Skip to content

มะเร็งปากมดลูก

สตรีที่แต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วมีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่การติดเชื้อส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 จะหายไปได้เอง ภายใน 1-2 ปีโดยไม่ก่ออาการหรือโรค

การใช้ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แต่ไม่ทั้งหมด

การมีคู่นอนเพียงคนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าจะมีคู่นอนเพียงคนเดียว

กลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยง

  • ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 18 ปี
  • ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือแฟนมีคู่นอนหลายคน
  • คลอดบุตรมากกว่า 3 คนขึ้นไป
  • เป็นโรคที่ทำให้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  • มีประวัติเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น เริม หนองใน ฯลฯ
  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่

สัญญาณเตือน

  1. เลือดออกทางช่องคลอด ทั้งเพียงเล็กน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือการมีเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน
  2. ประจำเดือนมามาก หรือนานกว่าปกติ
  3. เบื่ออาหาร ,น้ำหนักลด
  4. มีของเหลวออกทางช่องคลอด หรือตกขาว ทั้งที่เป็นน้ำและข้น เป็นมูก เป็นหนอง มีเลือดปน มีเศษเนื้อปน แม้มีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่นก็ตาม
  5. ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด (พบในกรณีมีการลุกลามไปกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย)
  6. ในรายที่โรคมีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดการปวดถ่วงบริเวณท้องน้อย ปัสสาวะขัดหรือถ่ายอุจจาระลำบาก หรือกดเบียดท่อไตทำให้ไตทำงานผิดปกติ จนอาจถึงไตวายได้
  7. ขาบวม  ซึ่งหมายถึงมะเร็งปากมดลูกได้ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว

การตรวจ

  • Liquid Based Pap test วิธีการนี้ใช้ทดแทนการตรวจ Pap Smear แบบดั้งเดิม เพราะมีความไวในการตรวจเจอโรคมากกว่า หลังจากแพทย์เก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกแล้ว จะส่งตัวอย่างเซลล์ไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อกำจัดมูกเลือดด้วยน้ำยาก่อนที่จะป้ายตัวอย่างลงบนแผ่นสไลด์เพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ทำให้มีความไวในการตรวจเจอโรคถึง 74 เปอร์เซ็นต์ แนะนำให้มาตรวจซ้ำทุก 1-2 ปี
  • HPV DNA Test เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ลงลึกถึงระดับดีเอ็นเอ สามารถระบุได้ถึงสายพันธุ์ของเชื้อเอชพีวีที่เสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ทำให้สามารถป้องกันและรักษาเชื้อเอชพีวีได้ วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ยิ่งหากมีการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีร่วมกับการทำ Liquid Based Pap Test จะเพิ่มความแม่นยำในการตรวจเจอรอยโรคได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเว้นการตรวจซ้ำได้ถึง 3 ปี
  • ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกช่วงวัยควรตรวจแป๊ปสเมียร์อย่างน้อยปีละ  1 ครั้ง
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรเริ่มเมื่ออายุ 21 ปีขึ้นไป

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง