Skip to content

ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

ปัจจัย หรือความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม

  • อายุที่มากขึ้น
  • มีญาติสารตรงเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ใช้ฮอร์โมนเพศ หรือยาคุมกำเนินเป็นเวลานาน
  • มีประจำเดือนครั้งแรกไวกว่าปกติ (ก่อนอายุ 12 ปี) หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ (หลังอายุ 55 ปี)
  • มีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี หรือ ไม่เคยมีบุตร
  • ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
  • อ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ทานอาหารที่มีไขมันสูง และเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

  • คลำได้ก้อนที่เนื้อที่เต้านม หรือสงสัยว่ามีก้อนที่เต้านม หรือรักแร้
  • รูขุมขนที่ผิวหนังบริเวณเต้านมใหญ่ขึ้นเหมือนผิวเปลือกส้ม
  • ผิวหนังบริเวณเต้านมแตก บวม แดง หรือร้อน
  • ผิวหนังบุ๋ม มีการหดรั้ง หรือมีการนูนของผิวหนังที่เต้านม
  • ปวดเต้านมมากกว่าปกติที่เคย
  • คัน มีผื่น โดยเฉพาะบริเวณหัวนมและลานหัวนม
  • หัวนมบุ๋ม หรือการชี้ของหัวนมเปลี่ยนทิศทาง
  • เลือดไหลหรือมีของเหลวผิดปกติออกจากหัวนม
  • มีแผลที่หายยากของเต้านม หัวนม และลานนม
**ถ้าตรวจพบอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว ตรวจเต้านม คลำเต้านม ป้องกันมะเร็งเต้านม

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

  1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง อยางน้อยเดือนละครั้ง ตั้งแต่อายุ 20 ปี ขึ้นไป โดยตรวจหลังประจำเดือนมา 7-10 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน กรณีที่วัยหมดประจำเดือน ตรวจช่วงใดก็ได้ กรณีที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกแล้ว ให้เลือกตรวจช่วงที่เต้านมไม่คัดตึง ถ้าพบสิ่งปกติ ควรมาพบแพทย์
  2. การซักประวัติและตรวจเต้านมโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะทำการซักประวัติถึงอาการสำคัญที่นำมาพบแพทย์ อาการผิดปกติอื่น ๆ ของเต้านมและระบบอวัยวะต่าง ๆ ทั้งร่างกาย รวมถึงประเมินปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมของผู้ป่วย ต่อด้วยการตรวจเต้านมและต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้และไหปลาร้าโดยละเอียด
  3. การตรวจเพิ่มเติมทางรังสีวิทยา ซึ่งตามมาตรฐานแนะนำให้ตรวจแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นหลัก
    1. การทำ Mammogram ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จะส่งตรวจแมมโมแกรม เพื่อดูความผิดปกติ เช่น ก้อนในเต้านม ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ กลุ่มหินปูนผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของการถ่ายภาพแมมโมแกรมไปมาก จากอดีตที่ถ่ายภาพแมมโมแกรมลงบนฟิลม์ธรรมดา (Analog mammography) ไปเป็นดิจิตอลแมมโมแกรมความละเอียดสูง (Digital mammography) จนถึงแมมโมแกรมแบบ 3 มิติ (Breast 3D Tomosynthesis) ซึ่งจะทำให้ตรวจพบความผิดปกติได้จากเดิมที่ตรวจไม่พบ หรือ ถ้าตรวจพบแล้วก็ทำให้มองเห็นความผิดปกติได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  4. การเจาะชิ้นเนื้อส่งตรวจกับพยาธิแพทย์ เมื่อตรวจพบว่ามีก้อนในเต้านมที่มีลักษณะสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์จะแนะนำให้เจาะชิ้นเนื้อโดยการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะชิ้นเนื้อออกมาส่งตรวจกับพยาธิแพทย์เพื่อให้ทราบว่าก้อนนั้นมีเซลส์มะเร็งหรือเป็นมะเร็งหรือไม่ ถ้าเป็นมะเร็งเต้านมจะได้ทำการผ่าตัดและรักษาแบบมะเร็งเต้านมต่อไป แต่ถ้าผลชิ้นเนื้อออกมาเป็นโรคที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านมก็อาจตรวจติดตามทุก 6 เดือนได้และจะผ่าตัดก้อนเนื้องอกออกเมื่อมีข้อบ่งชี้

สรุปการคัดกรองมะเร็งเต้านม

  • 10 = มีคนตายจากมะเร็งเต้านมวันละ 10 คน
  • 20 = เริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตั้งแต่อายุ 20 ปี
  • 35 = เริ่มตรวจแมมโมแกรม ตั้งแต่อายุ 35 ปี
  • 40 = ตรวจแมมโมแกรมทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ปี

การรักษามะเร็งเต้านม

วิธีการรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะเลือกการรักษาแต่ละอย่างซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่เป็นเป็นหลัก
  • การผ่าตัด
  • ยาเคมีบำบัด
  • ยาต้านฮอร์โมน
  • ยาออกฤทธิ์พุ่งเป้า
  • ยากลุ่มภูมิต้านทานบำบัด
  • การฉายแสง
New call-to-action

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง