Skip to content

สมองฝ่อในผู้สูงอายุ

“สมองฝ่อ” หมายถึงการที่เนื้อสมองสูญหายไปจำนวนหนึ่ง มักเกิดกับคนชรา ที่จริงแล้วไม่ใช่โรคแต่เป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย คนแก่บางคนอายุมากแล้วสมองยังไม่ฝ่อก็มี

อาการ

1. สำหรับอาการของโรคสมองฝ่อ จะเริ่มต้นจากการลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ต่อมาจะเกี่ยวข้องกับสมองในด้านการรับรู้ การเข้าใจ และการมีเหตุผล ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมรอบๆ ตัวเอง และถ้าเป็นมากขึ้น บุคลิกภาพของผู้สูงอายุนั้นจะเสียไป
2. บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขา ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
3. กรณีที่เกิดสมองฝ่อแล้วไม่มีอาการอะไรก็ไม่ต้องไปวิตกกังวล ยกเว้นว่าจะมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม เชาวน์ปัญญาลดลง อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลงเหมือนถอยหลังกลับไปเป็นเด็ก อย่างนี้ถึงจะจัดว่าเป็นโรคทางสมอง
4. ส่วนอาการ “ขี้หลงขี้ลืม” นั้น ต้องแยกแยะให้ดี เพราะเกิดขึ้นกับคนแก่เกือบทุกคนหรือแม้แต่วัยกลางคน ส่วนมากมักไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์ แต่เป็นเรื่องปกติของคนที่มีเรื่องราวสะสมในหัวมาก เมื่อเรื่องมากก็ต้องลืมง่ายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะคนแก่มักลืมเหตุการณ์ใหม่ๆ แต่ไม่ยอมลืมความหลังครั้งเก่า ซึ่งอาการขี้ลืมนี้จะยังไม่มากถึงขั้น “หลงลืม ” จนทำให้คนอื่นผิดสังเกต เช่น กินข้าวแล้วแต่บอกว่ายังไม่ได้กิน สติปัญญาลดลงจนผิดสังเกต รวมทั้งมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

ความเสื่อมของร่างกายนั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ไม่เพียงแต่สมองเท่านั้นที่เสื่อมลง อวัยวะอื่นๆ ก็เสื่อมด้วย เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ผมร่วง ฟันโยกคลอน ตาฝ้าฟาง หูตึง เป็นต้น

สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพพัทยา หรือโทร.1719

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง