Skip to content

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยที่สุดจากคนไข้มะเร็งกว่าร้อยคนในปี 2565 ที่ผ่านมาของหมอ คือ?

ตอบ “เป็นผู้หญิง” และ “อายุมาก” มากกว่า 35 ปีขึ้นไปครับ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่คนไข้ทุกคนของหมอมีครับ

โดยปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดมะเร็งเต้านม ที่พอจะทราบมีแค่ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าถ้ามีสิ่งเหล่านี้อาจเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ ได้แก่  

  1. ผู้หญิงอายุ 35-40 ปีขึ้นไป
  2. อ้วน น้ำหนักมาก
  3. ไม่ออกกำลังกาย
  4. มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่ หรือ มีประวัติการกลายพันธุ์ของยีน BRCA ในครอบครัว
  5. กินยาคุม ใช้ฮอร์โมนเพศเป็นเวลานาน เกิน 5 ปี
  6. ไม่มีลูก หรือ มีลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปี
  7. ไม่เคยให้นมบุตร
  8. ประจำเดือนครั้งแรกมาก่อนอายุ 12 ปี หรือ หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
  9. ติดสุรา แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่

 แต่ในรอบปีที่ผ่านมาที่หมอได้ทำการรักษาคนไข้มะเร็งเต้านมกว่าร้อยคนที่มาจากในตัวเมืองพัทยา หรือ ในจังหวัดชลบุรีเอง รวมถึงจังหวัดในภาคตะวันออกโดยรอบ พบว่า ปัจจัยเสี่ยง 9 ข้อนั้นพบว่า มีเพียงข้อเดียวที่คนไข้ทุกคนมีเหมือนกันหมดได้แก่ “ข้อ 1. ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป” เท่านั้นครับ และที่น่าแปลกคือ คนไข้ส่วนใหญ่มีรูปร่างผอม ไม่อ้วน ได้ออกกำลังกายบ้าง แถมมีลูกแล้วและยังให้นมบุตรเองอีก เกือบทุกคนไม่กินยาคุม ไม่ดื่มเหล้า และหลายคนยังเป็นสมาชิกคนแรกของตระกูลที่เป็นมะเร็งด้วยซ้ำ จนทำให้หมอคิดว่า “ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ก็เป็นมะเร็งเต้านมได้” อย่าประมาทนะครับ ขอแค่คุณเป็นผู้หญิง ที่อายุมากขึ้น ๆ ทุกปี มะเร็งเต้านมก็สามารถเกิดขึ้นได้แล้วครับ ดังนั้นคุณสุภาพสตรีที่อายุเกิน 20 ปีขึ้นไป อย่าลืมคลำตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำทุกเดือนและถ้าอายุ 35-40 ปีขึ้นไป อย่าลืมมาตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เต้านมเป็นประจำทุกปีนะครับ เพราะ… มะเร็งอันดับ 1 “มะเร็งเต้านม” รู้เร็ว รักษาไว หายขาดได้ ที่ศูนย์เต้านม รพ.กรุงเทพพัทยา* 

New call-to-action

ก้อนที่เต้านม ไม่ต้องผ่าตัด ตรวจและรักษาได้ในครั้งเดียวด้วยการเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศ (VABB: Vacuum Assisted Breast Biopsy)

ดีกว่าไหม…ถ้าพบก้อนที่นม แล้วเจาะดูดก้อนออกได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องผ่าตัด แถมแผลเล็กเท่ารูเข็ม
  1. ตรวจชิ้นเนื้อวินิจฉัยโรคและรักษาได้ในครั้งเดียวกัน
  2. ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
  3. ขนาดแผลเล็กเพียง 5 มม. เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
  4. ทำได้ที่แผนกผู้ป่วยนอก OPD ศูนย์เต้านม
  5. สามารถกลับบ้านได้ทันที
  6. ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล

VABB เหมาะสำหรับคนไข้ที่…

  • มีก้อนเนื้องอกที่เต้านม ขนาดไม่เกิน 2-3 ซม.
  • ก้อนไม่มีลักษณะคล้ายมะเร็ง (BIRADS 2-3)
  • กังวลใจอยากตัดก้อนเนื้องอกออก กลัวผลกระทบจากการผ่าตัด
  • ไม่มีเวลานอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล VABB

มีขั้นตอนการทำคร่าว ๆ ดังนี้

แพทย์ทำการอัลตราซาวด์เต้านมระบุตำแหน่งของก้อนเนื้องอก จากนั้นทำการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่ต้องการเจาะ (กรณีผู้ป่วยกลัวหรือมีความกังวลสามารถขอให้แพทย์ใช้วิธีฉีดยาทำให้นอนหลับได้) พอชาแล้วค่อยใช้เข็มขนาดเพียง 5 มิลลิเมตรเจาะลงไปเพียงครั้งเดียว ก็สามารถดูดด้วยระบบสุญญากาศเพื่อเอาเนื้องอกขนาดไม่เกิน 2-3 เซนติเมตรออกมาได้ทั้งหมด 

บทความโดย: นพ. ฐาปนัสม์ ลิขิตมาศกุล
 
 
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์มะเร็งเต้านม
 
ศูนย์เต้านม  โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง