ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาบนช่องปากได้ตามปกติ ที่พบเสมอ ๆ ก็คือ ฟันกลามซี่สุดท้าย ซึ่งจะขึ้นเมื่อประมาณ 18-20 ปี หรือฟันเคี้ยวซึ่งจะขึ้นประมาณ 11-13 ปี ฟันคุดที่เป็นฟันเคี้ยวอาจพบว่าแทงทะลุเพดานปากออกมา หรือชอนใต้รากฟันข้างเคียง หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรไม่โผล่เลยก็ได้
สาเหตุที่เกิดฟันคุดเนื่องจากพื้นที่ของขากรรไกรไม่เพียงพอที่จะให้ฟันซี่นั้นขึ้นได้ตามปกติ ผลเสียของฟันคุดมีหลายอย่าง เช่น ฟันคุดที่ขึ้นได้บางส่วน มักจะเป็นที่กักเศษอาหารได้ง่ายทำความสะอาดลำบาก แปรงฟันไม่ถึง ซึ่งจะมีผลให้ฟันข้างเคียงที่ถูกชน และฟันคุดนั้นผุทั้งคู่ หรือทำให้เหงือกอักเสบ บวม กลิ่นปากเหม็น แก้มบวม อ้าปากไม่ขึ้น การมีฟันคุดอยู่ทำให้มีการละลายตัวของขากรรไกรที่ถูกชน หรือเป็นถุงน้ำ กระดูกขากรรไกรจะเปราะไปกดเส้นประสาททำให้มีอาการปวดหัวโดยไม่รู้สาเหตุ ดังนั้นท่านควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และมอบความไว้วางใจให้ทันตแพทย์ถอนฟันคุดออก
การถอนฟันคุดในช่วงอายุ 16-20 ปีง่าย และแผลหายเร็วกว่าปล่อยไปทำเมื่อสูงอายุ ซึ่งจะเสี่ยง เพราะอาจมีโรคประจำตัว และการถอนยุ่งยากกว่า แผลหายช้า เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากมีโอกาสใช้น้ำตาลที่สะสมได้มากขึ้น นานขึ้น กรดจะทำให้ความเป็นกรดในช่องปากสูงขึ้น สารอาหารของเนื้อฟันจึงสามารถละลายออกมาสู่ภายนอก ฟันจึงเกิดการผุขึ้นรวดเร็ว และกว้างขวาง และถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อย ทำเป็นนิสัยเด็กจะมีโอกาสฟันผุลุกลามทั้งปาก ซึ่งจะพบฟันผุชนิดนี้ในกลุ่มเด็กที่พ่อแม่ให้นมขณะหลับมากกว่าเด็กที่นมเวลาอาหาร
ข้อแนะนำในการให้นมลูกที่สำคัญ ภายหลังการให้นมลูกทุกครั้งต้องดูดน้ำตาม และทำความสะอาดช่องปากของลูกเสมอ ควรหย่านมเมื่อเด็กอายุ 8-9 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 1 ปี เพราะเป็นช่วงอายุที่เด็กมีพัฒนาการที่อยากลองของใหม่ และช่วยตัวเองได้
ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพ หรือโทร.1719
Post Views: 2,445