Skip to content

‘โรคใหลตาย’ ความตายที่คนเป็นไม่เคยรู้ตัว

‘ใหลตาย’ เป็นการเสียชีวิตที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว พบขณะหลับทำให้เกิดอาการหายใจไม่สะดวก มักเกิดในผู้ชายวัยหนุ่มที่ปกติแข็งแรงดี ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไรผิดปกติแต่ต่อมาพบว่าเสียชีวิต จากการศึกษาและวิจัย พบว่าใหลตายมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจลักษณะบรูกาดา (Brugada pattern) โดยไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานส่วนอื่นๆของหัวใจ ทางการแพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า กลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada syndrome)

อาการ

อาการใหลตายเกิดจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงที่สุด ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆโดยเฉพาะสมองได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจนอาจแสดงอาการชักเกร็ง หายใจครืดคราดผิดปกติคล้ายนอนละเมอ เรียกชื่อไม่รู้สึกตัว พบในขณะนอนหลับ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าการเต้นผิดจังหวะของหัวใจนั้นเกิดนาน และไม่ได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยอาจจะรอดชีวิตฟื้นขึ้นมาได้กรณีที่การเต้นผิดจังหวะของหัวใจหยุดเองหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมอันได้แก่การช็อคหัวใจหรือการปั๊มหัวใจ ในบางครั้งอาจพบได้ในขณะตื่น โดยอาการที่เกิด อาจเกิดอาการใจสั่นช่วงสั้นๆ หรืออาการวูบเป็นลมหมดสติได้

ใครบ้างเป็นผู้มีความเสี่ยง

ส่วนใหญ่มักพบในเพศชายวัยทำงาน ช่วงอายุ 25-55 ปี บางครั้งสามารถพบได้ในเพศหญิง เด็ก หรือแม้กระทั่งในผู้สูงอายุ สำหรับในประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาในภาคเหนือ

1.ผู้ที่มีญาติสายตรงเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุแต่ลักษณะอาการเข้าได้กับใหลตาย เนื่องจากพบว่าใหลตายมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในหน่วยพันธุกรรมหรือยีนที่มีผลต่อการควบคุมประจุไฟฟ้าในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและความผิดปกตินี้อาจส่งต่อไปในญาติสายตรงของผู้ป่วยใหลตายได้

2.ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด Brugada แม้จะไม่มีประวัติอาการใหลตายหรือประวัติครอบครัว

cardiac arrhythmia

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยอาศัยการตรวจพบความผิดปกติที่เรียกว่า Brugada (Brugada pattern) จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การรักษา

ยังไม่พบว่ามีการรักษาใดที่สามารถป้องกันหรือหยุดการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ การรักษาจึงมุ่งหวังให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะน้อยครั้งที่สุด และระยะเวลาที่หัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ละครั้งสั้นที่สุด ก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดสติหรือเสียชีวิตโดยวิธีการดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันได้แก่การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะเครียด เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลปริมาณมาก
  2. ใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (automatic implantable cardioverter defibrillator, AICD)
  3. การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง