Skip to content

ใครควรได้รับการตรวจหาโรคเบาหวาน

1.ผู้มีอาการของโรคเบาหวาน
2.ผู้ที่ไม่มีอาการ จะตรวจเมื่อ
2.1 อายุเกิน 40 ปี
2.2 อายุไม่เกิน 40 ปี แต่อ้วน หรือมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก/ม2 (23 กก/ม2 ในคนเอเชีย)ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ

  • มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน(พ่อ แม่ พี่ น้อง)
  • มีประวัติความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง(IGT) หรือระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ (IFG)
  • เคยคลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กก.
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • มีความดันโลหิตสูงหรือรักษาความดันโลหิตสูงอยู่
  • ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ไขมันเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 35 มก./ดล. และ/ หรือ ไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 250 มก./ดล.)
  • มีโรคหลอดเลือดตีบแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดส่วนปลายที่เท้าตีบ
  • มีโรคหรือลักษณะบ่งว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ได้แก่ มีถุงน้ำรังไข่ (polycystic ovarian syndrome) ผิวหนังหนาและดำบริเวณต้นคอ หรือรักแร้(acanthosis nigricans)
  • ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • เชื้อชาติที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เช่น ชาวอินเดีย ชาวหมู่เกาะแปซิฟิก

*** ในผู้ที่ไม่มีอาการ หากผลตรวจปกติ ควรมีการตรวจซ้ำทุก3 ปี หรือตามความเหมาะสม

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง