพียงเล็กน้อยจากท่าน ได้แก่ เลือด น้ำลาย หรือสำลีพันปลายไม้ขูดจากกระพุ้งแก้ม เป็นต้น จากนั้นจะส่งไปยังห้องปฏิบัติการที่เชี่ยวชาญการตรวจยีนนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายอาทิตย์ หรือนานกว่านั้นสำหรับยีนบางตัว ผลการตรวจจะส่งกลับมายังแพทย์ที่ท่านเข้ารับปรึกษาเพื่อนัดท่านมารับฟังผล และข้อมูลที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของท่านต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
New call-to-action

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง