Skip to content

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนและหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ส่องกล้องทางช่องปาก

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

ต่อมไทรอยด์คือต่อมอะไร ?

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท้อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ควบคุมระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์อันตรายหรือไม่ ?

ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์จากการสังเกตหรือคลำพบก้อนที่คอได้ด้วยตนเอง หากก้อนมีขนาดใหญ่จะไปกดทับหลอดลมหรือหลอดอาหาร ทำให้มีอาการหายใจลำบาก จุกแน่นที่คอ กลืนลำบาก เสียงแหบ

การรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ 

ปัจจุบันการรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยดมีทั้งการรับประทานยา และการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ โดยวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับผลการตรวจทางเซลล์วิทยาและลักษณะของก้อน

thyroid-gland

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

การผ่าตัดไทรอยด์มีวิธีผ่าตัดที่พบได้ทั่วไป 2 แบบได้แก่

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ (Open Thyroidectomy)

การผ่าตัดแบบเปิดบริเวรคอเป็นวิธีผ่าตัดมาตรฐานในปัจจุบัน ข้อดีคือใช้ในการรักษาโรคของต่อมไทรอยด์ได้ทุกโรคทุกขนาด และเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ส่องกล้องทางช่องปาก (Transoral endoscopic thyroidectomy)

การผ่าตัดแบบส่องกล้องทางช่องปากเป็นเทคนิคการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยในการผ่าตัดจะใช้เทคโนโลยีกล้องขนาดเล็กที่มีความละเอียดสูงช่วยในการผ่าตัด ทำให้แผลมีขนาดเล็ก โดยแผลจะอยู่ด้านในของริมฝีปากล่าง

ข้อดีของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy)

  • ไม่มีรอยแผลเป็นบริเวณคอ
  • ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เลือดออกน้อย
  • แผลหายไว
  • อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อย
  • ระยะฟื้นตัวเร็ว

ข้อจำกัดของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy)

ขนาดของก้อนไม่เกิน 3-6 ซม.

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ หรือแบบส่องกล้องทางช่องปาก ผู้ป่วยต้องมีการเตรียมตัวดังนี้

  1. พบแพทย์เพื่อตรวจประเมินความพร้อมของร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ปอด ฯลฯ ตามคำแนะนำของแพทย์
  2. แจ้งประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำ ให้แพทย์รับทราบ
  3. งดน้ำและงดอาหารอย่างน้อย 6- 8 ชั่วโมง เนื่องจากการผ่าตัดต้องมีการดมยาสลบ

การปฏิบัติตัวหล้งการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

  • สามารถอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายได้ตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการไอ จาม เบ่งถ่าย ออกแรงยกของหนัก อย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • รับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามคำสั่งของแพทย์
  • ควรรับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัด อย่างน้อย 1 สัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

  • หลังผ่าตัดจะมีลมแทรกในชั้นใต้ผิวหนัง และจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน
  • อาการบวมและชาบริเวณคาง ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 1 เดือน
รักษาหูคอจมูก

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง