Skip to content

ป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยวิธีคัดกรองตรวจหาเชื้อ HPV อย่างง่าย ๆ ด้วยตนเอง

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทย

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก แต่รักษาให้หายได้หากพบในระยะแรกของโรค และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งลงลึกถึงระดับพันธุกรรมแบบ HPV DNA

มะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร?

มะเร็งปากมดลูก คือ มะเร็งที่เริ่มจากบริเวณคอมดลูก ซึ่งเป็นส่วนล่างของมดลูก บริเวณคอมดลูกประกอบไปด้วยเซลล์ หลายล้านเซลล์ ความเปลี่ยนแปลงของเซลล์เหล่านี้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกถุงน้ําในรังไข่หลายใบ อาการ

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

เชื้อ Human Papillomavirus (HPV) เป็น DNA ไวรัสที่เป็นตัวการสําคัญ ที่ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk HPV) ที่จะทําให้เซลล์ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง มี 14 สายพันธุ์ (16, 18, 31, 33, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68, 35, 66)
  2. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ํา (Low Risk HPV) สามารถทําให้เป็นโรคหูดหงอนไก่ บริเวณอวัยวะเพศ (สายพันธุ์ 6, 11) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

เชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ุที่อาจทําให้เกิดโรค

  • เชื้อไวรัส HPV มีอยู่มากกว่า 200 สายพันธุ์ และมีประมาณ 14 สายพันธุ์ เสี่ยงที่อาจทําให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
  • HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุถึง 70% ของจํานวนโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด
  • ผู้หญิงที่ติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 มีความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 35 เท่า

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 18 ปี หรือ มีคู่นอนหลายคน
  • รับประทานยาคุมกําเนิด ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม เป็นต้น
  • มีจํานวนการตั้งครรภ์ และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง

การตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงระดับพันธุกรรม (HPV DNA) ให้ผลตรวจที่แม่นยำถึง 99%

สามารถตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณปากมดลูก ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็ง สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ว่ามีเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ สายพันธุ์ 18 รวมถึงสายพันธุ์อื่น ๆ ที่เป็น สาเหตุราว 70% ของโรคมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมด

ชุดเก็บสิ่งส่งตรวจหามะเร็งปากมดลูก

เป็นอุปกรณ์ที่สะดวก ใช้งานง่าย สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องคลอด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง

  1. เก็บสิ่งส่งตรวจได้ด้วยตนเอง
  2. ขนแปรงไนลอนเป็นวัสดุอ่อนนุ่ม มีลักษณะแบบจรวดเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเซลล์
  3. ด้ามไม้เก็บสิ่งส่งตรวจมีจุดหัก ออกแบบมาให้พอดีกับหลอดน้ํายา
  4. น้ํายาสามารถรักษารูปร่างของเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาปริมาณ และคุณภาพของเซลล์
  5. สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจในน้ํายา ไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน 1 เดือน

ขั้นตอนการเก็บสิ่งส่งตรวจหามะเร็งปากมดลูก HPV Preservation Solution

1. ล้างมือให้สะอาด ก่อนการเก็บตัวอย่างทุกครั้ง
2. ฉีกซองไม้เก็บสิ่งส่งตรวจจับบริเวณส่วนปลาย ระวังอย่าสัมผัสโดนส่วนของขนแปรงไนลอน และห้ามนํา ไม้เก็บสิ่งส่งตรวจไปจุ่มในขวดน้ํายาก่อนเก็บตัวอย่าง
3. ยืนหรือนั่งในท่าที่สบาย ใช้ไม้เก็บสิ่งส่งตรวจสอดเข้าไปในช่องคลอด ลึกประมาณ 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร จากนั้นหมุนไม้เก็บสิ่งส่งตรวจ ในทิศทางเดียวกันประมาณ 3-5 รอบ ให้ขนแปรงไนลอนสัมผัสกับผนังของช่องคลอด จับเวลาประมาณ 10-30 วินาที แล้วดึงไม้ออก
4. เปิดฝาหลอดเก็บตัวอย่างในขณะที่ยังคงถือไม้เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ ไม่ควรวางไม้เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ที่พื้น เพราะอาจจะเกิดการปนเปื้อนได้ ระวังอย่าให้น้ำยาในหลอดเก็บ
5. จุ่มไม้เก็บสิ่งส่งตรวจลงในหลอด- น้ํายาเก็บตัวอย่าง แล้วทําการหักส่วนเกินตรงบริเวณที่มีรอยต่อของไม้เก็บสิ่งส่งตรวจทิ้ง
6. ปิดฝาหลอดนํ้ายาเก็บตัวอย่างให้สนิท พร้อมเขียนชื่อ และนามสกุลที่ข้างหลอด นําส่งเพื่อทําการตรวจวิเคราะห์ต่อไป
ศูนย์สุขภาพสตรี

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง