Skip to content

การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ตอนที่ 5

การใช้อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสโทรศัพท์ เช่น การใช้บลูทูธเชื่อมสัญญาณโทรศัพท์กับเครื่องเสียงในรถ หรือการใช้เสียงสั่งการเพื่อรับสายหรือโทรออก ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยด้านกายภาพและปัจจัยด้าน การมองเห็นลงได้ แต่อย่างไรก็ดี การคุยในขณะขับรถ ไม่ว่าจะคุยกับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในรถคันเดียวกันหรือคุยโทรศัพท์โดยจะใช้ อุปกรณ์เสริมหรือไม่ก็ตาม จะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิและทำให้ตอบสนองต่อสัญญาณจราจรและเหตุฉุกเฉิน ต่างๆ ได้ช้าลงและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นกว่าผู้ที่มีสมาธิจดจ่อ อยู่กับการขับขี่ จากการวิจัยพบว่า การสูญเสียสมาธิขณะขับขี่เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ โดยการโทรศัพท์ขณะขับรถไม่ว่าจะใช้มือถือโทรศัพท์หรือใช้อุปกรณ์เสริม ก็มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงพอๆ กันคือ ผู้ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติสี่เท่า และผู้ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการขับขี่ปกติห้าเท่า จะเห็นว่าการใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องใช้มือถือโทรศัพท์ในขณะขับรถ แม้จะลดความเสี่ยงจากปัจจัยทางกายภาพได้ แต่ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเสียสมาธินั้นยังสูงอยู่มาก

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา มีข้อแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้การขับรถมีความปลอดภัย คือ หาก ขับรถในระยะทางใกล้ๆ ใช้เวลาจนถึงที่หมายไม่นานนัก ไม่ควรรับสายหรือโทรออกจนกว่าจะถึงที่หมาย หากขับรถระยะทางไกลและใช้เวลานาน ควรกำหนดจุดหยุดพัก เช่น หยุดพักทุกหนึ่งชั่วโมง แล้วค่อยโทรศัพท์เมื่อถึงจุดหยุดพัก หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรจอดรถข้างทางในที่ที่ปลอดภัยแล้วจึงโทร หากอยู่ในที่ที่รถติดหรือจำเป็นต้องขับรถต่อไป ควรขับชิดซ้ายและชะลอความเร็วลง เตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อมใช้งาน เมื่อเริ่มสนทนา ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบว่าเรากำลังขับรถอยู่และใช้เวลาในการพูดคุยให้สั้น ที่สุด หลีกเลี่ยงเรื่องสนทนาที่ทำให้เศร้า โกรธ หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย และไม่รับหรือส่งเอสเอ็มเอสหรืออีเมลในทุกกรณี

เอกสารอ้างอิง

  1. กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และคณะ การสำรวจความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถยนต์ในประเทศไทย พ.ศ. 2552 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2552
  2. Centers for Disease Control and Prevention. Mobile device use while driving – United States and seven European countries, 2011. MMWR 2013; 62(10): 177-182 http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/mm6210a1.html
  3. Centre for accident research & road safety – Queensland. Mobile phone use & distraction while driving. http://www.police.qld.gov.au/Resources/Internet/news%20and%20alerts/campaigns
    /fatalfive/documents/mobile_phones_and_distraction_fs.pdf>
  4. Schroeder, P., Meyers, M., & Kostyniuk, L. (2013, April). National survey on distracted driving attitudes and behaviors – 2012. (Report No. DOT HS 811 729). Washington, DC: National Highway Traffic Safety Administration.
  5. McEvoy SP, Stevenson MR, McCartt AT, Woodward M, Haworth C, Palamara P, Cercarelli R. Role of mobile phones in motor vehicle crashes resulting in hospital attendance: a case-crossover study. BMJ. 2005;331:428.

ที่มา: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

  • See more at: http://www.bangkokhealth.com/bhr/th/content_detail.php?id=1267&types=#sthash.lUEC0SwU.dpuf

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง