Skip to content

แผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้…อันตรายใกล้ตัว

แผลน้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน

บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก คือแผลที่เกิดจากความร้อนหรือการถูกไฟเผาไหม้ทำลายเซลล์ชั้นผิวหนัง เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้จากความไม่ระมัดระวัง ความประมาทและความไม่รอบคอบ บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นอุบัติเหตุหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุเล็กๆ เช่น  รีดผ้า การทำอาหาร ทำกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ การโดนสารเคมี หรืออุบัติเหตุขนาดใหญ่ เช่น การถูกไฟฟ้าช็อตรุนแรง เกิดอัคคีภัย ไฟไหม้อาคารบ้านเรือน แก็สระเบิด ถังน้ำมันระเบิด รถยนต์ระเบิด

แผลไฟไหม้มี กี่ ระดับ โดนน้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน

ความรุนแรงของแผล 3 ระดับ 

ความรุนแรงของบาดแผลนั้นมีหลายระดับ แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุจนบาดแผลถึงขั้นรุนแรงมาก ก็จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งระดับความรุนแรงของบาดแผลไฟไหม้ มีทั้งหมดด้วยกัน 3 ระดับ

แผลระดับแรก (First degree burn)

ผิวจะเสียหายเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอก เช่น จากการโดนน้ำร้อนลวก ผิวหนังจะมีอาการแดง ปวดแสบปวดร้อน สัมผัสแล้วเจ็บ แต่ผิวจะไม่พุพองจนเกิดถุงน้ำใส เพียงแค่ปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็จะสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว

แผลระดับสอง (Second degree burn)

ผิวหนังจะเสียหายเพิ่มขึ้นจากระดับแรก เนื่องด้วยระยะเวลาหรือความร้อนที่มากขึ้นจากอุบัติเหตุ ส่งผลให้ผิวหนังถูกทำลายจนเกิดบาดแผลเช่น โดนน้ำมันในกระทะกระเด็นใส่ โดนท่อไอเสียร้อนๆ สัมผัสถูกผิวหนังจึงเกิดถุงน้ำใสนูนบวมออกมา มีน้ำเหลืองซึมภายในแผล ซึ่งหากถุงน้ำใสแตกโดยตรง หรือเกิดการเสียดสี มักจะค่อนข้างแสบผิวบริเวณแผลหากมีอะไรมาสัมผัสโดน และเมื่อแผลหายผิวหนังจะกลับมาเป็นปกติหรือเกิดแผลเป็นไม่นั้น ขึ้นกับความลึกและขนาดของบาดแผล รวมถึงระยะเวลาในการหายของแผลด้วย

แผลระดับสาม (Third degree burn)

ผิวหนังจะถูกทำลายไปจนตลอดผิวชั้นล่าง จนไม่เกิดความรู้สึกใดๆตรงบาดแผล เนื่องจากผิวหนังส่วนนั้นไม่มีความยืดหยุ่นแล้ว ทั้งมีขนหลุดล่วงออกมา ผิวหนังส่วนที่ถูกทำลายจะแห้ง แข็งหรือที่เรียกว่าผิวหนังตายนั่นเอง

แผลน้ำร้อนลวกแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

  • บริเวณรอบนอกแผลมีสีขาวและไหม้เกรียม
  • แผลเกิดจากสารเคมีและถูกไฟฟ้าช็อต
  • แผลไหม้ผุพอง บริเวณจุดสำคัญ เช่นใบหน้า
  • เกิดเหตุไฟไหม้กับเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์และคนชรา
  • แผลจากไฟไหม้มีขนาดใหญ่

ปัจจุบันการดูแลรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn) มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก มีวัสดุปิดแผลใหม่ๆ ที่มีคุณภาพดีหลายชนิด การเลือกใช้วัสดุปิดแผลอย่างถูกต้อง และการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ จะทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยลงได้มาก และการเกิดแผลเป็นลดลง ดังนั้นหากมีบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเร็วที่สุดฃ

ข้อควรระวังในการดูแลแผลน้ำร้อนลวก

อย่านำสิ่งแปลกปลอมตามความเชื่อโบราณ มาใช้ปิด หรือโปะลงบนบาดแผล เช่น ยาสีฟัน ไข่ขาว น้ำมัน น้ำปลา ยาหม่อง เพราะจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาด รวมถึงส่งผลต่อการติดเชื้อที่บาดแผลตามมาอีกด้วย

ผู้เขียน: นายแพทย์ ธนา เชื้อบัณฑิต

ศัลยแพทย์ตกแต่ง ศูนย์ผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

ผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม hbspt.cta.load(21386471, ‘585e8e80-247a-4312-b2bd-5a3cd64c7fb2’, {“useNewLoader”:”true”,”region”:”na1″});

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง