วิธีตรวจหามะเร็งเต้านมที่คุณไม่ควรมองข้าม
มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง และหากพบในระยะเริ่มต้น การรักษาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถหายขาดได้ ดังนั้นการตรวจเต้านมด้วยตัวเองจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่สำคัญในการค้นหาความผิดปกติและทำให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จสูงสุด
ทำไมการตรวจเต้านมด้วยตัวเองถึงสำคัญ?
การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นการตรวจหามะเร็งเต้านมที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และมีประโยชน์มากในการตรวจจับมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนจะช่วยให้คุณรู้จักลักษณะของเต้านมของคุณ และสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การคลำพบก้อนหรือการมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเต้านมของคุณ
แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมไม่ควรเป็นเพียงแค่การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตรวจโดยแพทย์ และการตรวจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น แมมโมแกรมและอัลตราซาวน์
- ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง: ควรทำทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
- ตรวจเต้านมโดยแพทย์: ควรทำทุก 3 ปี ตั้งแต่อายุ 20 ปี และหลังจากอายุ 40 ปี ควรตรวจทุกปี
- การทำแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวนด์: ควรเริ่มทำตั้งแต่อายุ 35-40 ปี และทุก 1-2 ปีหลังจากอายุ 40 ปี
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่: ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุที่ญาติมีมะเร็ง
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
การตรวจเต้านมด้วยตัวเองไม่ยากเลย โดยคุณสามารถทำได้ทุกเดือนตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. ตรวจในท่ายืนหน้ากระจก
ยืนหน้ากระจกแล้วสังเกตลักษณะของเต้านมทั้งสองข้าง เช่น ขนาด รูปร่าง สีผิว และตำแหน่งของเต้านม เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
2. ยกแขนขึ้น
ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะทั้งสองข้าง แล้วตรวจดูที่เต้านมอีกครั้ง รวมทั้งมองบริเวณด้านข้างของเต้านมเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง
3. เท้าเอวแล้วโน้มตัว
ใช้มือเท้าเอวแล้วโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของเต้านมในมุมที่แตกต่าง
4. บีบที่หัวนม
ใช้นิ้วมือบีบที่หัวนมเบา ๆ เพื่อดูว่ามีเลือด หนอง หรือของเหลวออกมาจากหัวนมหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติ
5. คลำเต้านม
เริ่มคลำจากบริเวณกระดูกไหปลาร้า ใช้สามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) ค่อย ๆ กดลงบนผิวหนังเบา ๆ และกดแรงขึ้นจนสัมผัสกระดูกซี่โครง โดยคลำให้ทั่วทั้งเต้านม ทิศทางการคลำสามารถทำได้หลายแบบ เช่น คลำจากหัวนมไปตามแนวก้นหอย หรือคลำจากใต้เต้านมถึงกระดูกไหปลาร้า ควรคลำให้ทั่วทั้งเต้านมรวมถึงบริเวณรักแร้
6. คลำในท่านอน
หลังจากคลำในท่ายืนแล้ว ให้เปลี่ยนมาคลำในท่านอน โดยหนุนหมอนที่ไหล่ข้างที่ต้องการคลำ จากนั้นคลำซ้ำเหมือนในท่ายืน

ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการตรวจเต้านม
- ควรตรวจหลังประจำเดือนมา 7-10 วัน เพราะในช่วงนี้เต้านมจะนิ่มและไม่ค่อยมีอาการบวม
- สำหรับผู้ที่ไม่มีประจำเดือนแล้ว ควรเลือกวันเดียวกันทุกเดือนในการตรวจ
- การตรวจเต้านมด้วยตัวเองควรทำทุกเดือนและควรเป็นกิจวัตรที่ง่ายและรวดเร็ว
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี ปัจจัยที่ทำให้การรักษาได้ผลดีนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น ถ้าเราพบได้ตั้งแต่ในระยะต้น ๆ ก็จะรักษาได้และหายขาดจากโรคอีกด้วย
การตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่ม มีแนวทางดังนี้
- ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เมื่ออายุ 20 ปี ขึ้นไป
- ตรวจเต้านมโดยแพทย์ ทุก 3 ปี ตั้งแต่อายุ 20 ปี เป็นต้นไป หลังจากอายุ 40 ปี ควรได้รับการตรวจทุก 1 ปี
- ควรทำแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวน์ในช่วงอายุ 35 – 40 ปี 1 ครั้ง หลังจากอายุ 40 ปี ควรทำทุก 1 – 2 ปี
- ในผู้ที่มีประวัติญาตสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ ควรเริ่มทำการตรวจตั้งแต่อายุที่ญาติเป็นลบออก 5 ปี
- ในรายที่มีความเสี่ยงสูง หรือเต้านมมีความหนาแน่นมาก การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยให้มีการค้นพบมะเร็งให้มากขึ้นกว่าการทำ
แมมโมแกรม การตัดสินใจว่าจะตรวจหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
เป็นการตรวจที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ถ้าเราทำเป็นประจำจะเป็นการลงทุนทางสุขภาพที่มีความคุ้มค่ามากที่สุดโดย
- ตรวจเป็นประจำทุกเดือน
- ตรวจหลังประจำเดือนมา 7 – 10 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน
- ตรวจวันเดียวกันของทุกเดือนถ้าคุณไม่มีประจำเดือนแล้ว
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
- ยืนหน้ากระจกแล้วดูที่เต้านมทั้ง 2 ข้าง แล้วสังเกตว่า ขนาดรูปร่าง สีผิว ตำแหน่งของเต้านม หัวนมเป็นอย่างไร และควรเทียบการเปลี่ยนแปลงกับเดือนก่อน
- หลังจากนั้นให้ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะทั้ง 2 ข้าง แล้วดูที่เต้านมอีกครั้ง ค่อยๆหมุนตัวช้าๆ เพื่อที่จะดูบริเวณด้านข้างของเต้านม
- ใช้มือเท้าเอวแล้วโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยดูความเปลี่ยนแปลงซ้ำอีกครั้ง
- ใช้นิ้วมือบีบที่หัวนมเบาๆ ดูว่ามีเลือด หนอง หรือน้ำไหลออกจากหัวนมหรือไม่
- เริ่มคลำเต้านม โดยคลำตั้งแต่กระดูกไหปลาร้าลงมา ใช้มือซ้ายคลำเต้านมข้างขวา ให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางทั้ง 3 นิ้ว ค่อยๆกดลงบนผิวหนังเบาๆ และกดแรงขึ้น จนกระทั่งสัมผัสกระดูกซี่โครง คลำเต้านมให้ทั่วทิศทาง การคลำทำได้หลายแบบ เช่น คลำเริ่มจากหัวนมไปตามแนวก้นหอยจนถึงฐานเต้านมบริเวณขอบ หรือคลำใต้เต้านมถึงกระดูกไหปราร้า ขยับนิ้วทั้ง 3 ในแนวเรียงแถวขึ้นลงสลับกันไป สิ่งที่สำคัญคือต้องคลำให้ทั่วเต้านมไปจนถึงบริเวณรักแร้ใต้วงแขน หลังจากนั้นให้เปลี่ยนคลำอีกข้างแบบเดียวกัน
- เมื่อเสร้จการคลำในท่ายืนแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นคลำในท่านอน ใช้หมอนหนุนไหล่ข้างที่จะทำ แล้วคลำซ้ำเหมือนท่ายืน
การตรวจพบที่ต้องระวัง
- คลำได้ก้อนเนื้อเต้านม หรือสงสัยว่ามีก้อนที่เต้านม
- ผิวหนังบริเวณเต้านมแตก บวม แดง หรือร้อน
- รูขุมขนที่ผิวหนังบริเวณเต้านมใหญ่ขึ้นเหมือนผิวเปลือกส้ม
- ผิวหนังบุ๋ม หรือมีการหดรั้ง
- มีการนูนของผิวหนัง
- ปวดเต้านมมากกว่าปกติที่เคย
- คัน มีผื่น โดยเฉพาะบริเวณหัวนม และลานหัวนม
- หัวนมบุ๋ม
- การชี้ของหัวนมเปลี่ยนทิศทาง
- เลือดไหลหรือมีของเหลวผิดปกติออกจากหัวนม
- มีแผลที่หายยากของเต้านม หัวนมและลานนม
“ถ้าตรวจพบอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจโดยเร็ว”
ศูนย์เต้านมโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ให้บริการตรวจ รักษาความผิดปกติของเต้านม อาทิ ซีสต์ ก้อนเนื้อหรือถุงไขมัน และโรคมะเร็งเต้านม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อันประกอบด้วย ศัลยแพทย์เต้านม ศัลยแพทย์โรคมะเร็งเต้านม รังสีแพทย์ แพทย์ฉายแสง แพทย์เคมีบำบัด