Skip to content

ค้นหามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นด้วย Low-Dose CT Chest screening (LDCT)

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

LowDose CTChest

ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดสมารถทำได้ด้วย การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose computed tomography, LDCT) ซึ่งการตรวจนี้เป็นวิธีการถ่ายภาพสามมิติที่ให้ความละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา

การศึกษาทางคลินิกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ด้วยวิธี LDCT ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้สูงถึงร้อยละ 20 ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ขณะที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ นั้น มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า โดยที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computed Tomography (CT)–Chest)

ทำไมต้องทำ Low Dose CT

จากการวิจัยของ National Lung Screening Trial (NLST) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ตรวจคัดกรองในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มที่สูบบุหรี่จัด และมีอายุมากกว่า 50 ปี (High Risk Group) ด้วย Low Dose CT (LDCT) สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ 15 – 20% เมื่อเทียบกับการทำ Screen ด้วย X – ray ทรวงอกปกติ

รู้จักกับ Low Dose CT

Low Dose CT Chest คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกด้วยปริมาณรังสีที่ต่ำให้ภาพ 3 มิติที่ให้รายละเอียดได้ดีในบริเวณปอด แม้ใช้ปริมาณรังสีไม่สูงมากและไม่ต้องฉีดสารทึบแสงก็สามารถตรวจพบจุดเล็ก ๆ หรือก้อนในปอดได้ดี

ปริมาณรังสีที่คนไข้ได้รับจากการตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ มีดังนี้

  • CT chest ปกติ 7 mSv
  • Low dose CT chest 1.5 mSv
  • Chest X-ray 0.1 mSv

ข้อดีของการทำ Low Dose CT

ได้ภาพสามมิติที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่า Chest X – ray ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ

  • ตรวจพบมะเร็งระยะแรกได้ชัดเจนกว่า Chest X-ray
  • ตรวจง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผลข้างเคียงน้อย

ข้อเสียของการทำ Low Dose CT

  • ได้รับรังสี (แต่ก็ปริมาณน้อย)
  • ราคาสูงกว่าการทำ Chest X – ray

วิธีการเตรียมตัวและการตรวจ Low Dose CT Chest

  • ไม่ต้องงดอาหาร สามารถทำได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวพิเศษหรือเจาะเลือด
  • เปลี่ยนชุดแล้วนอนบนเตียงตรวจในเครื่อง CT
  • กลั้นหายใจระหว่างการตรวจประมาณ 15-20 วินาที
  • ใช้เวลาตรวจทั้งหมดประมาณ 5 – 10 นาที (บนเครื่อง CT Scanner)

การแปลผล

เมื่อตรวจเสร็จแล้วรังสีแพทย์จะดูว่ามีจุดหรือก้อนหรือไม่ ขนาดและรูปร่างเป็นอย่างไร เพื่อจะดูว่ามีโอกาสจะเป็นเนื้อร้ายมากน้อยแค่ไหน กรณีที่สงสัยมากอาจจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วย CT หรือ PET/CT หรือเจาะตรวจชิ้นเนื้ออีกที ถ้าไม่สงสัยหรือสงสัยน้อยก็จะแนะนำให้ตรวจซ้ำปีละครั้ง

ข้อควรทราบ

  • ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนหรือจุดดังกล่าวในปอดเป็นมะเร็งหรือไม่ แพทย์จะเป็นคนแจ้งผลและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับท่านต่อไป
  • ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่ได้รับรองท่านได้ว่า ในอนาคตก้อนหรือจุดดังกล่าวจะไม่เป็นมะเร็งปอด ซึ่งตามคำแนะนำที่เหมาะสม ท่านต้องติดตามการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dosecomputed tomography, LDCT) ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ปี

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง