Skip to content

การตรวจติดตาม และประเมินผลการรักษา

นอกเหนือจากการตรวจโดยแพทย์และทีมดูแลรักษาแล้ว ควรมีการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนประจำปี ดังนี้

  • ตรวจร่างกายอย่างละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจระดับน้ำตาลขณะอดอาหารทุกครั้งที่พบแพทย์(หรือตามดุลยพินิจของแพทย์)
  • ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี(หรือตามดุลยพินิจของแพทย์)
  • ตรวจสุขภาพเท้าและการทำงานของเส้นประสาทส่วนปลายอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
  • ตรวจตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยการขยายม่านตา โดยจักษุแพทย์
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจช่องปากและสุขภาพฟันทุก 6 เดือน
  • ตรวจหน้าที่ไต และตรวจปริมาณไมโครแอลบูมินในปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ประเมินประสิทธิภาพการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
  • ฉีดวัคซีน

– วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 ครั้งต่อปี
– นิวโมคอคคอลวัคซีน
– วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด แต่หากมีการเรียนรู้และการดูแลตนเอง เป็นอย่างดี จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้เช่นเดียวกับคนปกติ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง