Skip to content

การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ ก่อนแต่งงานก็สำคัญสำหรับคู่รักทุกคู่…ก่อนเริ่มต้นชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

การเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน แพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านโรคภัยไข้เจ็บทางร่างกายเพื่อป้องกันและแก้ไขได้ก่อนการแต่งงาน เริ่มแรกแพทย์จะสอบถามประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว รวมทั้งการเจ็บป่วยของญาติที่ใกล้ชิด ฝ่ายชาย ควรตรวจร่างกายดังนี้ • X-Ray ปอด • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด • ตรวจหากรุ๊ปเลือด • ตรวจหาภูมิคุ้มกันตับอักเสบบี • ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง HIV • ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส • ตรวจหาธาลัสซีเมีย ฝ่ายหญิง ควรตรวจร่างกายดังนี้ • X-Ray ปอด • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด • ตรวจหากรุ๊ปเลือด • ตรวจหาภูมิคุ้มกันตับอักเสบบี • ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง HIV • ตรวจหาเชื้อซิฟิลิสตรวจหาธาลัสซีเมียตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน – การเอกซเรย์ปอด หากพบว่าเป็นวัณโรคก็สามารถรักษาให้หายก่อนแต่งงานก็จะไม่แพร่เชื้อให้กับอีกฝ่าย – การตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน หากยังไม่มีภูมิต้านทานอาจฉีดวัคซีนให้ แต่ต้องรอประมาณ 3 เดือนเพื่อให้มีภูมิต้านทานก่อนการตั้งครรภ์ – การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากมีตรวจพบว่าฝ่ายหนึ่งมีการติดเชื้อ แต่อีกฝ่ายหนึ่งยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อและไม่มีการติดเชื้อนี้ก็สามารถฉีดวัคซีนก่อนแต่งงานได้ – การตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส หากมีการติดเชื้อของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถ้ามีการรักษาก่อนแต่งงานแล้วก็สามารถหายขาดได้และไม่มีการติดต่อไปยังอีกฝ่ายได้ ส่วนมากวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดมากกว่าอาการที่ปรากฏ – การตรวจหาภูมิต้านทานเชื้อไวรัสเอดส์ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีการติดเชื้อก็จะได้ป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายติดเชื้อด้วย สำหรับกรณีติดเชื้อทั้งสองฝ่ายถ้าหากไม่ต้องการมีลูกด้วยกันก็ป้องกันโดยใส่ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ – การตรวจโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางที่เป็นกรรมพันธุ์ หากเป็นโรคนี้ทั้งสองฝ่ายเด็กอาจเกิดมาแล้วซีดอย่างรุนแรงและอาจเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ได้ ผู้ที่มียีนแฝงของโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย จะมีร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี เหมือนบุคคลทั่วไป ซึ่งมองภายนอก คุณจะไม่รู้ เลยว่าบุคคลนั้นมียีนแฝงหรือไม่ และพบผู้มียีนแฝงประมาณ 40% ของประชากร ดังนั้น ชวนคู่รักของคุณไปตรวจเลือดเพื่อวางแผนก่อนตั้งครรภ์ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพ หรือโทร.1719
New call-to-action

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง