Skip to content

อย่าละเลยสิ่งเล็กๆที่อาจก่อเป็น…มะเร็งผิวหนัง

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

มะเร็งผิวหนัง คือ เนื้อร้ายที่เกิดบนผิวหนังและเยื่อบุมีหลายชนิด ได้แก่

  • มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ชั้นฐานของหนังกำพร้า หรือเรียกว่า มะเร็งผิวหนังชนิดเบเซลเซลล์ (Basal cell carcinoma)
  • มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ชั้นหนังกำพร้า หรือเรียกว่า มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma)
  • มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี หรือเรียกว่า มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Malignant melanoma)

ปัจจัยหลักที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังมาจากแสงอัลตร้าไวโอเลต UVA และ UVB ซึ่งพบได้มากในกลุ่มคนผิวขาว ผิวสีแดงบลอนด์ เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีเม็ดสีผิวหนังน้อยกว่าคนผิวคล้ำ จึงมีความสามารถในการป้องกันแสงอัลตร้าไวโอเลตน้อยกว่า รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมที่ต้องโดนแดดเป็นประจำ ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง ปัจจัยรองอื่นๆ มาจากการได้รับสารเคมีที่ก่อมะเร็งบางชนิด เช่น การบริโภคสารหนูอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ การสูบบุหรี่ การมีแผลระคายเคืองที่เรื้อรัง เช่น แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เคยรับสารก่อมะเร็ง อาทิ สารเคมี สารหนู มีภูมิต้านทานผิดปกติ เป็นแผลไฟไหม้ แผลอักเสบเรื้อรัง เคยรับการฉายรังสี เป็นต้น หรือ การใช้สารยับยั้งการสร้างเม็ดสีมากๆ เพื่อทำให้ผิวขาว เช่น การฉีดสารกลูต้าไธโอนในปริมาณสูงๆ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น โดยการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือการค้นพบตั้งแต่แรก

หากมีข้อสงสัย ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัย ซึ่งทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัย ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพ หรือโทร.0 3825 9999

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง